เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..

บทกลอนไพเราะ => กลอนให้แง่คิด => ข้อความที่เริ่มโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 25 มิถุนายน, 2564, 11:51:14 AM



หัวข้อ: ** สุนทรภู่ กวีเอกของโลก **
เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 25 มิถุนายน, 2564, 11:51:14 AM

(https://i.ibb.co/DVxS1sh/image.png) (https://ibb.co/dWdzf1F)


หัวข้อ: Re: ** สุนทรภู่ กวีเอกของโลก **
เริ่มหัวข้อโดย: สุวัฒน์ ไวจรรยา ที่ 25 มิถุนายน, 2564, 12:03:33 PM

** ประวัติและผลงานโดยย่อ ของท่านสุนทรภู่ **
- - - - - - - - - - -
- เกิดวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙  เวลา ๒ โมงเช้า  ในสมัยรัชกาลที่ ๑ 
บ้านอยู่ที่บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ปัจจุบันเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อย
บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จ.ระยอง ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองอื่น  บิดาตั้งชื่อให้ว่า ภู่
- พ.ศ.๒๓๕๙  รับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ ๒   ก้าวหน้าตามลำดับ มีบรรดาศักดิ์ หลวงสุนทรโวหาร
- พ.ศ. ๒๓๖๙  ออกบวช  ในสมัยรัชกาลที่ ๓
- พ.ศ.๒๓๘๕ สุนทรภู่ลาสิกขาบท แล้วได้รับใช้ในด้านงานวรรณคดี ให้กับ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์
(ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)
- พ.ศ.๒๓๙๔ ในสมัยราชกาลที่ ๔ สุนทรภู่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร
มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร
- พ.ศ.๒๓๙๘ ถึงแก่กรรม (ในสมัยรัชกาลที่ ๔)
ผลงานของท่านสุนทรภู่ ได้แก่
นิราศ – นิราศเมืองแกลง, นิราศพระบาท, นิราศภูเขาทอง, นิราศวัดเจ้าฟ้า, นิราศอิเหนา, นิราศสุพรรณ
นิราศพระประธม, นิราศเมืองเพชร, รำพันพิราป
นิทาน – โคบุตร, พระอภัยมณี, พระไชยสุริยา, ลักษณวงศ์, สิงหไตรภพ
สุภาษิต – สวัสดิรักษา, เพลงยาวถวายโอวาท, สุภาษิตสอนหญิง
บทละคร – อภัยนุราช
บทเสภา – ขุนช้างขุนแผน, เสภาพระราชพงศาวดาร
*วรรณคดีสโมสร ยกย่องให้ เรื่องพระอภัยมณี เป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน
*ยูเนสโก ประกาศเกียรติคุณเป็นกวีเอกของโลก เมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๙
- - - - - - - - - - - - - -
(ศึกษาค้นคว้าเรื่องของท่านสุนทรภู่โดยละเอียดได้ทาง อินเทอร์เน็ต ครับ)


หัวข้อ: Re: ** สุนทรภู่ กวีเอกของโลก **
เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 26 มิถุนายน, 2564, 10:19:00 AM

@ น้อมนบเคารพครู
สุนทรภู่ปราชญ์กาพย์กลอน
รอบรู้นำเล่าสอน
โลกละครตระการตา

@ สุนทรภู่ระลึกให้......จุ่งดี
อย่าแต่งเพียงปะรำพิธี...เทิดไว้
โคลงท่านอ่อนในวจี....ก็เปล่า
จารจดปรากฏให้.......ใช่ท้า-ท่านสอน