หัวข้อ: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 15 มีนาคม, 2557, 12:05:26 PM ><><><
ข้ามน้ำข้ามทะเล (กว่าจะได้ผลสำเร็จ ต้องฝ่าอุปสรรคความยากลำบาก) ----------------------- กว่าที่จะได้ยลผลสำเร็จ ต้องทนเหน็ดเหนื่อยกายแต่ไม่หนี ความอ่อนแอบางวันนั้นเคยมี ซึ่งโชคดีที่หัวใจไม่ยอมแพ้ เปรียบเหมือนยามข้ามน้ำทะเลกว้าง คลื่นซัดร่างบอบช้ำเจียนย่ำแย่ ถึงอุปสรรคมากก็......มิท้อแท้ ความแน่วแน่พาถึงฝั่งดังใจเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๑๕ / ๐๓ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 21 มีนาคม, 2557, 11:36:58 PM ><><><><
คลื่นใต้น้ำ (เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน ภายนอกดูสงบ) คลื่นเอ๋ยคลื่นใต้น้ำ อยู่ลึกล้ำซ่อนเร้นเกินเห็นได้ ซัดกระแทกแทรกเลาะเซาะภายใน นับเป็นภัยร้ายมาก..ยากระวัง เหมือนเรื่องในองค์กรร้อนระอุ วันประทุมิอาจจะคาดหยั่ง แต่ภายนอกดูว่าสงบจัง ภายในพังเมื่อไหร่..ไม่รู้เอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๑ / ๐๓ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 21 มีนาคม, 2557, 11:41:03 PM ><><><><
คว้าน้ำเหลว (ไม่ได้ผลตามต้องการ) ........................... ทำอะไรทำจริงไม่ทิ้งขว้าง ย่อมพบทางสำเร็จเสร็จสมหวัง แต่ถ้ามัวเหลวไหลไม่จริงจัง คงยากจะเป็นดั่งความตั้งใจ ยิ่งขืนทำหลายอย่างต่างทักษะ ผลลัพธ์ก็พอจะคะเนได้ เหมือนสองมือคว้าน้ำกำเอาไว้ แบออกดูเมื่อไร...ไม่เหลือเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๑ / ๐๓ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 28 มีนาคม, 2557, 10:34:00 PM ><><><><
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน (นำศัตรูเข้าบ้าน) ------------------- “ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน” คำโบราณเตือนไว้..จำให้มั่น คือการนำผู้ร้ายใจอาธรรม์ มาผูกพันปรองดองเกี่ยวข้องเรา ทำเช่นนี้มีแต่โทษ..ประโยชน์น้อย เครือญาติพลอยร้อนใจไปเปล่าเปล่า หากถูกคนไร้สัตย์แว้งกัดเอา จะต้องเศร้า..คบศัตรูอยู่เคียงเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๘ / ๐๓ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 04 เมษายน, 2557, 02:28:38 PM ><><><><
ชักแม่น้ำทั้งห้า (พูดจาหว่านล้อมเพื่อสิ่งที่ประสงค์) ----------------- พูดอ่อนหวานหว่านล้อมอ้อมเวียนวก พร้อมหยิบยกตัวอย่างขึ้นอ้างกล่าว เสกสรรถ้อยวาทีที่แพรวพราว เพื่อโน้มน้าวจิตใจให้เชื่อคำ ให้เขาเชื่อเพื่อผลสิ่งตนหวัง แต่ใช่ตั้งใจหมายใฝ่ทางต่ำ วิธีการหว่านล้อมน้อมโน้มนำ เรียกว่า“ชักแม่น้ำทั้งห้า”เอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๐๔ / ๐๔ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 08 เมษายน, 2557, 04:41:35 PM ><><><><
