เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..

คุยเรื่องร้อยแปดชาวอารมณ์กลอน => คุยได้ทุกเรื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: ประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 22 ธันวาคม, 2556, 08:59:06 PM



หัวข้อ: นำเสนอแนวปฏิรูปเมืองเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ประทีป วัฒนสิทธิ์ ที่ 22 ธันวาคม, 2556, 08:59:06 PM

ธรรมชาติธรรม
นำเสนอแนวคิด
ปฏิรูปประเทศไทย

คงไม่นำข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏในอดีตปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  หลายคนรู้ข้อมูลเชิงลึก และหลายคนรู้ข้อมูลเพียงตื้น ๆ  

แนวคิดของธรรมชาติธรรมเพื่อการเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติซึ่งได้นำเสนอในเว็บไซต์ไว้มากมายหลายประเด็น  หลายข้อคิด   www. Naturedhrama.com  จึงเป็นโอกาสดีที่จะนำเสนอแนวปฏิรูปประเทศไทยส่วนหนึ่งในแนวคิดของ “ธรรมชาติธรรม”  ทั้งนี้แนวคิดต่าง ๆ ตั้งบนพื้นฐานของแนวพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสตร์สากลตามบุคคลสำคัญหลายคนยอมรับ และกล่าวถึง  ขอนำเสนอไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.   กลุ่มทุนต่าง ๆ   คืนกำไรที่ได้จากการบริหารจัดการแต่ละรอบทุกสามเดือนในรูปภาษีร้อยละที่เหมาะสม ที่ควรจะเป็น  โดยการประเมินในทุกด้าน ตั้งแต่รายจ่ายค่าแรงงาน  ค่าเสื่อม หรืออื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  เพื่อจัดระบบทุน กับผู้ใช้แรงงานที่เหมะสม  ที่ควรจะเป็นซึ่งไม่ใช่เหลื่อมล้ำมากเช่นปัจจุบันนี้

2.   กลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์  ดอกเบี้ยเงินฝาก  ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เหลื่อมล้ำกันมากนัก  ซึ่งต้องคำนวณในลักษณะเดียวกับกลุ่มทุน

3.   การกำหนดค่าแรงต้องมีความเสมอภาคให้มากที่สุด  งานใช้แรงงาน อาจเท่ากับงานที่ใช้ความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ  โดยยึดหลักความเป็นจริงในเรื่องความชำนาญ  ความสามารถเฉพาะงานที่ไม่ใช่ว่าทุกคนทำได้   ยกตัวอย่างคนหนึ่งทำงานใช้สมองในงานด้านการเงินในธนาคร   คนหนึ่งทำงานก่อสร้างสามารถขึ้นที่สูงบนหลังคาตึกได้  ถามว่าแต่ละคนไม่สามารถเปลี่ยนงานทำกันได้  ด้วยความสามารถ  ความชำนาญ ต่างกัน  และเปลี่ยนทำงานกันไม่ได้  ความจำกัดตรงนี้เองที่สองคนนี้ควรมีค่าตอบแทนที่ใกล้เตียงกัน หรือเท่าเทียมกัน  บนพื้นฐานรายจ่ายที่เท่าเทียมกัน  นี่คือตัวอย่าง   งานอื่น ๆ ก็เช่นกัน

4.   ผู้แทนราษฎรผู้อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ  แก้กฎหมายที่เกี่ยวกับเงินงบประมาณทั้งหมด  ไม่ให้มีช่องว่างรั่วไหลได้ดังที่เคยผ่านมา  รวมถึงการเมืองท้องถิ่นด้วย  ทั้งนี้จะได้ส่งผล หรือรวมถึงข้าราชการประจำด้วย

5.   รัฐต้องเป็นผู้กำหนดราคาสิ้นค้าผลิตจากโรงงาน  และกำหนดราคาพืชผลเกษตรตามหลักนิติธรรม

6.   รัฐควบคุมการผลิตสถาบันการศึกษาในการผลิตบุคลากรตามความจำเป็น และเมื่อทุกคนจบการศึกษาไม่ว่าระดับ ปวช. ปวส. หรือระดับปริญญา  ทุกคนได้รับบรรจุ หรือมีตำแหน่งงาน
รวมทั้งจัดหางานให้ทุกคนมีงานทำ  ผู้ใดไม่มีงานทำรัฐต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู

7.   สร้างกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ  และคนพิการ  รัฐต้องดูแลอย่างไม่บกพร่อง

8.   ออกกฎหมายควบคุณเรื่องการกล่าวเท็จ ใส่ร้ายบุคคลอื่น ที่เกี่ยวกับการเมือง จนทำให้เกิดความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะในรัฐสภา  รวมถึงสื่อต่าง ๆ  อย่างเคร่งครัด กำหนดให้มีโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหาญชีวิต   ทั้งนี้รวมไปถึงการแจ้งความผู้อื่นโดนไม่มีหลักฐานที่เป็นจริง และเชื่อถือได้

9.   รัฐบาลต้องเข้าเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ และได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่อไป

10.   องค์กรต่าง อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และหากมีข้อเคลือบแคลงประการใด ให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นผู้พิจารณาในความเป็นธรรม

11.   ภาษีมูลค้าเพิ่มไม่ควรเก็บที่ผู้บริโภค  เก็บที่ฝ่ายผลิต

12.   รัฐแบ่งที่ดินให้ประชาชนตามความเหมาะสมเพื่อเป็นที่อยู่และเพาะปลูกโดยไม่ให้ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของ  นอกนั้นที่ดินเป็นของรัฐเพียงผู้เดียว  หากผู้ใดประสงค์ใช้ที่ดินประกอบธุรกิจก็อนุญาตให้เช่าเพื่อทำผลประโยชน์ตามเหมาะสมเท่านั้น


13.   ข้อนี้มีความสำคัญเป็นที่สุด
                       ประชาธิปไตยแท้จริง

(กับการแก้รัฐธรรมนูญ)
 
 
 เพื่อความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง การปกครองบ้านเมื่องควรเปิดสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนในชาติมีโอกาสเลือกแนวทางวิถีการดำรงชีวิตตามความต้องการอย่างอิสระเสรี

 ตามความเป็นจริงเรื่องการปกครองของไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน  ถูกบังคับให้เดินทางเดียวคือ ระบบประชาธิปไตยแบบทุนนิยม  ซึ่งผมเอง ชอบเรียกว่า "ระบบวัตถุนิยม" ทั้ง ๆ  ที่รัฐบาลเห็นความสำคัญของการอยู่แบบเศรษฐกิจเพียง และได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ แต่การปฏิบัติจริง ๆ ยังไม่ได้เป็นรูปธรรมมากนัก
 
ด้วยเหตุนี้จึงควรมีกฎหมายบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การดำเนินการเรื่องนี้มีความถูกต้อง สะดวกชัดเจนยิ่งขึ้น และเป็นทางเลือกของประชาชนในชาติอย่างอิสระเสรีอีกทางหนึ่ง

 รัฐบาลต้องบริหารประเทศแบบคู่ขนาน คือ ซีก "ระบบวัตถุนิยม" และซีก "พอเพียงนิยม" จึงจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายในรัฐธรรมนูญ  เพื่อมีอำนาจในการบริหารของรัฐบาล  จะได้ให้การสนับสนุนทั้งสองฝ่ายอย่างจริงจัง ประชาชนจะเลือกอยู่ในระบบใดเป็นสิทธิของประชาชน  เมื่อนานปีเข้าประชาชนเป็นผู้ตัดสินเลือกฝ่ายได้เด่นชัดขึ้น หรือจะควบคู่ไปทั้งสองอย่างก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร  

ทั้งนี้ให้เป็นทางเลือก  เพื่อเป็นบทพิสูจน์ระบบการดำรงชีวิตไปในตัว  ไม่ต้องให้ประชาชนกังขาว่าระบบใดดีไม่ดีอย่างไร
 
นั่นเป็นการค้นหาการดำรงชีพที่ให้เกิดสันติสุขอย่างแท้จริง และยั่งยืน
อีกช่องทางหนึ่ง

         สำหรับแนวทางการบริหารจัดการอย่างไร เป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาล และประชาชนช่วยกันคิดหาแนวทาง ปรับปรุงพัฒนากันต่อไป   "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" เองมีรูปแบบ และแผนงานการอยู่ในแบบระบบ " พอเพียงนิยม" ซึ่งได้นำเสนอในเว็บไซต์   http://www.naturedharma.com

         แนวทางที่นำเสนอนี้คือ "ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง"  และกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีกำหนดเนื้อความดังนี้
มาตราที่........

    " ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพการเลือกแนวทางการดำรงชีพ ในรูปแบบประชาธิปไตยระบบเศรษฐกิจวัตถุนิยม หรือ ประชาธิปไตยระบบเศรษฐกิจพอเพียงนิยม โดยรัฐบาลต้องมีนโยบายส่งเสริมพัฒนาทั้งสองระบบเศรษฐกิจนี้อย่างเสมอภาคทัดเทียมกัน "
 
     กรุณารอคอยข้อเสนออื่นหากมี ขอบพระคุณมากครับ