Username:
Password:
หน้าแรก
ห้องสนทนา
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ..
>>
บทกลอนไพเราะ
>>
กลอนให้แง่คิด
>>
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
หน้า:
1
[
2
]
3
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน (อ่าน 19341 ครั้ง)
0 สมาชิก
และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#15 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:20:00 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระเจ้าอุเทนได้อัครมเหสี
** ครั้นถึงกาลวันหนึ่งพึงประจักษ์
มีงานนักษัตรฤกษ์เอิกเกริกโข
กุลธิดาทั้งหลายต่างหมายโชว์
แต่งตัวโก้อวดกันในวันงาน
** สามาพร้อมบริวารในกาลนั้น
ได้พากันไปอาบน้ำสนุกสนาน
ท้าวอุเทนทอดพระเนตรที่พระลาน
เห็นนงคราญพอพระทัยในพธู
**ทรงตรัสถามอำมาตย์ราชบริพาร
มีถิ่นฐานนอกในวังช่างงามหรู
เมื่อรับทราบเรื่องราวของโฉมตรู
จึงรับสั่งราชครูให้จัดการ
** รีบส่งข่าวไปให้ท่านเศรษฐี
ราชครูจึงมีราชสาส์น
ไปบอกท่านทันทีมิช้านาน
มอบสามาจากบ้านเข้าสู่วัง
** ท่านเศรษฐีปฏิเสธไม่ยอมให้
ตามที่ได้ทรงมีความมุ่งหวัง
ท้าวอุเทนทรงกริ้วเหลือกำลัง
จึงรับสั่งให้พันธนาการ
** ปิดบ้านเรือนไม่ให้เข้าออกได้
มัดเศรษฐีปล่อยไว้ภายนอกบ้าน
บังเกิดทุกข์สุดแสนทรมาน
เพราะขัดคำสั่งการพระราชา
** สามาวดีกลับมาพาใจหาย
นางจึงร้องโวยวายคร่ำครวญหา
ใครทำร้ายท่านพ่อจงบอกมา
ฉันจะได้ต่อว่าให้สาใจ
** ท่านเศรษฐีรีบบอกแก่บุตรี
พระราชาทรงมีรับสั่งให้
ส่งลูกเป็นชายาที่วังใน
ปฏิเสธท่านไปจึงลงทัณฑ์
** ฝ่ายสามาบอกว่าพ่อพลาดนัก
ที่ไม่มอบลูกรักตามหมายมั่น
ขัดพระประสงค์ได้อย่างไรกัน
องค์ราชันมีอำนาจเหนือแผ่นดิน
** ท่านพ่อต้องกราบทูลให้ทรงทราบ
ว่าไม่ได้หยามหยาบหรือดูหมิ่น
มิบังอาจขัดคำสั่งจอมบุรินทร์
จะขอมอบยุพินตามต้องการ
** ท่านเศรษฐีทำตามที่นางบอก
เพื่อต้องการแสดงออกอย่างกล้าหาญ
ได้ส่งข่าวไปทูลพระภูบาล
จะขอมอบเยาวมาลย์ด้วยยินดี
** ท้าวอุเทนโสมนัสเป็นยิ่งนัก
ทรงแต่งตั้งเป็นอัครมเหสี
ส่วนบริวารของนางสามาวดี
เป็นบริวารเหมือนที่เคยเป็นมา
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#16 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:25:11 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระเจ้าอุเทนถูกจับ
** จะขอกล่าวถึงเมืองอุชเชนี
จันฑปัชโชตจอมบดีมีสง่า
มีธิดานางหนึ่งงามโสภา
ชื่อ “วาสุลทัตตา” ยอดนารี
** ณ วันหนึ่งจึงตรัสกับอำมาตย์
บรรดาผู้ครองราชย์ในโลกนี้
มีสมบัติมหาศาลล้นปฐพี
ใครที่ไหนจักมีเท่าเทียมเรา
** ฝ่ายอำมาตย์กราบทูลแถลงไข
ไม่มีใครเทียบได้สมบัติเขา
กับอุเทนราชาอย่าดูเบา
สมบัติเราเปรียบได้ดังหนวดแมว
** พระราชาตรัสว่าถ้าอย่างนั้น
ต้องรีบจับตัวมันอย่างแน่แน่ว
รีบจัดการเร็วไวไปตามแนว
เรียบร้อยแล้วรายงานอย่าช้าพลัน
