หัวข้อ: โคลงสี่ดั้น เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 27 เมษายน, 2558, 08:15:29 PM โคลงสี่ดั้น ต่างจาก โคลงสี่สุภาพ ที่สำคัญคือ
๑) ต้องแต่งอย่างน้อย ๒ บท ๒) โคลงสี่ดั้น บังคับ เอก ๗ โท ๔ เหมือนโคลงสี่สุภาพ ต่างที่ โท ในวรรคท้าย บาทที่ ๔ ย้ายมาอยู่ วรรคหน้า เกิด โทคู่ และเราอาจเพิ่มความไพเราะได้โดย สัมผัสสระ หรือ สัมผัสอักษร ๓) การมี โทคู่ ทำให้เกิดคล่องตัวในการ รับสัมผัส โดยอาจรับที่ คำที่ ๔ หรือ คำที่ ๕ ก็ได้ โคลงดั้น วิวิธมาลี รักจริง....ให้อภัย ....รักจริงจักเปี่ยมล้น..............ให้อภัย ผิดจึ่งละจดจำ.......................มากน้อย ชั่วใช่ปล่อยปะไป...................อาละวาด คุมแนะ-ตะล่อมคล้อย-โน้ม.......สู่ธรรม ....ลงทัณฑ์โทษใช่แก้............ปัญหา สอนสั่ง”ปันรัก”นำ..................ชั่วพ้น “แบบอย่าง”ดุจดารา................กระจ่างจิต พลาดผิดทุกข์ท้นแท้...............เมตตา คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๕ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นวิวิธมาลี คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๔ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นจัตวาทัณฑี คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๓ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นตรีพิธพรรณ โคลงดั้น ตรีพิธพรรณ การเมือง.....เรื่องคน ....การเมืองจริงแน่แท้...........เรื่องคน เข้าร่วมสร้างสังคม................สุขแท้ เมตตารักผองชน..................คือหลัก จิต"รับใช้"แล้พร้อม...............กระทำ ....การเมืองใช่เข้าร่วม............กอบโกย ประโยชน์งำแต่ตน.................พวกพ้อง เงินทองเกียรติได้โดย..............สุจริต ปวงเทพประชาซ้องร้อง............สดุดี หัวข้อ: Re: โคลงสี่ดั้น เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 27 เมษายน, 2558, 08:19:18 PM โคลงดั้นบาทกุญชร ๏ อีกโคลงแบบดั้นหนึ่ง............พึงยล บอกเช่นบาทกุญชร...........ชื่ออ้าง วิธีที่เลบงกล..................แปลกก่อน ยากกว่าบรรพ์แสร้งสร้าง......อื่นแปลง ๚ะ ๏ สองรวดกลอนห่อนพลั้ง....ผิดพจน์ เฉกสี่เชิงสารแสดง............ย่างผ้าย สัมผัสทั่วทุกบท...............ฤๅเคลื่อน คลายเอย บงดั่งบาทข้างย้าย............ต่อตาม ๚ะ จินดามณี เล่ม 2 พระนิพนธ์กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หัวข้อ: Re: โคลงสี่ดั้น เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 28 เมษายน, 2558, 09:50:36 PM โคลงดั้นบาทกุญชร
....โคลงกลอนกาพย์ร่าย ร้อง........ร่ำฟัง ประสงค์ส่งสุขสลายระทม.............ทุกข์ท้น สวดเสกมิ่งมนต์ขลัง..................คล้องจิต ผองเพื่อนร่วมร้อย พ้น................พุ่มเหงา ....บาทกุญชรดั้น คิด................คลายหมอง ยาก! มุ่งมุกล่อมเกลา................กิเลสร้าย รักปันแบ่งเพื่อผอง....................ผูกมิตร ร่วมร่ายลงท้ายสร้าง..................สิ่งฝัน...เถิดนา หัวข้อ: Re: โคลงสี่ดั้น เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 21 มิถุนายน, 2559, 12:45:07 PM โคลงดั้น วิวิธมาลี
....รักจริงจักเปี่ยมล้น..............ให้อภัย ผิดจึ่งละจดจำ.......................มากน้อย ชั่วใช่ปล่อยปะไป...................อาละวาด คุมแนะ-ตะล่อมคล้อย-โน้ม.......สู่ธรรม ....ลงทัณฑ์โทษใช่แก้............ปัญหา สอนสั่ง”ปันรัก”นำ..................ชั่วพ้น “แบบอย่าง”ดุจดารา................กระจ่างจิต พลาดผิดทุกข์ท้นแท้...............เมตตา ....ชั่วใช่ฟ้ากลั่นแกล้ง.............ติดตัว สำนึก ฝึกเลิกลา....................ละเว้น ดูแลจิตจากมัว......................มืดบอด ปฏิบัติเข้มเค้นร้าย.................ชั่วหาย ....ดีอาจปรากฏช้า.................อย่ากลัว “รู้ตื่น”มิมีสาย.......................ไป่ท้อ ธรรมขจัดขมุกขมัว.................เจิดจรัส ชีพใช่เล่นล้อฉะนั้น.................มั่นธรรม ขมุกขมัว(ขะหฺมุกขะหฺมัว) ว. มืด ๆ มัว ๆ โพล้เพล้ จวนคํ่า จวนมืด โดยปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ ไม่ผ่องใส เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). ราชบัณฑิตยสถาน หัวข้อ: Re: โคลงสี่ดั้น เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 09 สิงหาคม, 2561, 12:53:30 AM โคลงดั้น จัตวาทัณฑี @ ผูกขาด"รวย"กระจุกด้วย.....ดูดาย เศรษฐกิจผิด"จน"กระจาย.......ทั่วถ้วน หลายปีที่วางวาย.…........……....ใครช่วย คำสั่งกฎล้วนแล้ง.…………....…...กรุณา @ รักจริงจึงร่ายร้อง……………เรียนเสนอ ขอท่านผ่านตาตรอง…………...ตรึกย้ำ "สอพลอ"ล่อท่านเผลอ…..…...พลาดผิด ถ้วนถี่สติค้ำสู้……………….......เพื่อผอง หัวข้อ: Re: โคลงสี่ดั้น เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 30 พฤศจิกายน, 2563, 09:05:30 AM @ พึงระวัง! อย่าได้ ....สับสน คล้าย"สุภาพ"อย่าหลงกล....แต่น้อย อัน"ดั้น"ต่างดุจมนต์....เสริมส่ง ๒ บทอย่างน้อย ร้อย....นะสหาย @ โคลงดั้น สี่แบบให้....ฝึกฝน สองกลุ่มจารลวดลาย....แต่งแต้ม "โทคู่"ช่วย"ดั้น"ดล....จารง่าย หวังเพื่อนร่ายแฉล้มร้อง....ร่ำเสนอ โคลงดั้น วิวิธมาลี กลุ่มแรก ๑ คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๕ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นวิวิธมาลี ๒ คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๔ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นจัตวาทัณฑี ๓ คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๓ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นตรีพิธพรรณ กลุ่มสอง ๔ โคลงดั้น บาทกุญชร |