เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..

อารมณ์กลอน => ฉันท์ กาพย์ ร่าย => ข้อความที่เริ่มโดย: ระนาดเอก ที่ 12 กรกฎาคม, 2556, 03:58:44 PM



หัวข้อ: คลังคำ..“ลหุ”
เริ่มหัวข้อโดย: ระนาดเอก ที่ 12 กรกฎาคม, 2556, 03:58:44 PM

เครคิตจากคุณกามนิต แห่งบ้านกลอนไทย
ซึ่งได้ คัดลอกมาจากท่าน  lek Isara รวบรวบจากกระทู้ใน pantip
ขอคัดมาลงที่นี่อีกทีครับ
 

คลังคำ..“ลหุ”

โดยคุณนก สกุณา คุณอังคาร และเพื่อนๆ จากถนนนักเขียน pantip
คุณกามนิตมารวบรวมแล้วใช้ MS Word เรียงตามตัวอักษรเพื่อให้ค้นหาง่ายขึ้น  

กฏิ (สะเอว)
กณิกนันต์ (ละเอียดยิ่ง)
กติกา (ตกลง)
กปณ , กปณา = (กะปะนะ ,กะปะนา) กำพร้า, อนาถา
กรณีย (อันพึงทำ,อันควรทำ)
กระสินธุ = สายน้ำ แม่น้ำ
กวะ - (ราว)กับว่า
กิระ - คำเล่าลือ

ขนิษฐา,อนุช - น้อง

คคน , คคนะ , คคนางค์ , คคนานต์ , คคนัมพร - ท้องฟ้า
คช - ช้าง

จินต- คิด

เฉพาะ

ชไม ชรไม = คู่
ชรทึง = แม่น้ำ
ชรริน = ประดับ
ชรเรือด = แทรก
ชรโลง ชโลง = พยุง จูง
ชรอัด = ชัด
ชรอุ่ม = ชอุ่ม มืดคลุ้ม
ชระ = สะอาด บริสุทธิ์
ชระงม = ป่ากว้าง
ชล = แห่งน้ำ
ชลธาร ชลธารก = สายน้ำ ลำน้ำ
ชลธิศ = ทะเล
ชลนัยต์ ชลนา ชลเนตร = น้ำตา
ชลาศัย ชลาลัย ชโลทร = แม่น้ำ ทะเล
ชวาลา (ตะเกียง)
ชุติ (ความรุ่งเรือง,สว่าง)

ฐิติ (การตั้งอยู่, ดำรงอยู่, ตำแหน่ง)
ฐิติ = การตั้งอยู่, ดำรงอยู่

ดนย (ดะนะยะ) = ลูกชาย= ดนัย
ดนยา = ลูกสาว
ดนุ (ฉัน,ข้าพเจ้า)
ดนุ,ดนู = ข้าพเจ้า
ดนุช = ผู้บังเกิดแก่ตน , ลูกชาย
ดรงค์ = คลื่น ระลอก
ดรุ = ต้นไม้
ดฤถี = ดิถี
แด - ใจ

ทวิ (สอง)
ทหระ = เด็กหนุ่ม
ทุรยศ = ทรยศ
ทุรราช = ทรราช

นค = ภูเขา
นมะ,นม - ไหว้
นยะ (นัย)
นฤ - คน
นฤ (คน) นฤนาถ,นฤบาล,นฤเบศ (พระราชา)
นฤนาถ = พระราชา
นฤมล (นาง, ไม่มีมลทิน)
นันท (ความสนุก, ยินดี, ร่าเริง)
นิเคราะห์ (ข่ม,ปราม)
นิจ (ต่ำ) เที่ยง, ยั่งยืน,เสมอ
นิธิ (ขุมทรัพย์)
นิร (ไม่มี) นิรโฆษ (เสียงดัง),
นิรคุณ (ไม่ดี), นิรทุกข์, นิรเทศ (เนรเทศ) นิรมิต
นิลาวัลย์ (งามยิ่ง, งามเลิศ)
นิลาส, พิลาส (งามมีเสน่ห์)
นิศา ,นิศากาล - กลางคืน
นิศาคม - เวลาโพล้เพล้
นิศาชล - น้ำค้าง
นิศาทิ - เวลาขมุกขมัว
นิศารัตน์ ,นิศานาถ ,นิศาบดี ,นิศามณี , - พระจันทร์
นิษกรม - เฉย