** หมู่อำมาตย์กราบทูลน่าจะยาก
คงลำบากเพราะอุเทนเก่งมหันต์
บังคับช้างด้วยพิณหัสดีกันต์
คู่ต่อสู้ไม่มีวันชนะเลย
** พระราชาตรัสว่าถ้าอย่างนั้น
ใครสามารถจับมันจงเปิดเผย
มีวิธีอย่างไรจงเอื้อนเอ่ย
จับมันเป็นเชลยอย่าช้าที
** อำมาตย์จึงเปิดเผยวิธีการ
ทำช้างไม้ตระการอย่างถ้วนถี่
เห็นแล้วเหมือนช้างจริงอย่ารอรี
เอาไปล่อภูมีให้ออกมา
** เผลอเมื่อใดเข้าไปจับมัดไว้
เป็นวิธีจับได้แน่หนักหนา
จอมบดินทร์สั่งการไม่รอรา
ตามอุบายที่กล่าวมาอย่าแชเชือน
** แล้วแผนการพิชิตอุเทนราช
องค์จอมปราชญ์เกิดขึ้นอย่างเชือดเฉือน
นำจุดเด่นมาใช้ไม่ลืมเลือน
เป็นเสมือนดาบสองคมล้มราชันย์
** นำช้างไม้วางไว้ใกล้นคร
ใช้หลอกหลอนให้หลงผิดคิดใฝฝัน
สะกดช้างด้วยมนต์ของเทวัญ
เพื่อได้มันเป็นบริวารสำราญใจ
** ฝ่ายพรานป่าแห่งเมืองโกสัมพี
กราบทูลจอมบดีผู้เป็นใหญ่
ให้เสด็จไปจับช้างโดยเร็วไว
องค์ท้าวไทจงเสด็จอย่าช้าพลัน
** อุเทนราชทราบข่าวไม่รอช้า
รีบไปหาช้างไม้ในไพรสัณฑ์
บริวารติดตามมากมายครัน
มุ่งหน้ากันไปจับช้างที่กลางดง
** จันฑปัชโชตทราบข่าวท้าวอุเทน
จึงได้เกณฑ์ทหารนำมาส่ง
ให้ซุ่มอยู่ข้างทางกลางไพรพง
คอยจังหวะจับองค์พระราชา
** ท้าวอุเทนไม่รู้กลอุบาย
จึงมุ่งหมายจับช้างไม่กังขา
ล่วงเข้าสู่วังวนแห่งอัปรา
เกณฑ์ชะตาเป็นไปตามผลกรรม
** พบช้างไม้จึงเริ่มบรรเลงพิณ
กล่อมช้างไม่ให้ดิ้นวิ่งถลำ
จะจับได้ง่ายดายเหมือนเคยทำ
ช้างระยำวิ่งหนีไม่สนใจ
** ด้วยอุบายสร้างสรรค์อันฉลาด
ท้าวอุเทนไม่สามารถจับช้างได้
เพราะมีคนเข้าไปอยู่ข้างใน
คอยดันช้างหนีไปเหมือนช้างจริง
** ท้าวอุเทนไม่รอช้าขึ้นม้าทรง
ด้วยประสงค์จับช้างไม่อ้อยอิ่ง
ควบม้าตามเร็วรี่มิประวิง
ทุกทุกสิ่งเป็นไปตามอุบาย
** จัณฑปัชโชตให้สัญญาณทหารจับ
จอมบดินทร์ตกอับตามเป้าหมาย
เหล่าทหารได้พันธนากาย
นำถวายเหนือหัวอย่างใจเย็น
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#17 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:30:02 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระเจ้าจัณฑปัชโชตให้ลูกสาวเรียนมนต์
** จันฑปัชโชตโปรดสั่งให้ขังไว้
ทรงสำราญในใจไม่ฆ่าเข่น
ครบสามวันอุเทนสุดลำเค็ญ
ทำอย่างไรก็ไม่เห็นลงมือทำ
** จึงตรัสถามเสนาพฤฒามาตย์
ว่าจอมราชเสือร้ายหมายขย้ำ
ปล่อยเฉยไว้ทำไมให้ระกำ
ควรจะทำสิ่งใดไยเฉยเมย
** จงสั่งการให้ทหารรีบเข่นฆ่า
ขอจงโปรดเถิดหนาอย่าทำเฉย
อันวิสัยกษัตริย์ย่อมคุ้นเคย
ไม่พึงปล่อยเชลยโดยเปล่าการ
** รีบสั่งฆ่าอย่าช้าให้หงุดหงิด
ไม่เสียดายชีวิตจงประหาร
เป็นกษัตริย์แพ้พ่ายให้ร้าวราน
ขืนอยู่ไปไม่สำราญต้องอับอาย
** จัณฑปัชโชตรู้ข่าวได้กล่าวว่า
จะปล่อยท่านไม่ฆ่าให้สูญหาย
แต่ท่านต้องมอบมนต์ประจำกาย
ให้แก่เรานะสหายได้ไหมเอย
** อุเทนราชกล่าวว่าข้าไม่ขัด
จะรีบจัดมอบให้ใคร่เฉลย
ต้องไหว้เราก่อนเรียนอย่าละเลย
เคารพกฎไม่เฉยเมยยอมให้มนต์
