หัวข้อ: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: มนต์ เมืองชัยภูมิ ที่ 19 ธันวาคม, 2558, 06:38:06 PM ขออนุญาต สอบถามครับ
กลอน กับ กวีนิพนธ์ ต่างกันยังไง ทำไมถึงมีการนิยมเขียน กวีนิพนธ์ มากกว่า เขียนกลอนครับ มนต์ เมืองชัยภูมิ :13: หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: บางม่วง ที่ 23 ธันวาคม, 2558, 11:25:04 AM .
เรียนคุณ มนต์ เมืองชัยภูมิ ทราบครับ ผมได้อ่านกระทู้นี้ของคุณแลว้ ก็มีบางอย่างที่จะขอเรียนปรึกษา ข้อคิดเห็นกับคุณมนต์ฯครับ ก่อนอื่นผมขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ ผมก็ไม่ทราบจะไปปรึกษาใคร ผมก็เป็นแค่คนเขียนกลอนทีพอจะเขียนได้บ้างรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ไม่เข้าใจก็มีมากครับ และอย่างหนึ่งที่ไม่เข้าใจก็คือ ที่ว่า กวีนิพนธ์ เป็นอย่างไร และคุณตั้งคำถามว่า... ..".ทำไมถึงมีการนิยมเขียน กวีนิพนธ์ มากกว่า เขียนกลอนครับ".. ผมก็เลยอยากรู้ว่า ที่ได้เห็นได้อ่านกันทั่วๆไปนั้น เป็นกลอน หรือกวีนิพนธ์ คุณมนต์ฯถามว่า "ทำไมถึงมีการนิยมเขียนกวีนิพนธ์ มากกว่าเขียนกลอน" ผมก็เลยสงสัยว่า ที่พบเห็นทั่วๆไปนั้น เป็นกวีนิพนธ์ หรืออย่างไร ขอได้โปรดขยายความ เพื่อให้ผมได้กระจ่างแจ้งบ้าง หากพอจะยกตัวอย่างด้วยยิ่งดีครับ ขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ของคุณมนต์ เมืองชัยภูมิ ครับ :smiley53: :smiley53: บางม่วง . หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: มนต์ เมืองชัยภูมิ ที่ 23 ธันวาคม, 2558, 04:14:44 PM คือว่า เท่าที่มีผู้รู้บอกผมนะครับ
การเขียนกลอน นี่ จะต้องการให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ แบบแผน แต่ว่า กวีนิพนธ์ จะมีทั้งรูปแบบที่ มีและไม่มีฉันทลักษณ์ เพื่อที่จะไม่ซ้ำซากจำเจ และมีอิสระในการเขียน ส่วนมากผมเห็นในกลุ่ม กวี ต่างๆตามเฟสบุ๊ค มักจะนิยมเขียน ในรูปแบบไม่อิงฉันทลักษณ์ครับ เวลาผมเขียน ผมก็ไม่กล้าใช้คำว่าเขียนกลอนหรอกครับ เพราะถ้าบอกว่าเขียนกลอน เพื่อเรามีผิดมีพลาด จะโดนคำหนิเอาได้ครับ มนต์ เมืองชัยภูมิ หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 23 ธันวาคม, 2558, 05:05:34 PM ลองเข้าไปอ่านนะครับ
th.wikipedia.org/wiki/กวีนิพนธ์ เพียงระวังสักหน่อย อย่าเชื่อโดยไม่ตรวจสอบจากแหล่งอื่น ๆ Wiki ของไทยยังต้องการ ผู้รู้ และผู้ยอมสละเวลา เข้าไปตรวจแก้ไข (ขออภัย ผมเองก็ไม่มีเวลาพอ ตอนนี้ขึ้นดอยมาช่วยสอนเด็กครับ) ใครพอมีเวลา เข้าไปแก้ไขสักหน่อย (เพิ่งลงมาซื้อของ จึงใช้ net ได้ครับ) กานต์ (แบบ) ว. เป็นที่รัก โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. (ส.). กานท กานท์(โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ. (ยวนพ่าย). พูดคุยกันอีกนะครับ (คงต้องรอหน่อย 555) ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: บางม่วง ที่ 23 ธันวาคม, 2558, 09:32:22 PM คือว่า เท่าที่มีผู้รู้บอกผมนะครับ การเขียนกลอน นี่ จะต้องการให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ แบบแผน แต่ว่า กวีนิพนธ์ จะมีทั้งรูปแบบที่ มีและไม่มีฉันทลักษณ์ เพื่อที่จะไม่ซ้ำซากจำเจ และมีอิสระในการเขียน ส่วนมากผมเห็นในกลุ่ม กวี ต่างๆตามเฟสบุ๊ค มักจะนิยมเขียน ในรูปแบบไม่อิงฉันทลักษณ์ครับ เวลาผมเขียน ผมก็ไม่กล้าใช้คำว่าเขียนกลอนหรอกครับ เพราะถ้าบอกว่าเขียนกลอน เพื่อเรามีผิดมีพลาด จะโดนคำหนิเอาได้ครับ มนต์ เมืองชัยภูมิ ขอบคุณคุณมนต์ ครับ ที่ได้แบ่งปันแลกเปลี่ยนพูดคุยกันครับ ครับเรื่องเขียนกลอน ก็ต้องตามฉันทลักษณ์ แบบแผน แต่ก็มีส่วนปลีกย่อย(ขอใช้คำง่ายๆ ปลีกย่อย ครับ) เช่นเริ่มเขียนมาได้บ้างแล้ว ฉันทลักษณ์ก็ต้องอ่อนลงไปบ้าง ไม่เป๊ะแน่นอน ผมเองก็เป็นเช่นว่านั้นครับ ส่วนกวีนิพนธ์ ที่คุณมนต์บอกว่า มีทั้ง มีและไม่มีฉันทลักษณ์ อย่างนี้ ผู้อ่านจะรู้ไหมว่าอันไหนเขียนถูก หรือไม่ถูกเพราะไม่ต้องใช้ฉันทลักษณ์ก็ได้ ยกตัวอย่าง อย่างผมเขียนแล้วบอกว่าเป็นแบบกวีนิพนธ์ไม่มีฉันทลักษณ์ แล้วผู้อ่านจะรู้ได้อย่างไรครับ เพราะความจริงก็คือผมไม่เคยเขียนกวีนิพนธ์ครับ ทั้งที่ผมก็คงเขียนผิดลักษณะของกวีนิพนธ์ .... แล้วในยุคปัจจุบัน แต่ละบุคคลจะได้รับการยกย่องว่าท่านนั้นท่านนี้เป็นกวีแล้ว อันนี้มันไปอย่างไร มาอย่างไรครับ ผมงงจัง อย่างถ้าผมจะยกว่าท่านบางแคเป็นกวีแล้ว (ไม่ใช่ใช้ชื่อกวีนะครับ)ซ้ำบ่อยๆๆทุกโอกาส อย่างนี้ในวงการจะยอมรับและยกย่องตามไหมครับ .... เหมือนกับผมไม่เคยเขียนกลอนแปด แล้วก็เริ่มหัดเขียน ก็ต้องมีจุดนั้นจุดนี้ผิดแน่นอน ส่วนมากผมเห็นในกลุ่ม กวี ต่างๆตามเฟสบุ๊ค มักจะนิยมเขียน ในรูปแบบไม่อิงฉันทลักษณ์ครับ (คำของคุณมนต์ฯ) อย่างนี้ถ้าผมเขียนแบบไม่มีฉันทลักษณ์ขึ้นมาบ้าง แล้วบอกว่านี่คือกวีนิพนธ์ จะไช้ได้ไหมครับ จะเป็นผลสัมฤทธิ์ไหมครับ หรือยังต้องมีอะไรประกอบอีกบ้าง "ทำไมถึงมีการนิยมเขียนกวีนิพนธ์ มากกว่าเขียนกลอน" . (คำถามของคุณมนต์) ส่วนมากผมเห็นในกลุ่ม กวี ต่างๆตามเฟสบุ๊ค มักจะนิยมเขียน ในรูปแบบไม่อิงฉันทลักษณ์ครับ . (กระทู้ตอบ 2 ของคุณมนต์) อย่างนี้จะเรียกว่า มากกว่า ได้หรือเปล่าไม่ทราบ จะเป็นการคาดคะเนไหม เพราะยังมีนักกลอนอีกเท่าไรที่ไม่ลงเฟสไม่ลงไลน์ หรือแม้แต่ไม่ลงเว็บต่างๆ ไม่มีใครรู้ เวลาผมเขียน ผมก็ไม่กล้าใช้คำว่าเขียนกลอนหรอกครับ เพราะถ้าบอกว่าเขียนกลอน เพื่อเรามีผิดมีพลาด จะโดนคำหนิเอาได้ครับ (กระทู้ของคุณมนต์) ครับผมใช้คำว่า เขียน(หรือแต่ง)กลอนมาแต่เริ่มต้นครับ และก็ยินดีรับคำชี้แนะแก้ไขจากทุกๆท่าน และพร้อมกับเข้าไปแก้ไขงานใหม่ ให้ถูกต้อง ผมไม่คิดว่ามีใครมาตำหนิ แต่เขามาบอกว่าตรงนี้ให้แก้ไขเป็นอย่างนี้จึงจะถูกต้อง จากอะไร ย่อมจะเรียกว่าตำหนิไม่ได้ คนที่มาตำหนิ แล้วออกไปเลย ไม่บอกว่าทำอย่างไรจึงจะถูกต้องได้...นั้นไม่เคยได้รับครับ แต่ถ้าบอกแล้วผมไม่แก้ไข มันก็จะผิดอยู๋อย่างเดิม ใครเอาไปใช้เผยแพร่ต่อ มันก็ผิดๆอยู่อย่างนั้น สงสารเขาครับ ขณะเดียวกันข้อความข้างล่างนี้คุณขอรับคามช่วยเหลือชี้แนะ แต่คุณกลับไม่ทำตามที่ได้รับการชี้แนะเลยนะครับ ผม มนต์ เมืองชัยภูมิ เป็นนักกวีกลอนมือใหม่ ด้อยประสบการณ์ แต่อยากแสดงผลงานและฝีมือ หากผลงานที่ออกมา มีข้อผิดผลาดประการใด รบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ มนต์ เมืองชัยภูมิ ขอบคุณคุณมนต์ครับ หวังว่าคงจะได้รับทราบความคิดเห็นคุณเพิ่มเติมอีก บางม่วง หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: เหนือเมฆ ที่ 23 ธันวาคม, 2558, 10:30:46 PM ผมผ่านเข้ามาอ่านกระทู้นี้โดยบังเอิญ จับหลักได้คร่าวๆ เมื่อค้นผลงานของเจ้าของกระทู้ดู ก็เข้าใจได้ทันที(ความคิดส่วนตัว) ว่าเจ้าของกระทู้นั้น ยังเขียนกลอนสุภาพและโคลงสี่สุภาพ ยังไม่แม่นในเรื่องฉันทลักษณ์ และกฎข้อห้ามพอ เพราะรูปแบบ การเดินสำนวน และผังที่ใช้ เป็นตัวบ่งบอก ว่าคุณกำลังใช้ฉันทลักษณ์ใด อย่างตัวอย่างผลงานของคุณที่ผมยกมา(ด้านล่างสุด) คนที่เป็น อ่านดูแล้วก็จะทราบได้ทันที ว่าคุณเขียนกลอนประเภทกลอนสุภาพ ตามผังฉันทลักษณ์ปกติ ขออนุญาต สอบถามครับ กลอน กับ กวีนิพนธ์ ต่างกันยังไง ทำไมถึงมีการนิยมเขียน กวีนิพนธ์ มากกว่า เขียนกลอนครับ มนต์ เมืองชัยภูมิ :13: แล้วใครบอกคุณครับ ว่ากวีนิพนธ์คนนิยมมากกว่าการเขียนกลอน กลอนสุภาพคือกลอนตลาด ที่คนนิยมเขียนกันทั่วไปมาแต่โบราณ ส่วนงานแนวกวีนิพนธ์ เป็นงานกวีแนวร่วมสมัย ที่หลายท่านนิยมเขียน แต่คนส่วนใหญ่ ก็ยังนิยมเขียนกลอนสุภาพกันอยู่ดี ไม่มีเปลี่ยนแปลงครับ.. อย่าเพิ่งกล่าวไปไกล ถึงเรื่องกวีนิพนธ์เลยครับ เพราะไม่มีสำนวนใด ที่คุณโพสลงที่นี่เป็นงานแนวกวีนิพนธ์เลย ตัวอย่างสำนวนด้านล่าง(เพียงส่วนหนึ่ง) ของคุณที่ผมยกมา คุณมีทั้งสัมผัสซ้ำ ทั้งสัมผัสผิดรูป ผิดเสียง ซึ่งเป็นความผิดขั้นพื้นฐานของการเขียนกลอนสุภาพ เป็นประเภท กลอนครูพักลักจำ ยิ่งการรับสัมผัส(กัณฐ์ สัมผัสกับ ท่าน) ผมนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องนี้ขึ้นมาทันที เพราะเคยอ่านผ่านตา http://aromklon.com/index.php?topic=510.0 "เขียนกลอนสุภาพให้แม่นก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนแนวไปเป็น กวีนิพนธ์ จะไม่ดีกว่าเหรอครับ" ด้วยความศรัทธางานวรรณศิลป์ เหนือเมฆ ปล.