ตกน้ำไม่ว่าย (ไม่ช่วยตัวเอง) ----------- คำ “ตกน้ำไม่ว่าย” ความหมายชัด ยามติดขัดขุ่นข้องต้องเสียหาย ดวงชะตาตกต่ำลำบากกาย แต่มิเคยขวนขวายหมายช่วยตน ได้แต่ขอใครใครให้เกื้อหนุน ทั้งรอบุญวาสนาพาเกิดผล ทำเช่นนี้ไม่มีทางห่างทุกข์พ้น ชีวิตหม่นหมองมัวเพราะตัวเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๐๘ / ๐๔ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 21 เมษายน, 2557, 08:34:08 PM ><><><><
ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ (คนดี ตกอยู่ในที่ขับขันก็ไม่เป็นอันตราย) --------------------------- “ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” หมายถึงผู้อยู่ได้ในทุกที่ แม้คับขันอันตรายภัยอาจมี คุณความดีช่วยป้องคุ้มครองตน เป็นภาษิตโบราณอันทรงค่า กาลเวลาเปลี่ยนไปไม่เปลี่ยนผล ความดีสื่อสัญลักษณ์ศักดิ์ศรีคน ทุกชั้นชนแซ่ซ้องยกย่องเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๑ / ๐๔ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 26 เมษายน, 2557, 04:24:35 PM ><><><><
ตะบันน้ำกิน (แก่มากจนเคี้ยวของกินไม่ไหว) -------------------------- "ตะบันน้ำกิน" สำนวนนี้ชวนคิด เตือนชีวิตเตรียมไว้ยามวัยแก่ คราลูกหลานห่างไกลไม่มาแล มิท้อแท้ต้องอยู่..สู้ต่อไป บำรุงกายให้แกร่งเข้มแข็งขัน ถนอมฟันหมั่นเฝ้าเอาใจใส่ อาจมีหักมีกุดหลุดตามวัย แต่อย่าให้ถึงตำน้ำกินเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๖ / ๐๔ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 06 พฤษภาคม, 2557, 10:47:44 PM ><><><><
ตักน้ำรดหัวตอ (แนะนำสั่งสอนเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล) ------------------------- จะสอนสั่งอย่างไรคงไร้ผล บรรดาคนลำพองผยองหยิ่ง ดื้ออวดดีทั้งที่...ไม่ดีจริง ใครท้วงติงกลับโกรธมิจดจำ สัตว์หน้าขน นั้นยังสั่งสอนได้ คนหน้าใส ไยจึงถึงใฝ่ต่ำ โง่หรือว่าเสแสร้งแกล้งไม่ทำ เหมือนตักน้ำรดหัวตอขอไกลเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๐๖ / ๐๕ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 18 พฤษภาคม, 2557, 11:30:50 PM ><><><><
ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา (ให้รู้จักฐานะของตัวเอง) -------------------------- ตักน้ำใส่กะโหลก...... แล้วชะโงกดูเงาตัวเราบ้าง จะได้รู้ได้เห็นเป็นแนวทาง เพื่อวาดวางวิถี ที่รื่นรมย์ รู้ฐานะตนนั้นชนชั้นไหน ดำรงชีพเช่นไรให้เหมาะสม รู้สัมมาคารวะน้อมประนม แต่อย่าก้มหัวสยบคบ(คน)จัญไร สุวัฒน์ ไวจรรยา ๑๘ / ๐๕ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 25 พฤษภาคม, 2557, 06:41:13 PM ><><><><
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ลงทุนไปได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน) ------------------ ลงทุนทำงานไปไร้ผลลัพธ์ ก็เหมือนกับตำน้ำพริกแล้วเทใส่ ลงแม่น้ำละลายหายลับไป ทุกคนไม่ได้ลิ้มชิมรสเลย โบราณสอนลึกซึ้งพึงตระหนัก อย่าอวดศักดิ์ศรีตนจนเกินเอ่ย คิดการใหญ่หมายเพียงเสียงชมเชย จะถูกเย้ยหยามเมื่อ..เหลือแต่ตัว สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๕ / ๐๕ / ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 31 พฤษภาคม, 2557, 08:28:01 PM ><><><><