** จัณฑปัชโชตได้ฟังจึงนั่งนิ่ง
ทำไม่ได้จริงจริงใจสับสน
ถ้าอย่างนั้นเราจะฆ่าให้วายชนม์
เมื่อมอบมนต์ให้เราจักปล่อยไป
** อุเทนฟังนั่งคิดพิจารณา
ยอมถูกฆ่าดีกว่าเป็นไหนไหน
ชาติกษัตริย์ไม่ยอมก้มให้ใคร
รักษาไว้เกียรติยศปรากฏนาม
** จัณฑปัชโชตหาวิธีที่จะเรียน
จึงคิดเพียรออกอุบายมาไต่ถาม
ถ้าคนอื่นยอมไหว้ใคร่รู้ความ
ท่านจะยอมทำตามที่กล่าวมา
** หรืออย่างไรจงเฉลยเอ่ยให้รู้
รอฟังอยู่โปรดบอกด้วยเถิดหนา
ใครก็ตามที่ไหว้ด้วยศรัทธา
สอนมนตราให้ได้ดังใจปอง
** จัณฑปัชทรงดำริที่จะให้
ธิดายอดยาใจนั่งในห้อง
เรียนรู้มนต์จากอุเทนมาครอบครอง
แล้วเรียนต่อเป็นทอดสองจากธิดา
** ท้าวเธอจึงได้บอกลูกที่รัก
ว่าพ่อจักให้เรียนมนต์และคาถา
จากชายเป็นโรคเรื้อนทั่วกายา
เจ้าจงอย่าใกล้ชิดจะติดมัน
** แล้วทรงหลอกจอมราชชาติกษัตริย์
เราได้จัดหญิงค่อมแม่จอมขวัญ
มาเรียนรู้มนตราสารพัน
เป็นประจำทุกวันจนเชี่ยวชาญ
** จึงจำเป็นกั้นม่านไม่ให้เห็น
กลัวจะเป็นอุปสรรคมาล้างผลาญ
ทำให้เรื่องเรียนมนต์ต้องเสียการ
ใช้เวลาเนิ่นนานเกินจำเป็น
** การเรียนมนต์เป็นไปตามครรลอง
พระธิดาเนื้อทองมองไม่เห็น
ครูผู้สอนมาดแมนแสนลำเค็ญ
เพราะเนื้อเย็นนั่งอยู่ในม่านบัง
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#18 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:31:41 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระเจ้าจัณฑปัชโชตให้ลูกสาวเรียนมนต์
** จันฑปัชโชตโปรดสั่งให้ขังไว้
ทรงสำราญในใจไม่ฆ่าเข่น
ครบสามวันอุเทนสุดลำเค็ญ
ทำอย่างไรก็ไม่เห็นลงมือทำ
** จึงตรัสถามเสนาพฤฒามาตย์
ว่าจอมราชเสือร้ายหมายขย้ำ
ปล่อยเฉยไว้ทำไมให้ระกำ
ควรจะทำสิ่งใดไยเฉยเมย
** จงสั่งการให้ทหารรีบเข่นฆ่า
ขอจงโปรดเถิดหนาอย่าทำเฉย
อันวิสัยกษัตริย์ย่อมคุ้นเคย
ไม่พึงปล่อยเชลยโดยเปล่าการ
** รีบสั่งฆ่าอย่าช้าให้หงุดหงิด
ไม่เสียดายชีวิตจงประหาร
เป็นกษัตริย์แพ้พ่ายให้ร้าวราน
ขืนอยู่ไปไม่สำราญต้องอับอาย
** จัณฑปัชโชตรู้ข่าวได้กล่าวว่า
จะปล่อยท่านไม่ฆ่าให้สูญหาย
แต่ท่านต้องมอบมนต์ประจำกาย
ให้แก่เรานะสหายได้ไหมเอย
** อุเทนราชกล่าวว่าข้าไม่ขัด
จะรีบจัดมอบให้ใคร่เฉลย
ต้องไหว้เราก่อนเรียนอย่าละเลย
เคารพกฎไม่เฉยเมยยอมให้มนต์
** จัณฑปัชโชตได้ฟังจึงนั่งนิ่ง
ทำไม่ได้จริงจริงใจสับสน
ถ้าอย่างนั้นเราจะฆ่าให้วายชนม์
เมื่อมอบมนต์ให้เราจักปล่อยไป
** อุเทนฟังนั่งคิดพิจารณา
ยอมถูกฆ่าดีกว่าเป็นไหนไหน
ชาติกษัตริย์ไม่ยอมก้มให้ใคร
รักษาไว้เกียรติยศปรากฏนาม
** จัณฑปัชโชตหาวิธีที่จะเรียน
จึงคิดเพียรออกอุบายมาไต่ถาม
ถ้าคนอื่นยอมไหว้ใคร่รู้ความ
ท่านจะยอมทำตามที่กล่าวมา
** หรืออย่างไรจงเฉลยเอ่ยให้รู้
รอฟังอยู่โปรดบอกด้วยเถิดหนา
ใครก็ตามที่ไหว้ด้วยศรัทธา
สอนมนตราให้ได้ดังใจปอง
** จัณฑปัชทรงดำริที่จะให้
ธิดายอดยาใจนั่งในห้อง
เรียนรู้มนต์จากอุเทนมาครอบครอง
