หัวข้อ: โคลงโบราณนันททายี,มหานันททายี,นันททายีแผลง เริ่มหัวข้อโดย: พิณจันทร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์, 2559, 04:56:48 PM (https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xpt1/v/t1.0-0/p526x296/12688280_208794429475709_3105340752527756887_n.jpg?oh=e2afb840faec2409ef1fde687ef690e3&oe=576B5D22)
(โคลงโบราณนันททายี,มหานันททายี,นันททายีแผลง) (โคลงโบราณนันททายี) ๐ สุริยาเจิดจ้า...........ฉายแสง สาดส่องแสดงยาม.....รุ่งเช้า มวลหมู่แมลงบิน.........เริงร่า เกาะกิ่งใบหยอกเย้า......งามตา . (โคลงโบราณมหานันททายี) ๐ สุขอุรายิ่งแล้ว...........ยามมอง แสงสาดเรืองรองดวง....ดอกไม้ สีสรรเนืองนองสวย........งามเด่น หอมชื่นจิตยามใกล้.......ลมพัดกลิ่นโชย . (โคลงโบราณนันททายีแผลง) ๐ โบกโบยลมพัดอ้อน....มองหา สุมาลีพาจิต..................อุ่นเอื้อ ดุจปรารถนาใน..............มิตรภาพ ผูกพันทุกเมื่อด้วย..........ดอกไม้ไมตรี . พิณจันทร์ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (ขอผู้อ่านทุกท่านได้โปรดชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ) ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,, ๐ "โคลงมหานันททายี"เป็นโคลงแบบหนึ่งในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี มีโครงสร้างฉันทลักษณ์คล้ายโคลงสี่สุภาพ นิยมมีคำสร้อย เฉพาะบาทท้ายและมีการส่งสัมผัสดังนี้… ๐ คำที่ ๗ ของบาทแรกไปสัมผัสกับคำที่๔ ตรงบาทที่๒และ๓ ๐ คำที่๗ของบาท๒ไปสัมผัสกับคำที่๕ของบาท๔ ๐ ไม่มีการบังคับตำแหน่งคำเอก คำโท ๐ หากไม่มีการเติมคำสร้อย จะเรียกว่า “นันททายี” ๐ หากในบาทท้ายหากย้ายคำสัมผัสไปยังคำที่๔ จะเรียกว่า “นันททายีแผลง” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ . "ร้อยกรอง คะนองเพลงยาว" ต่อปากต่อคำ นำขบวนโดย"เจ้าคุณอู๋" |