ผลงานแนวกวีนิพนธ์ ที่คุณควรลองศึกษาดูครับ http://aromklon.com/index.php?topic=1188.msg2763#msg2763 :24: ตัดขาด โอ้ว่ารัก มักเหน็บ จำเจ็บซ้ำ จึงระกำ ซานซม อกตรมหมอง ดั่งซากใจ เหลวแหลก แตกเป็นกอง น้ำตานอง หลั่งแก้ม รักแรมไกล เคยดื่มด่ำ ช่ำชื่น หวานรื่นรม(รมย์) กลับขื่นขม สุดหัก โดนผลักไส ดังต้องหนาม ลามปัก สลักใจ โอ้อาลัย อุรา เปื้อนราคิน ขอสาบาน ผ่านฟ้า สุธาชาติ ใคร่ประกาศ ตัดรัก หักหาญสิ้น แม้เกิดกาย ตายพราก จากแดนดิน ธรณิน เป็นพยาน ผ่านชีวิน(ทิ้งสัมผัสแบบงูกินหาง เค้าไม่ทำกัน) เจ้าเกิดอยู่ คู่ฟ้า นภาใหญ่ จะขอใคร่ ลงสู่ อยู่กสินธุ์(ไม่มีความหมาย) หากเจ้าหมาย กายอยู่ คู่แดนดิน จะดับสิ้น ชีวิต ให้ปลิดปลง เจ้าเป็นไฟ ใคร่ขอ ก่อเป็นน้ำ จะสาดซ้ำ ดับเจ้า เป็นเถ้าผง เป็นกวางทอง ท่องไป อยู่ไพรพง ขอปลดปลง เป็นพราน ผลาญชีวัน เจ้าเป็นนาค สากน้ำ ไหว้ดำผุด ขอเป็นครุฑ ฆาตฆ่า ให้อาสัญ แม้เจ้าเกิด เชิดบท ทศกัณฐ์ ขอเป็นท่าน องค์ราม ตามราวี อย่าได้อยู่ คู่สบ ทุกภพชาติ ขอตัดขาด ลาลับ นับแต่นี้(เสียวตรี) หากบุญกรรม นำพบ สบชีวี ขอย่ำยี เหยียบยับ ชั่วกัปกัลป์ บทประพันธ์ มนต์ เมืองชัยภูมิ หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: masapaer ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 05:52:10 AM กวีนิพนธ์เป็นคำประพันธ์ที่แต่งขึ้นอย่างมีความงามทางภาษา เป็นศิลปะ มีเนื้อหาที่สื่ออารมณ์ระหว่างผู้เขียนกับคนอ่าน สะเทือนอารมณ์ (ทุกอารมณ์ หมายถึง อ่านแล้วมันตึ้งโป๊ะ เอ้อ!เว้ย!เฮ้ย!หว่ะ! ประมาณนี้อ่ะจ้ะ) มีหลายประเภท มีทั้งแต่งตามแบบแผนฉันทลักษณ์ และแบบอิสระ มีหลายแนวประพันธ์ :33: ฉะนั้นกลอนน่าจะเป็นส่วนย่อยในกวีนิพนธ์ ไม่น่าจะยกมาเปรียบกันเองได้ (ในความคิดของตัวเอง) เราก็น่าจะฝึกกลอน ฝึกแต่งบทประพันธ์ทุกอย่างที่เราสนใจให้แน่น คำงามๆสวยๆก็จะมาตามประสบการณ์ การถ่ายทอดความคิดที่ออกมีอย่างมีศิลปะสื่อถึงใจหรือประสบการณ์ระหว่างคนเขียนและคนอ่านได้ โดยเลือกประเภทการเขียนแบบใดแบบหนึ่ง ก็น่าจะเข้าข่ายกวีนิพนธ์ (เราคงไม่สามารถบอกได้ว่างานของเราคือกวีนิพนธ์แม้เราจะบอกว่าเรากำลังเขียนกวีนิพนธ์ ควรจะมีหลายๆคนอ่านและช่วยจิวารณ์ แล้วก็คงคอยดูบทสรุปว่าแนวเขียนของเราไปในทิศทางใด) ความงามของการสื่อน่าจะมาตามแนวคิดที่ละเมียดละไม ความลึกซึ้งของอารมณ์ผู้แต่ง แน่นอนคนอ่านก็น่าจะธาตุเดียวกัน ที่สำคัญน่าจะเป็นการดึงอารมณ์ของคนส่วนใหญ่ให้คล้อยตามได้ การจะสื่อออกมาให้คนรับรู้ในรูปแบบคำประพันธ์ใดใด ก็น่าจะด้วยความสามารถทางการใช้คำที่สละสลวย งดงามตามไปด้วย การจะใช้คำสื่อภาษาได้ดีก็คงต้องอาศัยประสบการณ์ด้วยเช่นกัน ตามความเห็นที่พอเข้าใจมาค่ะ (ไปล่ะเขียนเองกลับไปอ่านก็ชักงงๆ แต่คงพอมีสาระบ้างเนาะ รอกูรูผู้รอบรู้ดีกว่า) :24: :21: หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: < ชายกลาง >(กล้า) ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 08:17:25 AM สวัสดีครับทุกท่าน กล้าเข้ามาที่อารมณ์กลอนนี่ก็เพื่อมาฝึกเขียนกลอนต่างๆ ท่านปู่"ระนาดเอก"และท่าน"ลุงศิลาสีรุ้ง"คอยแนะนำให้ และยังมีท่านป้า"แม่บ้านละอองดิน"คอยดักตีอยู่หลังไมค์ จนมาถึงทุกวันนี้ กล้าก็ยังไม่เก่งพอฮะ..