แล้วเรียนต่อเป็นทอดสองจากธิดา
** ท้าวเธอจึงได้บอกลูกที่รัก
ว่าพ่อจักให้เรียนมนต์และคาถา
จากชายเป็นโรคเรื้อนทั่วกายา
เจ้าจงอย่าใกล้ชิดจะติดมัน
** แล้วทรงหลอกจอมราชชาติกษัตริย์
เราได้จัดหญิงค่อมแม่จอมขวัญ
มาเรียนรู้มนตราสารพัน
เป็นประจำทุกวันจนเชี่ยวชาญ
** จึงจำเป็นกั้นม่านไม่ให้เห็น
กลัวจะเป็นอุปสรรคมาล้างผลาญ
ทำให้เรื่องเรียนมนต์ต้องเสียการ
ใช้เวลาเนิ่นนานเกินจำเป็น
** การเรียนมนต์เป็นไปตามครรลอง
พระธิดาเนื้อทองมองไม่เห็น
ครูผู้สอนมาดแมนแสนลำเค็ญ
เพราะเนื้อเย็นนั่งอยู่ในม่านบัง
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
masapaer
,
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#19 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:40:31 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระอัครมเหสีองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าอุเทน
** วันหนึ่งจอมราชบริภาษว่า
ผู้หญิงค่อมชั่วช้าอย่าพึงหวัง
จะได้มนต์เราไปไม่มีทาง
ความจำเจ้าเลือนลางเสียสิ้นดี
** พระธิดาพิโรธครูผู้สอน
จึงตรัสย้อนคนขี้เรื้อนเหมือนเช่นผี
ปากเจ้าร้ายมาว่าข้าไม่ดี
ตัวเองซิเป็นโรคเรื้อนเหมือนผีไพร
** โต้กันไปโต้กันน่าบัดสี
ทั้งทั้งที่ต่างมียศยิ่งใหญ่
จึงอยากเห็นหน้าตาเป็นอย่างไร
เปิดม่านออกทันใดพบความจริง
** หนึ่งบุรุษหนึ่งสตรีที่ด่ากัน
ตกตะลึงงงงันต่างนั่งนิ่ง
รู้ตัวว่าถูกหลอกดังเป็นลิง
ทุกทุกสิ่งปรากฏชัดถนัดตา
** ต่างแนะนำตัวเองให้รู้จัก
ถึงพื้นเพที่พำนักและภาษา
รู้ว่าจอมกษัตริย์และธิดา
จึงเข้าใจและศรัทธากันและกัน
** พระพุทธองค์ทรงตรัสพุทธพจน์
ว่าความรักจะปรากฏอย่างแม่นมั่น
ด้วยสาเหตุสองประการเป็นสำคัญ
ความรักพลันพัฒนาก้าวหน้าไกล
** สาเหตุหนึ่งร่วมทำบุญในกาลก่อน
ทำให้ย้อนกลับมาพบกันใหม่
สาเหตุสองเอื้อเฟื้อมีเยื่อใย
ต่างช่วยเหลือกันไปในชาตินี้
** วาสุลทัตตาชื่อธิดาจัณฑปัช
จอมกษัตริย์ท้าวอุเทนไม่เบนหนี
ต่างปลงใจรักกันมั่นฤดี
จะครองคู่ชั่วชีวีนิจนิรันดร์
** จัณฑปัชตรัสถามพระธิดา
การเรียนมนต์ก้าวหน้าอย่างไรนั่น
จึงเอ่ยตอบพระบิดามิช้าพลัน
การเรียนนั้นไม่สำเร็จตามต้องการ
** จะต้องใช้เวลาอีกระยะ
ลูกนี้จะพยายามสร้างมาตรฐาน
ให้การเรียนสำเร็จมิช้านาน
ตอบแทนคุณพ่อท่านด้วยจริงใจ
** เมื่อความรักสุกงอมย่อมเกิดเหตุ
ตามวิสัยกิเลสตัวเป็นใหญ่
อันราคะไม่ปรานีต่อผู้ใด
เกิดร้อนรนดังถูกไหม้ด้วยไฟกัลป์
** จึงเชิญชวนนวลน้องตระกองคู่
เดินประคองเข้าสู่ประตูสวรรค์
ท่องวิมานตระการตาวิลาวัณย์
ชมช่อชั้นลวดลายใต้แสงดาว
** ห้องที่หนึ่งพึงประสงค์จงประจักษ์
ว่าพี่รักพี่ห่วงใยในน้องสาว
มอบวิญญาณมอบดวงใจใสแวววาว
ให้แก่เจ้าด้วยภักดีมิจืดจาง
** ห้องที่สองมองทางไหนวิไลหรู
ให้โฉมตรูพักนอนก่อนฟ้าสาง
ประคองกอดนวลน้องหอมสองปราง
ไม่ยอมห่างแนบชิดจนนิทรา