บุระ (เมือง)
บุหรง = นก

ปฏิพัทธ์ - ผูกพัน, รักใคร่
ประจุ (บรรจุ)
ปิยะ - อันเป็นที่รัก

ผจง - ความตั้งใจ
ผละ (สละ,จากออกไป)
ไผท = แผ่นดิน

พจี - คำพูด
พิร (ผู้เพียร,ผู้กล้า)
พิลาลส (อยาก,กระหาย,เศร้าโศก,เสียใจ)
พิลาส ,วิลาส(กรีดกราย,เยื้องกาย,งามอย่างสดใส,คะนอง,สนุก,ฟ้อนรำ)
พิลาส = กรีดกราย งามสง่า
พิลึก
พิโลน = สุกใส
พิไล = งาม
พิษฐาน = อธิษฐาน
พิสัย
พิสิฐ = ประเสริฐ
พิสุทธิ์ - บริสุทธิ์, สะอาด
พิสุทธิ์ = บริสุทธิ์
พิหค = นก

ภค = โชคดี ,เกียรติ
ภณ ( พะนะ) = กล่าว พูด บอก
ภร (พะระ) = เลี้ยงดู ค้ำจุน
ภระ - ภาระ
ภระ, ภร (เลี้ยงดู)
ภว (ความเกิด, ความมี)
ภิท ( พิ-ทะ) = แตก,ทำลาย

มติ - ความคิด, ความเห็น
มธุ - น้ำผึ้ง
มธุกร, มธุการี ,มธุพรต , มธุมักขิกา, มธุลีห์ (แมลงผึ้ง)
มธุปฎร (รวงผึ้ง)
มธุรส : ไพเราะ
มธุรส = น้ำผึ้ง
มธุสร (เสียงหวาน)
มนัส,มนะ,มโน - ใจ
มยุรา (นกยูง)
มร = ความตาย
มร, มตะ (ความตาย)
มฤคย์ = สิ่งที่ต้องการ
มฤจฉา = มิจฉา = ผิด
มฤต = ตายแล้ว
มฤต = ตายแล้ว
มฤทุ = อ่อนโยน สุภาพ นุ่ม
มฤธุ = น้ำผึ้ง = มธุ
มฤษา = มุสา
มล (มะละ) = ความมัวหมอง ( อ่านได้ทั้ง มน มนละ และมะละ )
มล, มละ (ความมัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์)
มละ (ละทิ้ง)
มสิ (เขม่า, หมึก)
มห, มหะ ,มหิมา (ยิ่งใหญ่,มากนัก)
มาน - ใจ, ดวงใจ
มุฐิ (กำมือ)
มุต (รู้แล้ว)
มุติ (ความรู้สึก, ความเห็น)
มุทิกา (คนขับเสภา)
มุทิตา(ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น)

ยะเยื้อง, ยะยับ (ระยับ)
ยะหิทา (เล็บ)
ยุรยาตร (เดิน)
ยุว (หนุ่ม)

รชะ (ธุลี)
รชะ = ธุลี ละออง ความกำหนัด
รดี = รติ = ฤดี - ความรัก
รตนะ - แก้ว
รตะ (ความสุข, ความสนุก,ยินดี, ชอบใจ)
รติ , ฤดิ (ความยินดี, ชอบ, ความรัก)
รติ,ฤดิ - ความรัก, ความยินดี
รบส (ระบด) - เลี้ยง รักษา
รบาญ - รบ
รพ (ระพะ) รพา - ต่อสู้
รพิ รพี รวิ รวี - ดวงอาทิตย์
รมณี - ผู้หญิง
รมณีย - บันเทิง
รยะ (เร็ว,พลัน,ไว,ด่วน)
รว (ระวะ) - เสียงดัง
รวิ (อาทิตย์)
ระแคะ (เล่ห์, เงื่อนความ)
ระยะ (ช่วงเวลา, ช่วงสั้นยาว)
ระรึง - ผูกแน่น
รังสิมันตุ์ , รังสิมา = ดวงอาทิตย์
ริ (แรกคิด)
รุจ รุจา รุจิ รุจี รุจิระ รุจิรา = งาม แสงสว่าง
รุจน = ความชอบใจ ความพอใจ
รุจิรา (แสง, ความรุ่งเรือง, ความงาม)
รุจิเรข (มีลายงาม)
รุจิเรข = มีลายงาม มีลายสุกใส
รุชา = ความไม่สบาย
รุทร = น่ากลัวยิ่งนัก
รุธิร รุเธียร = เลือด สีแดง
รุหะ (งอกงาม, เจริญ)