อิอิ :21: ...................................... กล้าเข้ามาอ่านหลายรอบก็ยังงงง่ะ เคยทำแต่วิทยานิพนธ์ กวีนิพนธ์เป็นไงนะกล้าชักสนใจซะแล้วสิครับ กล้าจึงขอความกรุณาจากท่านพี่"มนต์ เมืองชัยภูมิ" ให้นำกวีนิพนธ์ที่ท่านพี่"มนต์"ได้เคยเขียนไว้มาวางให้กล้าได้อ่านได้ศึกษาหน่อยนะครับ ขอบพระคุณขอรับ กล้า :aab15: หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: น้ำบุศย์ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 09:18:56 AM ถ้าเป็นผลงานในแนวกวีนิพนธ์ ของคุณ"มนต์ เมืองชัยภูมิ" น่าจะมีสำนวนนี้ สำนวนหนึ่งค่ะ เสิร์ตเจอใน facebook สำนวนนี้ในวันเดียวกัน ก็ลงที่อารมณ์กลอนเช่นกัน เพียงแต่ตัดคำว่า"กวีนิพนธ์"ออกค่ะ (http://upic.me/i/e1/kdy1x.png) (http://upic.me/show/57509630) สู้ ฝัน อิสระ ศรัทธา เปรียบตนช่างดั่งนกบินผกฟ้า ทอดสายตามองแผ่กระแสสินธุ์ ลิ่วทะยานผ่านเหนือแคว้นผืนแผ่นดิน โบกโบยบินตัดป่าเขาลำเนาไพร อิสระประกาศก้าวบอกกล่าวเรื่อง ให้ประเทืองสะเทือนลั่นสนั่นไหว แม้ถนนหนทางก้าวจะยาวไกล จะหวั่นไยหากใจหดย่อมหมดกัน ไม่ท้อแท้แม้ตราบใดหายใจอยู่ หมายฮึดสู้ท้าชิงชัยสิ่งใฝ่ฝัน หากฟ้าดินไม่สิ้นแสงแห่งตะวัน บอกใจมั่นคงด้วยแรงแห่งศรัทธา เปรียบตนช่างดั่งนกบินหกเหิน หากเผชิญอุปสรรคแม้หนักหนา ใจยังพร้อมน้อมบากบั่นสู้ฟันฝ่า(ผิดเสียง) วันข้างหน้าย่อมพบฝันอันสวยงาม มนต์ เมืองชัยภูมิ :12: หมายเหตุ สำนวนนี้ดิชั้นอ่านกี่ครั้ง ก็เป็นเพียงแค่กลอนแปดธรรมดา ไม่เห็นว่าจะเป็นกวีนิพนธ์ตรงไหน หรือว่าดิชั้นจะคิดไปเอง ลองผู้รู้ช่วยกันพิจารณากันนะคะ ขอบคุณเครดิตจากfacebookด้วยค่ะ น้ำบุศย์ :smiley01: หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ปาริชาติ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 09:22:58 AM ขออนุญาตเข้ามาเรียนรู้ งานกวีนิพนธ์ด้วยคนค่ะ ปาริชาติ :smiley53: หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธนุ เสนสิงห์ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 10:21:46 AM กวี ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คือผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญการประพันธ์ประเภทกลอน จำแนกเป็น ๔ ประเภทคือ... ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด และ ได้ชี้ชัดลงไปว่า กวีนิพนธ์คือ คำประพันธ์ที่กวีแต่ง ย่อมหมายรวมถึงบทประพันธ์ประเภท "ร้อยกรอง" คือ..โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ซึ่งมีฉันทลักษณ์กำกับแต่ละรูปแบบ ฉนั้น... สิ่งที่ไม่มีฉันทลักษณ์ ซึ่งอยู่ในประเภท "ร้อยแก้ว" จึงมิอาจ เรียกว่าบทกวี หรือ กวีนิพนธ์ อาจเรียกว่า "บทนิพนธ์" "อักขรานิพนธ์" อย่างนี้ได้ ธนุ เสนสิงห์ กรรมการบริหารสมาคมกวีร่วมสมัย หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: มนต์ เมืองชัยภูมิ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 01:01:23 PM เรียนเพื่อนสมาชิกที่ร่วมตอบกระทู้ทุกท่านนะครับ
จากกระทู้ที่ผมตั้งไว้ "ขออนุญาต สอบถามครับ กลอน กับ กวีนิพนธ์ ต่างกันยังไง ทำไมถึงมีการนิยมเขียน กวีนิพนธ์ มากกว่า เขียนกลอนครับ" 1.กลอนกับกวีนิพนธ์ ต่างกันยังไง ที่ผมตั้งกระทู้คำถามขึ้น เพราะผมมีข้อสงสัยมาก ผมเริ่มมาหัดเขียนกลอนได้ไม่นาน มีผิดพลาดมาก(นี่ผมไม่ท้อ) แต่ข้อที่ผมสงสัย ว่าต่างกันยังไง คือ ผมก็สังเกตไปตามประสาของผม ว่าทำไม หนังสือที่ถูกตีพิมพ์ เป็นชื่อ กวีนิพนธ์ แต่การเขียน ก็เป็นเหมือนกลอน ทั่วๆไป ทำไมถึงไม่ใช้หนังสือ กลอน นี่คือสาเหตุที่ทำให้ผมสับสน ถึงได้ตั้งกระทู้ถาม ว่าต่างกันยังไง 2.