** ห้องที่สามงามวิจิตรพิสดาร
ฟ้าประทานเป็นของขวัญชื่นหรรษา
ให้นวลน้องประคองคู่กับพี่ยา
ท่องสวรรค์ในชั้นฟ้ายามราตรี
** ห้องที่สี่มีสีสันอันหลากหลาย
ส่องประกายงามยิ่งนักสมศักดิ์ศรี
เป็นที่พักของครอบครัวชั่วชีวี
น้องกับพี่สมใจฝันเกินบรรยาย
** ทั้งสี่ห้องหัวใจมอบให้น้อง
เป็นเจ้าของครองไปจนสลาย
มอบให้น้องเป็นของน้องจนวันตาย
ทั้งใจกายให้โฉมตรูเพื่อนคู่ใจ
** บันดาลดลฝนฟ้าคะนองลั่น
ดังสนั่นครึกโครมโหมเข้าใส่
ละลอกคลื่นถาโถมอย่างฉับไว
เรือลำน้อยลอยไปสั่นไหวโคลง
** พายุโหมกระหน่ำซ้ำที่เก่า
คลื่นซัดสาดน้ำเข้ายังส่วนโถง
ฝนกระหน่ำซ้ำมาไม่ลาโรง
น้ำเอ่อท่วมเรือโคลงอยู่ไปมา
** เสียงคลื่นลมกระหึ่มดังกึกก้อง
ฟ้าคะนองร้องลั่นสั่นผวา
สะเทือนทั่วบนพื้นพสุธา
ฝนหลั่งมาน้ำนองพ้องเสียงลม
** ลมสงบฟ้าสดใสชื่นใจนัก
หนุ่มและสาวชื่นรักดังอุ้มสม
เป็นบุพเพเสกสรรค์อันรื่นรมย์
เฝ้าชื่นชมสมมโนโผกอดกัน
** โอ้.....น้องจ๋าพี่สัญญาจะรักเจ้า
ทุกค่ำเช้าดูแลไม่แปรผัน
จะรักน้องถนอมน้องทุกคืนวัน
ชั่วนิรันดร์มอบใจไม่จืดจาง
** คุณพี่ขาน้องสัญญาจะรักพี่
ในชาตินี้มอบใจไม่ไกลห่าง
อุทิศกายถวายใจไม่เลือนลาง
อยู่แนบข้างพี่ยากว่าจะตาย
** ทั้งสองคนวางแผนจะหนีหน้า
กลับไปยังพาราสวยเฉิดฉาย
โกสัมพีงามเลิศเพริดพรรณราย
เป็นที่หมายมุ่งสู่ที่อยู่ตน
** คิดวิธีที่หลอกจัณฑปัช
ขอรวบรัดคิดได้ไม่หมองหม่น
ดำเนินงานตามวิธีมิร้อนรน
เพื่อบรรลุผลสำเร็จดังเจตนา
** ณ วันหนึ่งหญิงสาวเฝ้าบิตุเรศ
เพื่อทูลเหตุให้ทราบถึงปัญหา
ลูกจำเป็นต้องได้ซึ่งตัวยา
เพื่อเอามาประกอบการเรียนมนต์
** จึงกราบทูลพระบิดาว่าอยากได้
คือเครื่องใช้เหล่านี้จะมีผล
มีประตูเข้าออกนอกมณฑล
พิธีที่เรียนมนต์เป็นประจำ
** พาหนะสำหรับการเดินทาง
เมื่อยามว่างได้ไปในไพรสัณฑ์
เพื่อจะได้ตัวยาที่สำคัญ
มาเรียนมนต์สำเร็จพลันดังตั้งใจ
** จัณฑปัชโชตทรงโปรดให้ประทาน
สิ่งที่นางต้องการรีบจัดให้
พาหนะและกุญแจโดยเร็วไว
เพื่อออกไปหาตัวยามาใช้งาน
** อันท้าวเธอมีพาหนะห้าชนิด
เป็นของคู่ชีวิตขอกล่าวขาน
ช้างภัททวดีวิ่งได้นาน
ห้าสิบโยชน์โดยประมาณต่อหนึ่งวัน
** กากะเป็นทาสเดินทางได้
หกสิบโยชน์ทำไว้ใช่เสกสรร
ม้าสองตัววิ่งได้โดยเร็วพลัน
หนึ่งร้อยโยชน์ต่อวันโปรดเข้าใจ
** อีกช้างนาฬาคีรีเป็นที่ห้า
วิ่งได้เร็วมากกว่าเป็นไหนไหน
หนึ่งร้อยยี่สิบโยชน์โดดเด่นไกล
นางมั่นใจนาฬาคีรีที่เลือกเอา
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#20 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:46:34 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน ประวัติพาหนะ ๕ ชนิด
** ได้ฟังมาจอมราชันจัณฑปัช
เมื่ออดีตได้อุบัติรับใช้เขา
ที่บ้านอิสระชนไม่ซบเซา
ตามทำเนาของเวรกรรมที่ทำมา
** วันหนึ่งมีปัจเจกะพุทธะ
ตั้งมั่นในธุระเป็นหนักหนา
ได้ออกบิณฑบาตรอย่างเคยมา
ประชาชนต่างพาไม่สนใจ
** เหตุเกิดเพราะมีมารเข้าสิงร่าง
ชาวเมืองต่างวิปริตผิดไปใหญ่
ไม่ได้คิดจะใส่บาตรแต่อย่างใด
ทุกทุกคนอยู่ในอำนาจมาร
** ปัจเจกะพุทธะจึงเดินกลับ
ตัดสินใจเลิกรับภัตตาหาร
เมื่อถึงประตูเมืองเรืองโอฬาร
ได้พบมารแปลงร่างอย่างคนเมือง
** ตัวมารร้ายจำแลงแกล้งเอ่ยถาม
อยากทราบความเป็นไปในทุกเรื่อง
ท่านได้รับอาหารอย่างนองเนือง
หรือฝืดเคืองไม่ได้อะไรมา
** พระปัจเจกะพุทธะจึงได้กล่าว
จะมาถามทำไมเล่าเจ้าบาปหนา
เจ้าเป็นคนดลใจชาวพารา
ให้เมินหน้าไม่สนใจในการบุญ
** ท่านจงรีบกลับไปในเมืองเถิด
เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่าเคืองขุ่น
ให้ชาวเมืองใส่บาตรจักขอบคุณ
ช่วยเจือจุนชาวพาราอย่าดูดาย
** อาตมาไม่กลับไปหรอกมารเอ๋ย
อย่าหวังเลยจะหลอกเพื่อมุ่งหมาย
เข้าสิงชาวพารากระทั่งตาย
เราจะไม่งมงายเชื่อคำมาร
** เมื่อใดที่พระปัจเจกเข้าในเมือง
ตัวมารจะฟูเฟื่องเพื่อล้างผลาญ
เข้าสิงสู่กายาตลอดกาล
พวกหมู่มารจะแย่งชาวเมืองไป
** ในบาตรจึงว่างเปล่าไร้อาหาร
เพราะตัวมารกลั่นแกล้งให้หวั่นไหว
เหล่าฝูงชนไม่คิดจะสนใจ
พระปัจเจกจึงเดินไปข้าวไม่มี
** ขณะนั้นอิสระชนคนมีทรัพย์
ซึ่งเดินกลับเคหาขมันขมี
พบปัจเจกะพุทธเจ้าเข้าพอดี
เอ่ยวจีเรียนถามตามศรัทธา
** ครั้นรู้ว่าบาตรพระนั่นว่างเปล่า
จึงคิดเอาที่บ้านแก้ปัญหา
มาใส่บาตรพระปัจเจกะพุทธา
ไม่รู้ว่าอาหารเสร็จหรือยัง
** จึงนิมนต์ให้พระจงรอก่อน
จะรีบจรไปที่บ้านสานความหวัง
เมื่อไปถึงจึงถามอย่างจริงจัง
อาหารเสร็จหรือยังแจ้งเร็วไว
** หญิงรับใช้รีบตอบไม่รอช้า
สำเร็จแล้วเจ้าข้าจะเอาไหม
จึงรีบสั่งคนรับใช้ในทันใด
ความเร็วเจ้ามากกว่าใครรีบไปเลย
** รีบรับบาตรจากพระกลับมาเรือน
อย่าชักช้าแชเชือนนะท่านเอ๋ย
คนรับใช้รีบไปไม่เฉยเมย
แล้วจึงเอ่ยขอบาตรวิ่งกลับมา
** ฝ่ายอิสระชนคนมีทรัพย์
จึงรีบรับบาตรมิเนิ่นนานสั่งการว่า
ใส่อาหารถวายพระดังวาจา
จงรีบพาไปถวายให้ทันกาล
** หันมาบอกคนรับใช้ให้รับรู้
อย่าชักช้าเฉยอยู่รีบประสาน
ผลบุญที่เกิดขึ้นจากผลทาน
แม้มากมายให้ท่านจงรับไป
** ชายรับใช้รีบวิ่งอย่างด่วนจี๋
ไปยังที่พระปัจเจกผู้ยิ่งใหญ่
รีบบอกกล่าวขอพรในทันใด
ด้วยหวังได้กุศลผลแห่งบุญ
** ท่านเจ้าขาโปรดเมตตาอวยพรให้
ข้าพึงได้พรอันเลิศประเสริฐหนุน
ด้วยอานุภาพที่วิ่งจงเจือจุน
ได้พาหนะดังลมหมุนเร็วทันใด
** ข้าพเจ้าเดินทางกลางแดดจ้า
อย่างรีบเร่งไปมาไม่หวั่นไหว
ถูกแสงแดดแผดเผาดังเปลวไฟ
ขอจงได้บารมีที่ยืนยง
** ส่วนผลบุญที่นายมอบให้นั้น
ขอจงพลันสำเร็จและหนุนส่ง
ให้มีส่วนรู้ธรรมดังจำนง
ด้วยประสงค์ตัดกิเลสเหตุแห่งภัย
** พระปัจเจกะพุทธะจึงกล่าวว่า
สมมโนปรารถนาอย่าสงสัย
พาหนะมีความเร็วสมฤทัย
ลุสมัยรู้แจ้งธรรมองค์สัมมา
** ของสิ่งใดที่ท่านต้องการแล้ว
ด้วยจิตใจผ่องแผ้วปรารถนา
ขอสำเร็จโดยพลันดังเจตนา
ดังพระจันทร์บนฟากฟ้ายามราตรี
** ด้วยผลบุญที่ได้อธิษฐาน
จากผลทานสำเร็จสมศักดิ์ศรี
ได้เกิดเป็นจัณฑปัชครองบุรี