ฤชุ = ซื่อ
ฤดิ - ความยินดี
ฤตุ = ฤดู

วจะ ,วทะ, วจิ (คำพูด)
วตะ (พรต,ข้อปฎิบัติ,ความประพฤติ,การจำศีล,การบำเพ็ญทางศาสนา)
วติ (รั้ว)
วธ (ฆ่า)
วธุ (หญิงสาว)
วนิดา
วนิพก
วปุ (ตัว ร่างกาย)
วปุ = ร่างกาย
วร (พร, ของขวัญ, เยี่ยม, ประเสริฐ,เลิศ)
วรางคณา - หญิงผู้ประเสริฐ
วลาหก - เมฆ
วสนะ - เสื้อผ้า
วสภ - วัวตัวผู้
วสละ -คนชั่ว
วสลี - หญิงชั่ว
วสลี (หญิงชั่ว,หญิงต่ำช้า)
วสะ (อำนาจ, กำลัง, ความตั้งใจ, ปราถนา)
วสุ (ทรัพย์, สมบัติ)
วสุธา, พสุธา (แผ่นดิน)
วิกจ (วิ-กะ-จะ) = แย้ม บาน
วิเคราะห์
วิจิ (คลื่น,ลูกคลื่น)
วินิบาต (การทำลาย, การฆ่า)
วิปการ (ผิดฐานะ)
วิมล - ปราศจากมลทิน
วิร = กล้าหาญ
วิร, วีร (กล้าหาญ)
วิเรนทร์ = จอมกษัตริย์
วิโรจ วิโรจน์ = สว่าง แจ่มใส
วิโรฒ = งอกงาม
วิโรธ วิโรธณ์ = พิโรจ พิโรจน์
วิลย วิลัย = ความย่อยยับ
วิลาป = พิลาป = ร้องไห้ คร่ำครวญ
วิลาวัณย์ - งามยิ่ง
วิลาวัณย์ : งามยิ่ง
วิษุวัต (จุดราตรีเสมอภาคโลกมีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน)
วุฐิ (ฝน)

ศกุนี (นกตัวเมีย)
ศฐ (คนโกง,คนล่อลวง,คนโอ้อวด)
ศต (100)
ศย (นอน, หลับอยู่)
ศศ-, ศศะ : กระาย
ศศพินทุ์, ศศลักษณ์ : ดวงจันทร์
ศศะ - กระต่าย
ศศิ - ดวงจันทร์
ศศิวิมล : บริสุทธิ์เพียงจันทร์
ศิขริน, ศิขรี : ภูเขา
ศิขรี,ศิขรา , ศิขริน (ภูเขา)
ศิร (หัว)
ศิร : หัว, ยอด
ศิลป
ศิศุ : เด็กแดงๆ เด็กเล็ก
ศุกะ (นกแก้ว)
ศุนัก,ศุนิ,ศุน (หมา)
ศุภ - ความดีงาม
ศุภะ, ศุภ , สุ ,สุภะ (ความดี,ความงาม)

สขิ (เพื่อน, สหาย)
สินะท่าน
สิริ (ศรี)
สุข (สบาย)
สุขุมาล (ละเอียดอ่อน, อ่อนโยน,นุ่มนวล, ผู้ดีตระกูลสูง)
สุจิ (สะอาด,หมดจด,ผ่องใส)
สุณิสา (ลูกสะใภ้)
สุต, สุตะ (ได้ยิน, ได้ฟังแล้ว)
สุร (เทวดา)
สุริยา,ยน,เยนทร์,เยศ,โย (พระอาทิตย์)
สุวคนธ์ (ดี,งาม)
สุวภาพ (สุภาพ)
สุวินัย (สอนง่าย, ว่าง่าย, ดัดง่าย)
สุวิมล (กระจ่าง, บริสุทธิ์แท้)
สุหฤท (เพื่อน, ผู้มีใจดี)