ทำไมถึงมีการนิยมเขียน กวีนิพนธ์ มากกว่า เขียนกลอนครับ ประการแรก ก็จะสืบมาจากข้อ 1 เมื่อหนังสือที่ออกมา ใช้ชื่อว่า รวมกวีนิพนธ์ หรือการประกวดทั่วไป ก็มีหัวข้อประกวดกวีนิพนธ์ ก็ทำให้ผมคิดว่า กวีนิพนธ์ มีการนิยมมากกว่าบทกลอน ประการที่สอง หลายคนอาจจะมองผมว่าผมเข้าใจอะไรผิดๆ จริงๆผมก็เข้าใจผิดจริง ผมถึงได้ตั้งกระทู้คำถามด้วยความสงสัย ผมเชื่อว่า ถ้าใครไม่รู้ ก็ต้องสงสัยเหมือนผมแน่นอน ถ้าไม่มีการสอบถามผู้รู้ ผมก็จะไม่รู้ไปตลอด เมื่อผมไม่รู้ คำว่า มั่ว ก็ต้องเกิดขึ้น เพราะสาเหตุนี้ ผมถึงต้องการรู้ข้อมูล ที่ถูกต้องแท้จริง เพื่อเป็นประโยชน์ และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ผมถึงได้ ขอคำตอบ จากผู้รู้ที่นี่ 3.สืบมาจากกระทู้ ของท่าน บางม่วง และ ท่านเหนือเมฆ ก็ขอขอบคุณนะครับ ที่ช่วยแนะนำ ผมยอมรับว่ายังมือใหม่ และยังอ่อนต่อประสบการณ์ มีข้อผิดพลาดเยอะ แต่ที่ท่าน บางม่วง กล่าวไว้ว่า &&ขณะเดียวกันข้อความข้างล่างนี้คุณขอรับคามช่วยเหลือชี้แนะ แต่คุณกลับไม่ทำตามที่ได้รับการชี้แนะเลยนะครับ&& นี่ผมก็อยากจะตอบกลับแบบน้ำขุ่นๆนะครับว่า "ผมก็รับฟังนะ" ตอบแบบนี้ใครๆก็ตอบได้ แต่ผมก็อยากจะบอกว่า แต่ละเรื่องที่ผมเขียนขึ้นมา เป็นกลอนเก่าที่ผมหัดเขียนใหม่ๆ แล้วเอามาตั้งกระทู้ เพื่ออยากได้คำชี้แนะ อย่างเรื่อง &&ปณิธานแห่งกวี&&ที่อยู่ในรูปแบบโคลงสี่ ก็เป็นโคลงแรกที่ผมหัดเขียน ช่วง กลางปี 2556 แล้วก็เอาเรื่องเก่าๆ มาตั้งกระทู้ ก็ได้รับคำแนะนำมากมาย ข้อที่ผิดพลาด ผมก็นำไปปรับปรุง แก้ไข จนผมได้เขียนเรื่อง &&นิราศมอหินขาว&& ออกมาซึ่งผมก็พยายามระวังที่สุด ที่หัวข้อก็บอกให้แนะนำได้ แต่ก็ไม่มี ก็ไม่เป็นไรครับ ส่วนกระทู้ของท่าน เหนือเมฆ ผมคงต้องใส่ใจนะครับ ถ้าผมไม่ใส่ใจ ถ้าผมแยกไม่ออก เดี๋ยวจะผิดพลาด เหมือนที่เป็นอยู่ตอนนี้ 4.เรื่องที่ทั่วๆไป หลายๆท่านที่มีความรู้มีประสบการณ์ มาแนะนำ แก้ไข ผมไม่ได้คิดว่าเป็นการตำหนิติเตียนนะครับ แต่บางข้อความ อาจสื่อออกมา ว่าผมอาจจะคิด ว่า มาตำหนิ ไม่เลยครับ ผมไม่คิดแบบนั้นกับทุกท่าน ที่มาแนะนำ แล้วเวลาที่หลายๆท่านมาแนะนำ ผมไม่เคยคิดท้อหรอกครับ แล้วจะไม่ทิ้งด้วย ผมคิดเสมอว่า การสร้างสรรสิ่งใดสิ่งหนึ่งถ้าคิดจะเอาให้สวยงามที่สุด ต้องใช้เวลา ไม่มีสิ่งใดที่สร้างแล้วจะสวยงามโดยทันที 5.ผมก็ยังรอคำตอบ ที่ชัดเจนอยู่นะครับ ได้คำตอบที่ชัดเจน จะได้ไม่เข้าใจผิด ออ ถ้าวันไหนผมออกโรงพยาบาลแล้ว ผมจะมาทำการบ้าน เขียนกลอนให้ทุกท่าน ช่วยแนะนำอีกนะครับ มือใหม่ยังต้องเรียนรู้อีกมาก &&นิราศมอหินขาว&& ฝากทุกท่านช่วยแนะนำด้วยนะครับ มนต์ เมืองชัยภูมิ หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธนุ เสนสิงห์ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 01:40:32 PM ที่โพสต์ไปก่อนหน้านี้ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ ด้วยใจจริงแล้วไม่อยากให้รูปแบบคำประพันธ์ไร้ฉันทลักษณ์ เป็นบทกวี ถ้าเช่นนั้นเมื่อจัดประกวด บทกวี มีฉันทลักษณ์บ้าง ไม่มีบ้าง อันไหนดี ไม่ดี ไม่รู้เอาหลักใดมาตัดสิน แต่เมื่อได้รับคำชี้แจงจากอาจารย์สุวัฒน์ไวจรรยา จึงรับฟังครับ ผิว่าถ้าหากถือเป็นพัฒนาการ ก็ได้ แต่สิ่งที่แปลกออก แยกแตกต่างไปจากของเดิม แต่มิได้ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่น่าจะเป็นพัฒนาการ ที่จะหลีกเลี่ยงความจำเจดังอาจารย์ว่า ท่านทั้งหลายไม่ต้องเชื่อตามผมทุกอย่างหรอกนะครับ ย้ำว่าคือความเห็นส่วนตัวครับ (ต่อไปนี้คือข้อแนะนำของอาจารย์สุวัฒน์ ไวจรรยา รูปแบบของกวีนิพนธ์ ------------------- แบ่งตามประเภทของกวีและวรรณกรรมที่ปรากฏเป็น 2 รูปแบบ คือ - กวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ - กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ ------------------ กวีนิพนธ์ราชสำนัก (ดู ฉันทลักษณ์) ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย กวีนิพนธ์ท้องถิ่น ได้แก่ กานต์ กาบ (อีสาน) กอน (อีสาน) กาพย์ (เหนือ) และค่าว กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ --------------------- ในช่วงที่การแต่งกลอนประเภทเคร่งฉันทลักษณ์และพราวสัมผัสถึงจุดอิ่มตัว บรรดากวีเริ่มแสวงหารูปแบบคำประพันธ์ใหม่ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจ และสามารถสื่อ สาร ได้อย่างเสรี ไม่ติดในกรอบฉันทลักษณ์ จึงปรากฏรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกกันว่า กลอนเปล่า หรือ กวีนิพนธ์แบบไร้ฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์รูปแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับในวงวรรณกรรมของไทยสูงสุด เมื่อหนังสือรวมบทกวี ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ของ ซะการีย์ยา อมตยา ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์อิสระ ได้รับการคัดเลือกให้ชนะเลิศรางวัลซีไรต์ ในปี พ.ศ. 2553) หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ศิลาสีรุ้ง ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 02:46:58 PM .
(http://upic.me/i/ys/0992-11.jpg) (http://upic.me/show/57511774) FlipBookSoft.com/freedom_life.pdf BY…. Marisa คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร./ม. แม่โจ้ เรียนท่านมนต์ เมืองชัยภูมิ ทราบครับ สวัสดัครับท่านครับ ท่านมนต์ ป่วยเป็นอะไร รักษาสุขภาพด้วยนะครับ หายป่วยเร็วๆครับ จะได้มาบรรเลงกลอนสุภาพกันให้ครื้นเครงไปเลยครับนะครับท่านครับ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เมื่อเบิกโรงแล้ว ก็เริ่มเรื่องกันเลยครับ ท่านมนต์ครับท่านคงจำได้ดี « ส่งให้: มนต์ เมืองชัยภูมิ เมื่อ: 19 ธันวาคม, 2558, 03:38:34 AM » 1/19 ธ.ค. 58 เรียนท่านมนต์ เมืองชัยภูมิ ทราบครับ สวัสดีครับท่านครับ ท่านสบายดีนะครับ ครับผมได้อ่านบทร้อยกรองของท่านแล้ว รู้สึกได้ถึงความหลากหลายอารมณ์ ลุ่มลึก หลายแนวทางมากๆครับ ขอชื่นชมด้วยใจจริงครับ และบังเอิญว่าท่านมนต์ฯได้ให้ความกรุณามีบันทึกตอบรับการทักทายของเพื่อนสมาชิก และยังได้มีข้อความฝากไว้ว่า หากมีจุดผิดพลาดก็ขอรบกวนให้ชี้แนะให้ด้วย.. ครับมาถึงตรงนี้ผมก็ขอน้อมรับถือเป็นโอกาสดี เข้ามาชี้แนะในบางจุดให้ท่านทราบ เผื่อท่านอาจจะเผลอหลุดออกไป ซึ่งไม่ตรงกับฉันทลักษณ์บังคับของกลอนแปด เพื่อให้กลับเข้ามาในฉันทลักษณ์ของกลอนได้ ผมขออภัยต่อท่านด้วยใจจริงครับ และหากท่านไม่พึงประสงค์ที่จะได้รับการชี้แนะ ขอท่านโปรดแจ้งให้ทราบด้วยครับ เพื่อผมจะได้หยุดไว้ ไม่เข้ามารบกวนท่านในกรณีนี้อีกครับ และหวังเป็นที่สุดว่า จะได้รับบทร้อยกรองจากท่านมนต์ต่อไปเรื่อยๆครับ ขออภัยท่านเป็นที่สุด ด้วยความเคารพ และจิตคารวะยิ่งจากใจจริงครับ ขอบคุณครับ ศิลาสีรุ้ง 19ธ.ค.58 ☼ ☼ ☼ ข้างล่างต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างงานร้อยกรองครับ ต้นฉบับเดิมของท่าน และต้นฉบับเดียวกันที่ มีจุดชี้แนะครับ ขอบคุณครับ ชื่อกลอน...ร่องรอยที่กำลังเลือนหายไป.. ผมนำส่งให้ท่านจำนวน 6บทย่อย พร้อมจุดชี้แนะต่างๆ (ตามที่ท่านระบุตามความนำขอรับการชี้แนะ) และท่านมนต์ฯ ตอบรับผม ส่งให้ศิลาสีรุ้ง : 19 ธันวาคม, 2558, 12:28:36 PM » กราบขอบพระคุณมากนะครับ ที่ช่วยชี้แนะ ข้อผิดพลาด ผมเพิ่งเริ่มฝึกหัดเขียนใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์เลย ...... ...... ...... ขอคำแนะนำ และขอเรียนรู้จากท่านด้วยนะครับ ผมมือใหม่ วันนี้มีผิดผลาด แต่ผมก็เชื่อว่าสักวัน ต้องออกมาดีครับ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ผมก็ตอบรับท่านด้วยความยินดีครับ « ส่งให้: มนต์ เมืองชัยภูมิ เมื่อ: 19 ธันวาคม, 2558, 03:40:30 PM » 2/ 19 ธ.ค. 58 เรียนท่าน มนต์ เมืองชัยภูมิ ทราบครับ สวัสดีครับท่านครับ ท่านสบายดีนะครับ ช่วงนี้กทม. อากาศเย็น แต่ชัยภูมิ และโคราช คงนั่งผิงไฟกันแล้วครับ ครับ โคราช บ้านคุณพ่อผมอยู่โคราชครับ.. ครับเมื่อผมเรียนท่านให้ทราบเรื่องกลอนเป็นบางส่วนแล้ว ฉบับนี้ ผมขอเรียนอนุญาตคุยกับท่านเรื่อง โคลงสี่สุภาพนะครับ รบกวนท่านสักครั้งครับ ผมรับว่าสำนวนเนื้อเรื่อง จินตนาการของท่านมีความละมุนละไมนุ่มลึก ในการการรังสรรค์ถ้อยคำครับ หากได้มีการปรับ..