พาหนะเกิดมีตามต้องการ
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#21 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:49:41 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระเจ้าอุเทนหนี
** ฝ่ายจอมราชอุเทนดำริว่า
ถึงเวลาต้องหนีกลับถิ่นฐาน
จึงรวบรวมเงินทองกองตระการ
ใส่กระสอบเป็นทะนานติดตัวไป
** พาวาสุลทัตตาขึ้นช้างหนี
พร้อมทรัพย์สินที่มีกระสอบใหญ่
ออกจากเมืองอุชเชนีโดยเร็วไว
มุ่งหน้าไปโกสัมพีธานีตน
** พวกทหารรักษาวังครั้นมองเห็น
อุเทนเผ่นรีบหนีเริ่มสับสน
จึงกราบทูลจัณฑปัชในบัดดล
ให้ทราบผลทันทีมิเฉยเมย
** จัณฑปัชโชตตรัสสั่งให้ทหาร
จงจัดการเอาตัวมาอย่านิ่งเฉย
รีบตามไปให้ทันอ้ายเชลย
เจ็บเหลือเอ่ยเจ็บใจไปจับมัน
** อุเทนราชรู้ว่าถูกล่าไล่
เปิดกระสอบที่เตรียมไว้ตามคาดฝัน
กหาปนณะหล่นลงโดยเร็วพลัน
พวกติดตามพัลวันเก็บกันเพลิน
** ครั้นถูกไล่ใกล้มาอีกคราหนึ่ง
จึงรีบดึงกระสอบทองยามฉุกเฉิน
พอทองหล่นคนติดตามสุดจักเมิน
เหลือจักเกินห้ามใจไม่เก็บทอง
** เพลินเก็บทองอุเทนก็รีบหนี
อย่างเร็วรี่ถึงค่ายไม่หม่นหมอง
พวกทหารที่ตั้งรออยู่ก่ายกอง
ต่างโห่ร้องต้อนรับด้วยดีใจ
** ครั้นถึงพาราโกสัมพี
อภิเษกยอดนารีให้เป็นใหญ่
เป็นอัครมเหสีมิอายใคร
วาสุลทัตตาดีใจกราบขอบคุณ
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#22 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 07:56:22 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน ประวัตินางมาคันทิยา
** จะกล่าวถึงนางหนึ่งอัครราช
เป็นจอมนาถโกสัมพีมีบุญหนุน
ท้าวอุเทนยกย่องและเจือจุน
ให้เป็นใหญ่เกื้อการุญตลอดมา
** มาคันทิยาคือนามอนงค์นาถ
มเหสีจอมราชสวยสง่า
เป็นธิดามาคันทิยะพราหมณา
มีมารดาชื่อเดียวกับพระนาง
** ถือกำเนิดในแคว้นชื่อกุรุ
แต่อาภัพเรื่องคู่ร่วมเคียงข้าง
เพราะบิดาเลือกคนไม่ปล่อยวาง
ไม่ถูกใจไม่ให้นางร่วมวิวาห์
** วันหนึ่งพุทธองค์ทรงเข้าญาณ
เพื่อตรวจดูสันดานมนุสสา
จึงรู้ว่ามาคันทิยะและภรรยา
ถึงเวลาบรรลุธรรมนำส่องทาง
** จึงเสด็จไปยังที่เรือนไฟ
ที่ท่านพราหมณ์น้อมไปอยู่เคียงข้าง
เป็นที่พึ่งทางใจไม่ปล่อยวาง
เพื่อนำทางให้เดินเจริญธรรม
** พราหมณ์มองเห็นคิดว่าช่างงามเลิศ
หนุ่มคนนี้ประเสริฐดูงามขำ
เทวดาคงอุ้มสมและน้อมนำ
เพื่อธิดาได้ทำการวิวาห์
** จึงเอ่ยบอกสมณะพระโคดม
ว่าเป็นผู้เหมาะสมกันหนักหนา
กับธิดาของเรามาคันทิยา
ยอมให้ท่านเป็นภัสดาลูกสาวเรา
** ท่านจงรอเราอยู่ที่แห่งนี้
จะกลับมาอีกทีพร้อมกับเขา
คือลูกสาวสุดที่รักเนิ่นนานเนา
เพื่อให้ท่านรับเอาเป็นภรรยา
** พุทธองค์ทรงฟังแล้วนิ่งเฉย
ไม่เอื้อนเอ่ยตอบคำตามปรารถนา
พราหมณ์รีบกลับไปบ้านไม่รอรา
เพื่อพูดจากับลูกสาวเรื่องแต่งงาน
** เมื่อไปถึงรีบบอกพราหมณี
ว่าได้พบคนดีมีมาตรฐาน
รีบแต่งตัวลูกเราอย่ารอนาน
เพื่อรีบไปพบพานคนมีบุญ
