ขอบคุณ คุณ น้องจ๋า
http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,18442.msg41035/topicseen.html#msg41035ที่นำเสนอ กลบท จระเข้ฟาดหาง นี้ครับ
ข้อคิดเห็นในการแต่งกลบท
จระเข้ฟาดหาง
จาก เสียงท้ายวรรคกลอน
@ เสียงร้อยกรอง ประเภทกลอน ท้ายวรรคใหั
วรรคแรกไซร้ เลี่ยงเสียง สามัญหนา
วรรคสองเสนาะ ไพเราะด้วย เสียงจัตวา
วรรคสามสี่ สรรหา เสียงสามัญ
@ คราเนื้อหา สาระ ประเด็นตรอง
เสียงวรรคสอง โทเอก เสกบ่พรั่น
วรรคสามสี่ เสียงตรี ก็เช่นนั้น
ปราชญ์ไป่ยั่น หยิบใช้ ไม่หลุดประเด็น
้เมื่อ กลบท กำหนดให้ใช้
วรรณยุกต์รูปโท ในทุกวรรค
จึงเป็นประเด็นที่น่านำมา พูดคุยกัน
แต่งกลบทนี้ อย่างไร จึง
ยัง ขับร้องได้ไพเราะ
ลองพิจารณา การผันเสียง ของ
วรรณยุกต์รูปโท ของอักษร สามหมู่
กา ก๋า กล้า กล๊า ก๋า
ซา ส่า ส้า/ซ่า ซ้า สา
เห็นได้ว่า
อักษรกลาง วรรณยุกต์โท ออกเสียงโท
อักษรสูง วรรณยุกต์โท ออกเสียงโท
อักษรต่ำ วรรณยุกต์โท ออกเสียงตรี
จึงสรุปได้ว่า
การแต่ง กลบทนี้ ที่ต้องใช้ รูปวรรณยุกต์ โท
ท้ายวรรค จึงพึงยึดหลัก ดังนี้
วรรคแรก (เลี่ยงเสียงสามัญ) ใช้
ได้ทั้ง อักษรสามหมู่
วรรคสอง (ควรเป็น เสียงจัตวา โท เอก)
จึงพึงใช้ อักษรกลาง หรือ อักษรสูง
วรรคสาม และสี่ (ควรเป็น เสียงสามัญ ตรี)
จึงพึงใช้ อักษรต่ำ