ฉันทลักษณ์..ของโคลงสี่ฯแล้วก็จะยิ่งงดงามยิ่งขึ้น เกิดความภูมิใจเป็นที่สุด เพราะมีผู้ถามผมว่า ..โคลงสี่ฯเพราะตรงไหน... ไม่ง่ายเลยที่จะให้เขาเข้าใจ แต่คนที่พยายามเขียนโคลงสี่ฯขึ้นมาได้ นับเป็นความรัก ชอบ และพยายามที่สุด ที่จะสื่อออกไปจากหัวใจของผู้เขียนเอง ขอน้อมขอบคุณท่านเป็นที่สุดครับ ******************************************* โคลงสีฯ...ส่งตัวอย่างพร้อมจุดชี้แนะเพื่อแก้ไข จำนวน 6บทย่อย « เมื่อ: 17 ธันวาคม, 2558, 06:54:40 PM » โคลงสี่สุภาพ ชื่อ... สั่งเจ้า.. 6บท **************************************************************** ***************************************************************** จากนั้นผมก็รอดูผลการปรับแก้หลายวันแล้วก็ไม่มี แต่ท่านก็นำกลอนแปดขึ้นมาวางใหม่ ก็ดูมีทิศทางไปทาง + ก็พอยอมรับได้ครับ ท่านมนต์ครับ พวกเราต้องมีการติดตามผลงานที่ทำไป แต่ท่านไม่ได้ปรับแก้ไขใน 2 บท กลอน -โคลง ที่ท่านได้รับ ขณะเดียวกันท่านไปลงงานกลอนซ้ำบทเดิมที่เว็บอื่นอีก ก็เป็นบทกลอนที่ไม่ปรับแก้ไข แล้วท่านก็ไปขอความช่วยเหลือตามเว็บนั้นๆอีก ก็เป็นสิทธิ์์ของท่านครับ คนไทยเรียนร้อยกรองเหมือนกันทั้งประเทศ ฉันทลักษณ์เดียวกันครับ ไม่มีผิดเพี้ยน จะเพี้ยน จะผิด ก็เป็นแต่ละคนที่ผิด มิใช่ฉันทลักษณ์ผิด *************************************************************** คราวนี้ท่านมาขอคำชี้แนะ ผลงาน ..มอหินขาว..เรียกสันๆแล้วกันครับ ท่านครับ งานเก่าท่านยังค้างอยู่ 12 บท (กลอน -โคลง) แล้วยังจะขอต่อรองเพิ่ม..มอหินขาว..ครับ ท่านมนต์ครับ ขอท่านได้โปรดวาง..มอหินขาว..พิงไว้ก่อน แล้วหยิบของเก่าที่ผมให้มา มาปรับใหม่ก่อนดีกว่าไหมครับ ทำให้เสร็จเป็นเรื่องๆไปดีกว่านะครับ ครับคนเขียนกลอน ..ไม่ยากครับ ... แต่มันยากแน่นอน ที่จะปรับแก้ไขกลอน ท่านปลูกต้นไม้ไม่ยากครับ การดูแลให้งดงามแตกดอกออกผล ยากกว่านะครับ บอกท่านเลยว่า ที่ส่งให้ท่านนั้น เพียงแค่ปรับให้เป็นรูปทรงครับ ถ้าเจาะละเอียดลงไปอีก ในกลอน 6 บทนี้ จะพบมากกว่าที่ผมชี้จุดให้ครับ เว็บอารมณ์กลอน และทุกเว็บก็ส่งเสริมนักกลอนทุกท่านครับ ♣ ♣ ♣ ♣ เมื่อเรื่องดำเนินมาถึงตรงนี้ สมาชิกอาจจะตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ดูแลไปไหนหมด ไม่เข้ามาดูบ้างหรือ ครับ ก็เฝ้าดูกันอยู่ครับ และให้โอกาสแสดงความคิดเห็นกันได้บ้างครับ ในส่วนของผมก็นำเรื่องที่ได้ติดต่อพูดคุยชี้แนะกับท่านมนต์ฯ ก่อนหน้านี้หลายวัน มาแสดงไว้ให้ดูด้วยแล้วครับ ให้สมาชิกฯได้ทราบว่า มิได้เพิกเฉยครับ ♣ ♣ ♣ ♣ ครับก็หวังเป็นที่สุดครับว่า เราเปิดอกคุยกันแล้วท่านสบายใจขึ้นแล้วนะครับ ต่อว่านิดหนึ่ง ท่านมนต์พูดถึง ท่านบางม่วง ท่านมนต์พูดถึง ท่านเหนือเมฆ แต่ท่านลืมผมไปสะได้ครับ..แหะ..แหะ.. เย้าเล่นครับ.. ครับด้วยความปราถนาดีและจริงใจครับ ขอบคุณครับ ศิลาสีรุ้ง ๒๔ ธ.ค. ๕๘ ขอบคุณภาพจาก Internetครับ หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: มนต์ เมืองชัยภูมิ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 03:51:38 PM รับทราบทุกท่านครับ
