เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..

บทกลอนไพเราะ => กลอนอวยพร => ข้อความที่เริ่มโดย: ศิลาสีรุ้ง ที่ 27 มิถุนายน, 2557, 12:13:37 AM



หัวข้อ: ๐๐*** ๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่ ***๐๐
เริ่มหัวข้อโดย: ศิลาสีรุ้ง ที่ 27 มิถุนายน, 2557, 12:13:37 AM




(http://upic.me/i/q2/5889njqixmgqi3.gif)

๒๖ มิถุนายน  วันสุนทรภู่

วิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี

สารานุกรมเสรีที่ทุกคนสามารถร่วมพัฒนาได้
วิกิพีเดียภาษาไทยมี 81,724 บทความ

ประวัติท่านสุนทรภู่  ในช่วงรับราชการ



สุนทรภู่

รูปปั้น        สุนทรภู่ ที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง
เกิด:           26 มิถุนายน พ.ศ. 2339
เขตพระราชวังหลัง
กรุงรัตนโกสินทร์
ถึงแก่กรรม:    พ.ศ. 2398
เขตพระราชวังเดิม
กรุงรัตนโกสินทร์
อาชีพ:        กวี
สัญชาติ:      ไทย
บิดา:          พลับ
มารดา:       ช้อย
ช่วงเวลาในการเขียน:    ต้นรัตนโกสินทร์
แนวทางการเขียน:        แฟนตาซี, อิงประวัติศาสตร์
หัวข้อ:                          กวีนิพนธ์
ผลงานครั้งแรก:            โคบุตร
ผลงานสำคัญ:              พระอภัยมณี


พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ.2329 - พ.ศ.2398)
 เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุง
รัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์
ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

กวีราชสำนัก
สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการ
ได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึง
พระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์
ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น  อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก " ช่วงเวลาที่หายไป " ของสุนทรภู่ ซึ่ง
น่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้
 
เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้
 แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอน
บทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่
ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร
 การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ชีวิตและ
งานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่ง
ในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์
สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง
ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และ
พระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่

ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จำคุกได้
ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรง
ติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็น
พระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อว่า
สุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้

ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ.

 (https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ4DUzciPBVdS-9tT_ZG5vm5wq-X4cVMFFNVEwJc8CzzQhL1RxnPQ)                    

เกียรติคุณและอนุสรณ์

      บุคคลสำคัญของโลก (ด้านวรรณกรรม)

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่
 เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทย
คนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้
จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริม
กิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

 (https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ4DUzciPBVdS-9tT_ZG5vm5wq-X4cVMFFNVEwJc8CzzQhL1RxnPQ)                    

จบบทความของวิกิพีเดียฯ :  ประวัติสุนทรภู่ ช่วงเวลารับราชการ

หมายเหตุ
 ๑.  บทความทั้งหมดเป็นของ วิกิพีเดีย มิได้มีการเสริมเติม หรือตัดทอนอะไรทั้งสิ้น
      ยกเว้นการจัดรูปแบบเอกสารให้เหมาะสมเท่านั้น

 ๒.  เกียรติคุณและอนุสรณ์ นี้ ได้มีการจัดจำแนกกันไว้ถึงประมาณ ๑๐ หัวข้อ
      จึงขอนำเสนอเผยแพร่ในหัวข้อ..  บุคคลสำคัญของโลก (ด้านวรรณกรรม)
      เฉพาะแต่ประการหนึ่งก่อนเท่านั้น




๓.                 ♥♥♥♥♥   ยังมีต่อครับ   ♥♥♥♥♥    


        ขอบคุณครับ
        
         ศิลาสีรุ้ง
   ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗


(http://upic.me/i/pi/757992n7yoa4wmo8.gif)



ขอบคุณภาพจาก  Internet ครับ





หัวข้อ: Re: ๐๐*** ๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่ ***๐๐
เริ่มหัวข้อโดย: Wirin ที่ 27 มิถุนายน, 2557, 09:09:03 AM
:30: :30:
กราบบังคม ครูกวี สี่สมัย
ที่ยิ่งใหญ่ โด่งดัง ไปทั้งหล้า
สุนทรภู่ กลอนเด่น เห็นกับตา
ร้อยเรียงมา ควรค่ายิ่ง กว่าสิ่งใด

กลอนสุภาพ แปดคำ จำจงมั่น
คำประพันธ์ กลั่นกรอง รับรองได้
เป็นแบบเรียน เขียนอ่าน ลูกหลานไทย
นำมาลัย ไหว้ครู ด้วยรู้คุณ
วิริน
 :30: :30:


หัวข้อ: Re: ๐๐*** ๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่ ***๐๐
เริ่มหัวข้อโดย: ❀ Sasi ❀ ที่ 27 มิถุนายน, 2557, 02:14:10 PM
(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/t1.0-9/10382140_564605526981571_796170937865415596_n.jpg)

หิ่งห้อย

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/133/1133/images/love.gif)