จากอำเภอ ทุ่งช้าง น่าน ไปเมืองหงสา ลาว
ระยะทาง ประมาณ 80-85 กม. ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชม.
(ไม่นับเวลาที่ด่านทั้งสอง ประมาณ 45 นาที - 3 ชม.
ถ้าระบบ comp.เรา ล่ม 555)โครงการเหมืองแร่หงสา มีทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2539 และเริ่มเข้าก่อตั้งบริษัทในพื้นที่ปี พ.ศ. 2545 โครงการประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรก การทำเหมืองแร่เพื่อป้อนลิกไนต์ให้โรงไฟฟ้า ส่วนที่สอง โรงไฟฟ้าถ่านหิน รัฐบาลลาวได้เซ็นสัญญาสัมปทานสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทหงสาเพาเวอร์เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่า 847 พันล้านกีบ
เหมืองแร่และโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสาตั้งอยู่ที่เมืองหงสา ของจังหวัดไชยบุรี ในประเทศลาว ห่างจากใจกลางเมืองหงสาประมาณ 10 กิโลเมตร และห่างจากชายแดนไทย ที่จังหวัดน่านเพียง 30 กิโลเมตรเท่านั้น และห่างจากเวียงจันทน์กว่า 300 กิโลเมตร ลักษณะของเหมืองเป็นเหมืองเปิดคล้ายกับเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง มีพื้นที่เหมืองประมาณ 76.2 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เหมืองมีลักษณะเป็นป่า มีชุมชนที่จะต้องโยกย้าย จำนวน 6 หมู่บ้าน จำนวน 400 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ
การทำเหมืองถ่านลิกไนต์ มีผู้ถือหุ้นคือ ลาวโฮลดิ้งสเตสเอนเตอร์ไพส (LHSE) ถือหุ้น 25% ในกิจการเหมืองลิกไนต์ และบริษัท บ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (BPP) ถือหุ้น 37.5% ส่วนที่เหลือเป็นของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) คือ ถือหุ้น 37.5% ส่วนที่สอง โรงไฟฟ้าลิตกระแสไฟฟ้า ลาวโฮลดิ้งสเตสเอนเตอร์ไพส (LHSE) ถือหุ้น 20% และบริษัทบ้านปูเพาเวอร์ จำกัด (BPP) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) ถือหุ้น 40% มีการลงนามข้อตกลงกับบริษัท การก่อสร้างโรงไฟฟ้า 302 พันล้านกีบ (3.7 พันล้านดอลลาร์) มีกำหนดที่จะเริ่มต้นภายในสิ้นปีพ.ศ. 2553
โรงไฟฟ้าหงสาจะเป็นโรงไฟฟ้าลิกไนต์แห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในลาว มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,878 เมกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ 60 ตารางกิโลเมตร ตามข้อตกลงในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2550 ระหว่างรัฐบาลลาวและไทย ลาวจะเริ่มส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า 7,000 เมกะวัตต์ ให้ประเทศไทยภายในปีพ.ศ. 2553 สำหรับโรงไฟฟ้าลิกไนต์หงสานั้นมีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้ประเทศไทย โดยบริษัทหงสาเพาเวอร์ จำกัด (HPC) ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเดือนเมษายนพ.ศ. 2553 จำนวน 1,473 เมกะวัตต์ต่อปี เป็นเวลา 25 ปี ทันทีที่โรงไฟฟ้าสามารถเดินเครื่องในปีพ.ศ. 2558 กำลังการผลิตที่เหลือระหว่าง 100-170 เมกะวัตต์ จะถูกจ่ายให้กับการไฟฟ้าลาว Electricite du Laos (EDL) เพื่อใช้ภายในประเทศ กับส่วนที่เหลือจะถูกใช้ในโครงการการทำเหมืองถ่านหิน และการดำเนินงานผลิตไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าหงสาถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 จะเริ่มจ่ายไฟจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 จำนวน 982 เมกะวัตต์ ภายในเดือนพฤษภาคม 2558 และโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 3 จะจ่ายไฟฟ้า 491 เมกะวัตต์ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/coal/true-cost-of-coal/coal-map/coal_lao/