หัวข้อ: เบญจางคอักษร เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 07 พฤษภาคม, 2568, 04:30:16 PM *** รัก เมตตา *** "กลอนแปด ๒-๓-๓" ความรัก ความต้องการ "ต่าง"ชัดเห็น ต่างขั้ว ตรงประเด็น หน,ผลแสวง ความรัก มุ่งตัดตน ดลสำแดง "ต้องการ" ฤทธีแผลง เพื่อ"ตัวตน" -------- "วังสัฏฐฉันท์ ๑๒" (ลค ลคค....ลลค ลคลค) @ จะรัก และรับใช้ สละไซร้ สิกายกมล มุมุ่ง ประโยชน์ผล ปฏิบัติ "ระทม"สบาย @ มิท้อ ผจญพาล จะมุหาญ สยบทะลาย ปะภัย ขจัดหาย สิริสบ สงบนิรันดร์ -------- "โคลงห้าพัฒนา" โดย ทีปกร (จิตร ภูมิศักดิ์) @ มั่น! ทุกครั้ง.....หายใจ กิจโปร่งใส.......ชัดแจ้ง กาลสถานใด.....ธรรมมั่น จิตไร้แล้ง..........เพื่อชน @ รักรับใช้.........สกลผอง ธรรมครรลอง.....ทั่วถ้วน กายจิตปอง........ศานติ สร้างสรรค์ล้วน...ประโยชน์ครัน สกล ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น -------- "ร่ายสุภาพ" @ รักคือธรรม์ แท้เที่ยง บ่เบี่ยง เพราะฤทธิ์ อวิชชา ฤ ตัณหา โลภโกรธหลง รักมั่นคง สันติสงบ เคารพ สิทธิ์ศักดิ์ศรี เมตตามี ต่อผู้ ร่วมโลกย์ ทุกข์สุขสู้ สลัดพ้น”ตัวตน” -------- "กาพย์ตุรงคธาวี" (๑ บท มี ๔ บาท - บาท ๑ และ ๓ มี ๓ วรรค วรรคละ ๓,๔,๕ พยางค์ - บาท ๒ และ ๔ มี ๔ วรรค วรรคละ ๓,๕ ; ๓,๕ พยางค์) @ ดลเมตตา...เที่ยงธรรมมรรคา ชีวารับใช้ผอง - ณ ทุกที่...........สามัคคีปรองดอง มุสรรค์สร้าง...เป็นแบบอย่างทุกกาล - รักรับใช้.........ทัดเทียมเสมอให้ อหิงสาทุกสถาน - อดทนมุ.........หมายลุกรรมนำ"พาล" สู่สุขศานต์....สวรรค์ ณ แผ่นดิน * ขอบคุณ คุณ ยอดยรรยง เยี่ยมเยือน (บ้านกลอนไทย) ที่ ริเริ่ม ครับ * หัวข้อ: Re: เบญจางคอักษร เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 03 มิถุนายน, 2568, 11:39:23 AM สติ ปัญญา โคลงสี่สุภาพ @ ผองข้าฯ ประณตน้อม...ภูมี โปรดสติปัญญาดี..............เพื่อรู้ เข้าใจเชี่ยวชาญคดี..........ไขกระจ่าง ประโยชน์แก่ชาวชนผู้........ทุกข์ท้นพ้นเข็ญ ร่ายสุภาพ @ หนุ่มสาว วาดหวังใด "พระ" อวยชัย ประจักษ์ "เห็น" "เย็น" มั่น ในธรรมา สติปัญญา ดาวใจ ไปเถอะ ! ไปนำทาง แผ้วถาง รัก-รับใช้ ผู้เจ็บ ผู้หมองไหม้ สุขถ้วนทั่วกัน..นั้นนา วรรษาชุ่มชื่นฉันท์ ๑๕ (ลหุ ๑๖) คค ลคค ลลลค .. ลลลค ลค @ ปัญญา ฝึกฝน พละประสิทธิ์ ....ผลิระอุจิต ระรื่น มรรคา พิสิฐธรรม นำมน(ะ)ฟื้น ....สติ สว่าง ไสว @ ปัญญา ตระหนักซึ่ง พิริยะไซร้ ....สติ ชะภัย กิเลส ตัดตน ขจัดพ้น มรณะเหตุ ...มน(ะ)ระรื่น สราญ กาพย์กลอนฉบัง ๑๖ @ ทุกวาร ทุกสถาน ขณะนี้...