เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..

อารมณ์กลอน => โคลง => ข้อความที่เริ่มโดย: พิณจันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์, 2559, 06:20:50 PM



หัวข้อ: โคลงโบราณจิตรลดา,มหาจิตรลดา, จิตรลดาแผลง
เริ่มหัวข้อโดย: พิณจันทร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์, 2559, 06:20:50 PM
(https://fbcdn-photos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xtf1/v/t1.0-0/s526x395/12729322_208352969519855_7478369696616264493_n.jpg?oh=f21e786310885a5026542bcc4dfe20d9&oe=5760829C&__gda__=1462536882_c96d6a73e2b2562a7b84f3666164c6b5)

(โคลงโบราณจิตรลดา,มหาจิตรลดา, จิตรลดาแผลง)

(โคลงโบราณจิตรลดา)
๐ สุมาลีแรกแย้ม..........สดใส
บริสุทธิ์สีสรร................แต่งแต้ม
หากภมรใดมา..............ชมชื่น
อาจลุ่มหลงแย้มจิต.......ประสาน

(โคลงโบราณมหาจิตรลดา)
๐ สนานสนิทใกล้...........ดวงแด
มิเคยสบประดุจ..............แรกรุ่น
ระเริงรื่นแลเหลิง............ตามจิต
อาจจะกลายอุ่นอ้อน.......กลีบร้อนตอนสาย

(โคลงโบราณจิตรลดาแผลง)
๐ ประกายแสงเจิดจ้า............งามสม
หากเปรียบสาวงามคือ...........ดอกไม้
งามคงชื่นชมเรือน.................ทุกสิ่ง
งามเด่นคงมิใช่.....................ยั่วเย้าดำเนิน

พิณจันทร์
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

(ได้โปรดติ แนะนำ ชี้แนะคำที่เหมาะสมหรือผูกเรื่องด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ)
.................................
๐ เป็นโคลงแบบหนึ่งในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีโครงสร้างฉันทลักษณ์คล้ายโคลงสี่สุภาพ นิยมมีคำสร้อย เฉพาะบาทท้ายและมีการส่งสัมผัสดังนี้…
๐ คำที่ ๗ ของบาทแรกไปสัมผัสกับคำที่๔ ตรงบาทที่๓
๐ คำที่๗ของบาท๒ไปสัมผัสกับคำที่๔ของบาท๔
๐ ไม่มีการบังคับตำแหน่งคำเอก คำโท
๐ หากไม่มีการเติมคำสร้อย จะเรียกว่า “โคลงจิตรลดา”
๐ หากในบาทท้ายหากย้ายคำสัมผัสไปยังคำที่๔ จะเรียกว่า “จิตรลดาแผลง” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่
.
"ร้อยกรอง คะนองเพลงยาว" ต่อปากต่อคำ นำขบวนโดย"เจ้าคุณอู๋"