ตีท้ายน้ำ (เข้าทำในตอนหลังหรือระยะหลัง) ----------------- สักวา“ตีท้ายน้ำ” คำภาษิต สอนให้คิดไตร่ตรองมองดี-ชั่ว ให้รู้การณ์ รู้เวลา อย่าเมามัว มองให้ทั่วให้ซึ้งถึงจิตใจ อย่าเร็วรี่ผลีผลามทำเร่งด่วน รู้ทบทวนทิศทางทั้งไกลใกล้ แม้เข้าทำที่หลังมิเป็นไร มุ่งมั่นให้เต็มพลังสมหวังเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 09 มิถุนายน, 2557, 11:29:08 AM ><><><><
ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ (สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งนำมาใช้ทำประโยชน์ได้) ------------------ ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ สิ่งล้ำค่า ธรรมชาติสร้างมาอย่าทิ้งขว้าง รู้จักคิดรู้จักใช้ให้ถูกทาง ประโยชน์ต่างกันตามความเป็นไป ใช้สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ นั้นสามารถช่วยลดโลกร้อนได้ ทุกพื้นที่ทั่วถิ่นแผ่นดินไทย ทั้งใกล้ไกลทรัพย์อุดมสมบูรณ์เอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 18 มิถุนายน, 2557, 11:28:21 PM ><><><><
ถ่มน้ำลายรดฟ้า (ประทุษร้ายสิ่งที่สูงกว่าตน ตัวเองย่อมได้รับผลร้าย) --------------- ถ่มน้ำลายรดฟ้า..ฟ้าไม่รับ น้ำลายกลับตกใส่รดใบหน้า ภาษิตสอนให้คิดพิจารณา การคิดร้ายสิ่งสูงกว่าจะเกิดภัย เหมือนปาหินใส่กำแพงอันแข็งกล้า ย่อมสะท้อนย้อนหาคนปาได้ จึงมิควรคิดประทุษร้ายใคร สร้างสัมพันธ์กันไว้..สุขใจเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 27 มิถุนายน, 2557, 08:47:01 PM ><><><><
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ (อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ) ----------------- น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ หันหางเสือไปตามน้ำ เรือก็จะลอยลำ ไม่จมคว่ำหรือโคลงเคลง เหมือนผู้มีอำนาจ แม้เราอาจไม่กลัวเกรง แต่ก็...อย่าอวดเก่ง ไปขัดขวางทางเขาเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 13 กรกฎาคม, 2557, 10:39:40 PM ><><><><
น้ำกลิ้งบนใบบอน (ใจที่ไม่แน่นอน กลับกลอก) -------------- ไม่ว่าหญิงหรือชายใครก็ช่าง ถ้าชอบสร้างพฤติกรรมความสับสน อ้างอย่างโน้นอย่างนี้มีเล่ห์กล ก็เป็นคนไร้ค่า.....น่าอายใจ พูดสับปลับกลับกลอกหลอกไปทั่ว กระทำตัวโลเลเถลไถล ดั่งน้ำบนใบบอนวิ่งเกลือกกลิ้งไป คนเช่นนี้มีภัย....ควรไกลเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย - น้ำขึ้นให้รีบตัก เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 24 กรกฎาคม, 2557, 10:06:02 PM .
><><><>< น้ำขึ้นให้รีบตัก (มีโอกาสดีควรรีบทำ) --------------- สักวาน้ำขึ้นให้รีบตัก ขืนช้านักน้ำลดอดน้ำใส เหลือน้ำขุ่นก้นคลองมิต้องใจ ตักมาใช้ได้น้อยพลอยรำคาญ เปรียบเทียบว่าทำอะไรให้เร็วรี่ โอกาสดีมีมาอย่าปล่อยผ่าน ยามดวงขึ้นเร่งเสริมเพิ่มผลงาน เพื่อความสุขสำราญบั้นปลายเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 22 สิงหาคม, 2557, 10:23:37 PM .
><><><>< น้ำขึ้นให้รีบตัก (มีโอกาสดีควรรีบทำ) ---------- น้ำขึ้นให้รีบตัก ตระหนักไว้ สำนวนไทยเตือนตนล้นคุณค่า ทำอะไร ให้รู้ ดูเวลา โอกาสมีต้องคว้าอย่าเหนียมอาย ทำแล้วเกิดผลดีต่อชีวิต ให้เร่งคิดสร้างสรรค์หมั่นขวนขวาย แต่อย่ารีบลุกลนจนวุ่นวาย พลั้งพลาดจะกลับกลายขายหน้าเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: Wirin ที่ 24 สิงหาคม, 2557, 11:29:01 AM ''น้ำลดตอผุด''
เป็นสุภาษิต หมายถึง คนที่กำลังมีอำนาจวาสนา แม้จะทำความผิดความชั่วอย่างไรก็ไม่มีใครกล้าเปิดเผย แต่พอหมดอำนาจวาสนาความชั่วที่เคยทำไว้ก็ถูกเปิดเผยออกมา ------------------------------------------------- ยามเมื่อมี อำนาจ วาสนา คนนับหน้า ทั่วเมือง รุ่งเรืองใหญ่ ที่ทำชั่ว กลับดี มิมีภัย เยินยอไป ใครเห็น เด่นเลิศลอย เมื่ออำนาจ วาสนา ดันมาหมด ที่คิดคด ในข้อ ตอผุดบ่อย จะปกปิด จิตช้ำ น้ำตาปรอย ชั่วติดตาม ต้อยต้อย คอยระแวง วิริน ๒๔/๘/๕๗ :15: :15: หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 02 กันยายน, 2557, 08:40:56 PM .
><><><>< น้ำลดตอผุด (เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ) ----------- ทำความชั่วมากมายไร้คนเห็น ด้วยเพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ใครก็แหยง แอบฉ้อโกงกินชาติ..ขาดคนแย้ง เพราะตำแหน่งสูงนักทรงศักดิ์ยศ อันอำนาจวาสนาพาสดใส ประสงค์สิ่งใดใดได้เกือบหมด แต่เมื่อเริ่มเสื่อมถอย...เห็นรอยคด พอ “น้ำลดตอผุด” สุดเลวเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา ๒ กันยายน ๒๕๕๗ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: พรานไพร ที่ 02 กันยายน, 2557, 11:10:52 PM "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า" (ทุกสิ่งจำต้องพึ่งพาอาศัยกัน) ****** น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าคำภาษิต เปรียบมวลมิตรพึ่งพาต่างอาศัย ดุจนาวาพึ่งน้ำจ้ำพายไป เป็นสายใยวงวัฏฏ์ผูกมัดเกลียว แม้แต่เสือองอาจชาติพยัคฆ์ ยังต้องพักพึ่งป่ามรรคาเหลียว ไม่มีใครเก่งแท้แต่ผู้เดียว จำต้องเที่ยวเกี่ยวดองปองไมตรี ...พรานไพร... :jub jub: หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: พรานไพร ที่ 11 กันยายน, 2557, 06:15:16 PM -น้ำใสใจจริง- (น้ำใสเปรียบเหมือนใจใสสะอาดไร้สิ่งชั่วแอบแฝง) อันน้ำใสไหลเย็นเป็นคำเปรียบ นำมาเทียบจิตใจใสสะอาด ไร้ตะกอนมลทินจินต์พิลาส นรชาติมนุษย์พิสุทธิ์แจง ดังจิตใจใสซื่อมิถือหลอก สามารถบอกความนัยไม่แอบแฝง ย่อมควรคบเป็นมิตรคิดแสดง มิแสลงสิ่งใดเพราะใจจริง :0493: ...พรานไพร... หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 02 ตุลาคม, 2557, 10:54:50 AM .