ธ โปรด ปรานี.........ตระหนักรู้ รักพลี ตอบแทน กายใจ จักไม่ ผูกแขวน.........ยึดติด โลกย์แดน.....ตัวตน "กู"แกน แสนหวง บั่นสะบั้น กิเลส ตัณหา.........โลภหลง โกรธา........สติปัญญา เบากลวง แท้"รัก" สรรพสิ่ง ทั้งปวง.......รวยเกียรติ ผลพวง.....มอบสิ้น ดั่งดวง สุริยา กลอนห้า ๓-๒ อย่าหูเบา เชื่อง่าย อย่าดูดาย สืบ! หนา กาลามสูตร วิชชา สติปัญญา จงปอง หัวข้อ: Re: เบญจางคอักษร เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 04 มิถุนายน, 2568, 05:06:36 PM ร่าย ดั้น @ เทพไท้ข้าฯน้อมนบ กราบเคารพโปรดพร ซึ่งสอนให้รู้ใช้ ปัญญาได้เกิดผล ดล ร่ายดั้น ไพเราะ เหมาะควรแก่กาลสถาน ...แลบุค- คลเฮย วอนมุ่งหวังให้ได้...ดั่งประสงค์ อินทรลิลาตฉันท์ ๑๑ @ จง"รัก" มิเลือกข้าง......."อำนาจ"อ้าง อ๊ะ"คนดี" แท้จัก สมัครพลี................ผลิอารี มุแบ่งปัน โคลงสี่สุภาพ @ "ฅน"พลันเป็น"มนุษย์"นั้น .....ด้วยกระทำ ถือ"รัก เมตตา"นำ .....ประจักษ์แจ้ง อำนาจ เกียรติ รวย ชำ .....เพาะกิเลส เภทเฮย ตระหนัก"เหตุ"ไยยังแล้ง .....ไป่สร้าง"รัก"ฉาน กาพย์ สิงห์ริมถนน ๑๑ (กาพย์ยานี ๑๑ เพิ่ม - สัมผัสอักษรของคำที่ ๒ คำที่ ๕ และคำที่ ๖ - สัมผัสอักษรของคำที่ ๘ คำที่ ๑๑) @ เมตตา เลิศล้ำเติม...แต่งแต้มเสริม "รัก"สืบสาน "รัก"ก้อง กังวาลกาล....ก่อเจือจาน "ให้อภัย" จง กลอนห้า ๑-๒-๒ อย่า เขลา หู เบา @ อย่า ขาดสติ ปัญญา เขลา อวิชชา ชั่วหลง หู ตาสอง ตรอง"ตรง" เบา อบาย"ธง" ยงเสมอ หัวข้อ: Re: เบญจางคอักษร เริ่มหัวข้อโดย: share ที่ 08 มิถุนายน, 2568, 07:23:19 PM ร่ายสุภาพ @ วันใหม่มี พระสัญญา...ทุกเวลา มีหวัง มืดบดบัง มีแสง...สิ้นเรี่ยวแรง มีพระพร ทรงอาทร ทุกเมื่อ...ข้าฯเชื่อแน่ โปรดให้ กลับสู่ "บ้านแท้" ไซร้...เมื่อสิ้นเสร็จงาน ฉันท์ไสว ๓ ผัง : ค ล ค ... ค ล ค @ ฉันมิเก่ง...แต่ก็หาญ มั่นมุกานท์...แกร่งกระทำ @ ฉันท์ไสว....ใจจะนำ "รัก"ผลิค้ำ...ทุกสถาน กาพย์โกสุม ๒๔ ริเริ่ม : คมทวน คันธนู (ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร) @ รักเมตตา การุญผอง ธรรมครรลอง รับ-เจือจาน หล้าสันติ ผลิเบิกบาน จำเริญฉาน สวรรค์แดนดิน โคลง หนึ่งคำสุภาพ (บาทแรก ของโคลงสี่) (ส่ง-รับสัมผัส แบบ ลิลิต) @ ธรรม นำถวิล! เช้าค่ำ.....ปฏิบัติ @ ชัด ณ กาลสว่างหล้า.....หฤหรรษ์ @ ผู้ทุกข์ มั่น! รอดพ้น.......พาล! พลัน @ สุขสันต์ใน"รัก" แจ้ง......"แบ่งปัน" กลอนเจ็ด (๒-๓-๒) @ คืนวัน หมั่นพิเคราะห์ เจาะจิต ถูกผิด คิดปรับแก้ กรองฝัน มิตรแท้ แน่แนะชี้ ช่วยพลัน เธอฉัน มั่น!เขยื้อนหล้า สู่ธรรม |