(http://upic.me/i/3n/13932936_1045760245519668_2744177361885711121_n.png) (http://upic.me/show/59831839)
(http://upic.me/i/yf/57-alp.png) (http://upic.me/show/39528466)
พระอริยบุคคล ๔ ประเภท(http://upic.me/i/0c/usbi6.jpg) (http://upic.me/show/59631539)
๑. พระโสดาบัน ละสังโยชน์ในข้อ ๑ - ๓ ได้ ยังต้องกลับมาเกิดอีก แต่ไม่เกิน ๗ ชาติแล้วจะบรรลุนิพพาน คือ ได้เป็นพระอรหันต์ ๒. พระสกิทาคามี ละสังโยชน์ในข้อ ๑ - ๓ ได้ และจิตคลายจากราคะ โทสะ โมหะ ได้มากขึ้น จะเกิดอีกเพียงครั้งเดียวแล้วจะบรรลุนิพพาน ๓. พระอนาคามี ละสังโยชน์ในข้อ ๑ - ๕ ได้ บรรลุชั้นนี้แล้วจะเลิกการครองเรือน หันมา ประพฤติพรหมจรรย์ ละสังขารแล้วจะไปเกิดในพรหมโลก ๔. พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ข้อ เมื่อละสังขารแล้วจะไม่กลับมาเกิดอีก คือ นิพพาน ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ หรือปฏิเวธธรรม ทำให้ได้บรรลุ มรรคผล นิพพาน ตั้งแต่ ชั้นต้นไปตามลำดับ ดังนี้
๑. โสดาปัตติมรรค คือ มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน เป็นเหตุให้ละกิเลส สังโยชน์ ในข้อที่ ๑ - ๓ ได้ ๒. โสดาปัตติผล คือ ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน ๓. สกทาคามิมรรค คือ มรรคที่มีคุณธรรมสูงกว่าพระโสดาปัตติมรรค ทำให้ละกิเลส ข้อ ๑ - ๓ ได้ และราคะ โทสะ โมหะ ในจิตเบาบางมากแล้ว ๔. สกทาคามิผล คือ ผลที่พระสกทาคามิผลพึงเสวย เพราะทำให้ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ๕. อนาคามิมรรค คือ มรรคที่ละกิเลสอย่างหยาบ ข้อ ๑ - ๕ ได้ ๖. อนาคามิผล คือ ความสุขที่พระอนาคามีได้รับเพราะละกิเลสอย่างหยาบได้ ผู้บรรลุพระอนาคามีแล้วจะบวช ไม่มีใครอยู่ในเพศฆราวาสเลย ๗. อรหัตมรรค คือ ญาณเป็นเครื่องละกิเลสอย่างละเอียด หรือสังโยชน์ ข้อ ๖ - ๑๐ รวมทั้งข้อ ๑ - ๕ ได้โดยสิ้นเชิง ๘. อรหัตผล คือ ผลที่พระอรหันต์พึงได้รับเพราะละการยึดมั่นถือมั่นในกิเลส มรรค คือ ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นทางให้เข้าถึงความเป็นอริยบุคคล
ผล คือ ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค หรือ ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเอง ในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้น ๆ
นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ที่บรรลุคุณธรรม ๘ ข้อนี้ ตั้งแต่พระโสดาปัตติมรรคขึ้นไป เรียกว่า พระอริยบุคคล หากบรรพชาเรียกว่า พระอริยสงฆ์
สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ 5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่ 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย 8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน 10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
|
|
|
(http://upic.me/i/v5/u6000.gif) (http://upic.me/show/59664279)
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา(http://upic.me/i/71/or1-1.gif) (http://upic.me/show/59694778)