หทย = หัวใจ
หย (ม้า)
หิริ (ความละอายใจ, ละอายบาป)
หุต (การบูชาไฟ)
เหมาะเจาะ
เหยาะแหยะ
แหวะ, แหะ, แหมะ,แหละ

อจล (อะจะละ) = ไม่หวาดหวั่น ไม่เคลื่อนคลอน
อจลา (แผ่นดิน)
อจลา = แผ่นดิน
อจิระ = ไม่นาน
อช (แพะ)
อชินี (เสือเหลือง)
อชิร = สนามรบ
อฎวี (ดง,ป่า,พง)
อฏวี = ดง ป่า พง
อณิ (ลิ่ม
อณุ, อนุ (เล็กน้อย)
อโณทัย = พระอาทิตย์ยามเช้า
อดิ, อติ (พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น,ผ่าน, ล่วง,พ้นเลยไป)
อดิถี (แขกผู้มาหา)
อดิถี = แขก ผู้มาเยือน
อดิเรก
อดิศร (ผู้เป็นใหญ่)
อดิศัย - เลิศ ประเสริฐ
อดิศัย (เลิศ,ประเสริฐ)
อติชาตบุตร, อภิชาตบุตร(บุตรผู้มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา )
อติมานะ (ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง)
อติสาร = ความเจ็บไข้ ใกล้ตาย
อธิกรณ์ (เหตุ, โทษ, คดี , เรื่องราว)
อธิคม (การบรรลุ, ความสำเร็จ, การได้)
อธิบาย
อธิมาตร (เหลือคณนา)

อน = ไร้ ไม่มี
อนยะ = ทุกข์เคราะห์ร้าย
อนิยม
อนุ (ภายหลัง, รุ่นหลัง)
อนุชา (น้องชาย)
อนุชิต (ชนะเนืองๆ)
อนุพัทธ์ (ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง)
อนุมาน (คาดคะเน)
อนุรูป (สมควร, เหมาะ, พอเพียง)
อนุโลม
อนุวัต (ทำตาม, ปฏิบัติตาม, ประพฤติตาม)
อนุสร (ระลึก, คำนึงถึง)
อนุสรณ์ (เครื่องระลึก, ที่ระลึก)
อปรา (พ่ายแพ้)
อปราธ (ความผิด, โทษ)
อปโลกน์ (อุปโลกน์)
อปวาท (คำติเตียน)
อปหาร (การปล้น, การขโมย, การเอาไป)
อภวะ = ความไม่มี ความเสื่อม ความฉิบหาย
อภิ (ยิ่ง, วิเศษ) อภิยศ, อภิบาล(บำรุงรักษา, ปกครอง)
อภิฆาต (การฆ่า)
อภินันท์ (ความยินดียิ่ง, ความดีใจยิ่ง)
อภินัย (การแสดงละคร, การแสดงท่าทาง)
อภิบาล = บำรุงรักษา
อมนุษย์ (ไม่ใช่คน)
อมรา (ผู้ไม่ตาย)
อมฤต (น้ำทิพย์)
อรณ ( อะระนะ ) = ไม่รบ
อริ (ข้าศึก, ศัตรู)
อรุ = บาดแผล
อวรุทธ์ = ถูกขับไล่

อโศก = ไม่เสียใจ, ไม่โศก
อสิ = ดาบ
อสิต ( อะสิตะ ) = สีดำคล้ำ
อสุ = ชีวิต, ลมหายใจ
อสุ = ลมหายใจ ชีวิต
อะนะ = บุตร
อิณ ( อิ-นะ) = หนี้
อินทุ = พระจันทร์
อิษฐ์ = น่ารัก น่าปรารถนา
อุจ (สูง)
อุชุ = ซื่อ
อุชุ = ซื่อตรง
อุชุ = ซื่อสัตย์
อุทก = น้ำ แม่น้ำ
อุบล = ดอกบัว

:12: