เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..

อารมณ์กลอน => ห้องเรียนรู้คำประพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 17 กรกฎาคม, 2558, 11:40:40 AM



หัวข้อ: ** (ท่าม)กลางความสงสัย **
เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 17 กรกฎาคม, 2558, 11:40:40 AM
** (ท่าม)กลางความสงสัย**
**************
"เรือลอยลำ(ท่าม)สายน้ำไหลเชี่ยว"
..............ฯลฯ...................
"หมู่เมฆน้อยลอย(ท่าม)ฟ้างามใส
..............ฯลฯ..................
หัวใจเหงาเศร้า(ท่าม)ความเงียบงัน
...............ฯลฯ..................
ตกอยู่(ท่าม)อันตรายร้ายที่สุด
...............ฯลฯ..................
ผมอ่าน "วลี" เหล่านี้แล้ว ก็สงสัยว่า ทำไม..ทำไม ผู้ประพันธ์จึงไม่ใช้ว่า "ท่ามกลาง"
หรือเพราะว่า "ท่าม" เป็นภาษา "กวี" ที่ผมไม่รู้จักใช้ หรือเพราะว่าผมคนหัวโบราณ
แต่ถ้าจะมีใครบอกว่า "ท่าม" เป็นภาษา "กวี" ผมก็คงรับไม่ได้ เพราะถ้าอย่างนั้น คำใดมีหลายพยางค์
อยากให้เป็นภาษา "กวี" ก็ตัดให้เหลือพยางค์เดียว?
ผมเปิดถามคุณพจน์ฯ ถึงความหมายของคำ "ท่าม" คุณพจน์ฯ เธอก็ปฏิเสธผมทุกครั้ง บอกว่าหาไม่พบ
ให้เขียนใหม่ จนผมเปิดคำ "ท่ามกลาง" คุณพจน์ฯ เธอก็อธิบายเสียยาวเลย ดังนี้
...
ท่ามกลาง น. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน.
ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย.
(ไทยเดิม  ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
...
 อ่านในวงเล็บ (ตามความเข้าใจผมนะครับ ถ้าผิด ผู้รู้ช่วยบอกด้วยครับ)
"ท่าม" เป้นคำไทยเดิม หมายถึง "ว่า" "ที่" เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้
ฉะนั้น "ท่ามเหนือ ก็คือ ที่เหนือ" และ "ท่ามใต้ ก็น่าจะหมายถึง ที่ใต้"
...
จึงอยากจะถามผู้ที่ใช้คำ "ท่าม" ในบทร้อยกรอง ถึงที่มาของคำนี้ ว่าเป็นมาอย่างไร และใช้แล้ว
ให้ความหมายว่าอย่างไร.....แต่ ถ้าจะบอกว่า หมายถึง "ท่ามกลาง" ก็ไม่ต้องบอกมานะครับ
ผมรู้ครับว่า "ท่าม" มีใช้กันมานานแล้ว นักกลอนมีชื่อเสียงหลายท่่านก็ใช้
แต่ผมไม่เคยใช้ และไม่ยอมรับเพราะไม่เข้าใจในเหตุผล
* นักภาษาศาสตร์ หรือผู้รู้ท่านใด ที่ทราบพอจะอธิบายให้ผม(ยังมีอีกมากมายที่เข้าใจเหมือนผม)
ตาสว่างขึ้นบ้าง ก็จะขอบพระคุณครับ

สุวัฒน์  ไวจรรยา
ยินดีรับฟังความเห็นนะครับ
ขอเพียงให้ "อ้างอิงวิชาการ รากศัพท์ หรือ พจนานุกรมฯ" ที่มาที่ไปของคำครับผม