และขอบทุกท่านที่ช่วยเหลือครับ อีกสองสามวันผมน่าจะได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว จะรีบไปปรับปรุงแก้ไขตามที่ทุกท่านแนะนำมาแน่นอนครับ ปล.นี่คือสาเหตุที่ยังไม่แก้ครับ ฃ :27: หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 05:15:44 PM สวัสดีครับ จนถึงขณะนี้แล้ว คาดว่าคุณมนต์ เมืองชัยภูมิ น่าจะเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "กลอน" กับ "กวีนิพนธ์" ได้พอสมควร ผมขอยกคำอธิบายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ปี ๒๕๔๒ เกี่ยวกับ "กลอน" และ "กวีนิพนธ์"มาให้ศึกษา นะครับ ๑. กฺลอน น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้วคําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด. * กลอน ใน กระทู้ของคุณมนต์ เมืองชัยภูมิ ก็หมายถึง "กลอนสุภาพ" นั่นเอง ๒. กวีนิพนธ์ น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง (คำประพันธ์ทุกประเภท) * มาถึงขั้นนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกับคำ "กวี" อีกลำดับหนึ่ง ดังนี้ ๓. กวี น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ ประเภท คือ (๑) จินตกวี แต่งโดยความคิด (๒) สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา (๓) อรรถกวี แต่งตามความจริง (๔) ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.) * ฉะนั้น "กวีนิพนธ์" คือคำประพันธ์ (หนังสือ) ที่แต่งโดย "ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์" ส่วน "กลอน" (รวมทั้งบทร้อยกรองต่างๆ ที่มีรูปแบบฉันทลักษณ์) คือ คำประพันธ์ที่แต่งโดยผู้สนใจในคำประพันธ์ประเภทนั้นๆ (ถึงตอนนี้คุณมนต์ เมืองชัยภูมิ น่าจะเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "กวีนิพนธ์" กับ "กลอน" แล้วนะครับ) * "กวี" ต้องให้ผู้อื่นยกย่อง มิใช่ตนเองคิดเองว่าเป็น "กวี" หนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ ในความหมายที่แท้จริง จึงหมายถึง หนังสือ ที่ประพันธ์โดยผู้รู้ผู้เปรื่องปราดเชี่ยวชาญในการประพันธ์ ส่วนที่เห็นๆกันนั้น จะถึงขั้นเป็นหนังสือกวีหรือไม่ อยู่ที่ผู้อ่านครับ การประกวดหนังสือกวีนิพนธ์ ที่มีการประกวดกันนั้น มิใช่เขียนเพียง ๑๐ - ๒๐ บท ในบางแห่งกำหนดไว้อย่างน้อยต้อง ๓๐๐ บท บางแห่ง ต้องไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ บท * ฉะนั้น บทร้อยกรองที่เห็นตามหน้านิตยสารบ้าง ตามเว็บฯ บ้าง ตามเฟชฯ บ้าง เขียนกันไม่กี่บท จะถึงขั้นเป็นบทกวีหรือไม่...ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้อ่านเช่นกัน มิใช่ผู้เขียนกำหนดเอง * กวีนิพนธ์ อาจประพันธ์ด้วยบทร้อยกรองชนิดเดียวกัน ตั้งแต่ต้นจนจบ หรืออาจแต่งแบบกวีวจนะ (โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย) หรือ อาจแต่งด้วยบทร้อยกรอง ๒ - ๓ ชนิด สลับกัน ก็ได้ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องราว สำนวนโวหาร ถ้อยคำที่ใช้ คุณค่าและประโยชน์ที่ผู้อ่านได้รับในแง่มุมต่างๆ มิได้ขึ้นอยู่กับชนิดของบทร้อยกรองใดๆ ด้วยความปรารถนาดีครับผม สุวัฒน์ ไวจรรยา * ผมไม่ได้พูดถึง "กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์" ที่เริ่มนิยมกัน เพราะ ไม่อยู่ในความสนใจของผมครับ * อนึ่ง ผมได้จัดพิมพ์หนังสือรวมบทร้อยกรองมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า ๑๐ หัวเรื่อง (ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลการประกวดหนังสือดีเด่น ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รวม ๔ ครั้ง) ยังไม่เคยเรียกหนังสือของตนเองว่า "กวีนิพนธ์" ครับ / สุวัฒน์ หัวข้อ: Re: ขออนุญาตสอบถามเป็นความรู้ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ❀ Sasi ❀ ที่ 24 ธันวาคม, 2558, 05:46:17 PM :smiley01:
ด้วยความเคารพสมาชิกทุกท่าน เนื่องจากกระทู้นี้ได้ให้เวลามาพอสมควรแล้ว และทางทีมงานได้พิจราณาว่าการชี้แนะของคุณอา"สุวัฒน์ ไวจรรยา" เป็นที่กระจ่างและเหมาะสมแล้ว ........................................ อนึ่ง เพื่อเป็นการไม่ให้เสียบรรยากาศของเพื่อนนักกลอนในเว็บไซต์"อารมณ์กลอน"แห่งนี้ กระทู้นี้จึงขออนุญาตล็อกไว้ เพื่อเป็นการรักษาบรรยากาศของการเขียนกลอนไว้นะคะ!! ละอองดิน :aab15: <<<ก่อนหน้า :18: (http://aromklon.com/index.php?topic=4661.0) |