><><>< น้ำใสใจจริง ------------- น้ำ...ใจหมายมั่นให้ คนดี ใส...กว่าหยาดวารี จากฟ้า ใจ...ตอบต่อไมตรี จิตชื่น สุขเอย จริง..แจ่มบรรเจิดจ้า แจ่มแจ้งจึงเกษม น้ำใสใจจริงนั้น มอบให้กันก็ปรีดิ์เปรม ผู้ให้ได้อิ่มเอม ผู้รับรื่นชื่นฤทัย ให้ด้วยความอารี มิได้มีแฝงเลศนัย ผู้รับรับด้วยใจ รู้คุณค่า..พร้อมแทนคุณ สุวัฒน์ ไวจรรยา ๐๐.๕๐ น. ๑๙/ ๑๒/ ๒๕๕๖ * ขออนุญาตนำมาวางใหม่นะครับ (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: ธนุ เสนสิงห์ ที่ 02 ตุลาคม, 2557, 11:46:05 AM จาก "น้ำใสใจจริง" ขอต่อ "น้ำนิ่งไหลลึก" น้ำ จิตน้ไใจให้มิตรมิคิดหน่าย นิ่ง นิ่งอยู่มิดูดายหมายเกื้อหนุน ไหล หลั่งมาดั่งฟ้ามอบการุณย์ ลึก ล้ำหมายให้เป็นทุนบุญความดี โบราณว่าอย่ามองคนผิวเผิน แล้วประเมินเขาทรามต่ำศักดิ์ศรี เห็นนิ่งเฉยมิใคร่เอ่ยเผยวาที อย่าคิดเหมาเขาไม่มีภูมิความรู้ ธนุ เสนสิงห์ หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: ธนุ เสนสิงห์ ที่ 02 ตุลาคม, 2557, 11:47:13 AM จาก "น้ำใสใจจริง" ขอต่อ "น้ำนิ่งไหลลึก" น้ำ จิตน้ำใจให้มิตรมิคิดหน่าย นิ่ง นิ่งอยู่มิดูดายหมายเกื้อหนุน ไหล หลั่งมาดั่งฟ้ามอบการุณย์ ลึก ล้ำหมายให้เป็นทุนบุญความดี โบราณว่าอย่ามองคนผิวเผิน แล้วประเมินเขาทรามต่ำศักดิ์ศรี เห็นนิ่งเฉยมิใคร่เอ่ยเผยวาที อย่าคิดเหมาเขาไม่มีภูมิความรู้ ธนุ เสนสิงห์ หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 02 ตุลาคม, 2557, 12:46:41 PM .
><>< น้ำนิ่งไหลลึก (คนที่เงียบขรึมมักจะมีความคิดลึกซึ้ง) ******* ท้องทะเลกว้างล้ำเห็นน้ำนิ่ง ในความจริงข้างใต้ลึกไหลอยู่ มองผิวเผินมิเห็นต่างความพรั่งพรู ต้องจ้องดูให้ชิดพิจารณา เหมือนผู้ที่รู้จริงมักนิ่งเฉย ไม่ค่อยเผยตัวตนคนเก่งกล้า แต่ผลงานต่างต่างสร้างสรรค์มา ล้วนเลิศด้วยปัญญาน่าชมเอย สุวัฒน์ ไวจรรยา (http://upic.me/i/18/images86.jpg) (http://upic.me/show/49114418) หัวข้อ: Re: น้ำในสำนวนไทย เริ่มหัวข้อโดย: จั่นเจา ที่ 03 ตุลาคม, 2557, 03:29:02 PM น้ำร้อนปลาเป็นน้ำเย็นปลาตาย คำโบราณเคยฟังเป็นดังนี้ กลางนทีแดดแรงด้วยแสงส่อง ปลาหนีไกลมิใกล้ว่ายเลาะคลอง ร่มไม้ท่องริมน้ำชื่นฉ่ำใจ ท่านจึงเปรียบเทียบความตามที่เห็น อันน้ำเย็นมีภัยอยู่เจ้ารู้ไหม โดนคนจับอวนเบ็ดเสร็จเขาไป ต้องเผลอไผลพลั้งพลาดเพราะขาดตรอง ว่ายที่ร้อนกลางบึงถึงลำบาก พ้นภัยพรากรอดเป้ามิเศร้าหมอง อยู่เป็นสุขสบายว่ายกลางคลอง ถึงร้อนต้องจำทนส่งผลดี เปรียบคำเย็นเป็นใจใครก็ชอบ คำร้อนมอบโกรธด่าเบือนหน้าหนี จะสยบรบผู้ใดในวจี คำเย็นสิชนะแน่มิแพ้ใคร |