** เมื่อกลับไปถึงที่โรงเรือนไฟ
ไม่เห็นมีผู้ใดชักเคืองขุ่น
แต่กลับเห็นรอยเท้าเจ้าประคุณ
ยังเป็นรอยอุ่นอุ่นไว้แทนกาย
** พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ที่อื่น
ก่อนจากไปประทับยืนใช่หนีหาย
ทรงประทับรอยเท้าบนพื้นทราย
ด้วยทรงหมายให้พราหมณ์เห็นเป็นสำคัญ
** ตามตำนานกล่าวไว้เพื่อให้รู้
บรมครูประทับบาทเป็นของขวัญ
แก่ผู้ใดเขาจะมองเห็นโดยพลัน
นอกจากนั้นมองไม่เห็นเป็นอัศจรรย์
** ไม่มีใครสามารถจะลบได้
ปรากฏไว้ให้เห็นเป็นแม่นมั่น
แม้ช้างม้าวัวควายนับเป็นพัน
ก็ไม่ทำให้รอยนั้นอันตรธาน
** ลำดับนั้นพราหมณีได้เอ่ยถาม
ว่าพราหมณ์ไหนเล่าที่กล่าวขาน
คนที่เหมาะสมกับเยาวมาลย์
มาคันทิยานงคราญลูกสาวเรา
** พราหมณ์บอกว่าให้เขารอที่นี่
ไม่เห็นมีไปไหนใจอับเฉา
แต่ทิ้งเอาไว้เพียงรอยเท้า
เพื่อให้เราดูต่างหน้าใช่ว่าลวง
** พราหมณีผู้เชี่ยวชาญการดูลักษณา
ตรวจดูว่ารอยนี้ดีหรือหมอง
รู้ทันทีคนผู้นี้มิใฝ่ปอง
กามคุณทั้งผองหมดจากใจ
** จึงกล่าวถึงลักษณะของรอยเท้า
มีรูปเว้าตรงกลางย่างเยื้องไซร้
เป็นคนใฝ่ราคะมากกว่าใคร
กามคุณฝังในใจของตน
** อันรอยเท้าหนักที่ส้นเจ้าโทสะ
ไม่ลดละโกรธแค้นแสนหมองหม่น
ส่วนปลายเท้าจิกลงหลงเวียนวน
เจ้าโมหะมากล้นล้วนไม่ดี
** รอยเท้านี้ที่ปรากฏกำหนดได้
ไม่ติดในกามคุณบุญราศี
นางจึงบอกแก่พราหมณ์ตามที่มี
ปรากฏในคัมภีร์คำทำนาย
** ท่านพราหมณ์จึงกล่าวว่าอย่าช้าเลย
ช่วยตามหาว่าที่เขยเดียวจะสาย
มองไปเห็นพุทธองค์ดำรงกาย
เด่นสง่าท้าทายชวนให้ชม
** เข้าไปใกล้แล้วกล่าวท่านเจ้าขา
เราขอมอบธิดาผู้เหมาะสม
เป็นคู่ครองของท่านได้รื่นรมย์
เป็นคู่ชิดเชยชมตลอดกาล
** พระพุทธองค์ทรงนิ่งไม่ตรัสตอบ
ว่าทรงชอบไม่ชอบที่กล่าวขาน
กลับตรัสว่ามีเรื่องจากเหตุการณ์
ตถาคตได้ผ่านมารผจญ
** เราไม่มีความพอใจในเมถุน
เรื่องของกามคุณได้ข้ามพ้น
ธิดามารสาวสวยทั้งสามคน
ยังผ่านพ้นมาได้ไม่เป็นไร
** นางตัณหา อรดี และราคา
ช่างสวยงามโสภาจักหาไหน
ยังหลีกเลี่ยงไม่แยแสไม่สนใจ
นับประสาอะไรกับนงคราญ
** ผู้เต็มไปด้วยมูตรและคูถเน่า
มีแต่ความว่างเปล่าไร้แก่นสาร
เราไม่มีความปรารถนาและต้องการ
จะถูกต้องเยาวมาลย์แม้เท้าเรา
** ครั้นเมื่อจบคาถาว่าด้วยกาม
ทั้งสองพราหมณ์บรรลุธรรมพ้นความเขลา
ตาสว่างใจสว่างกายบางเบา
เลิกมัวเมาในตัณหาละโลกีย์
** มาคันทิยาผูกอาฆาตในศาสดา
ที่ทรงกล่าววาจาหมิ่นศักดิ์ศรี
เปรียบดังมูตรคูถเน่าไม่มีดี
โอกาสมีจะยีย่ำทำให้อาย
** ฝ่ายสองพราหมณ์เมื่อได้บรรลุธรรม
ใจน้อมนำตั้งมั่นดังมุ่งหมาย
ด้วยศรัทธาเลื่อมใสไม่เสื่อมคลาย
หวังสืบสายศาสนาให้มั่นคง
** คิดออกบวชกายาหาความสุข
ละความทุกข์อกุศลโลภโกรธหลง
ก็ยังมีธิดายอดอนงค์
จึงตกลงไปฝากอาไม่ช้าที
** ทั้งสองก้าวเข้าสู่เพศบรรชิต
มอบชีวิตเพื่อศาสนาพาสุขี
ประพฤติธรรมองค์สัมมาไร้ราคี
บรรลุที่อรหันต์อนันตกาล
** ไม่มีการเกิดแก่และเจ็บตาย
พ้นจากการเวียนว่ายในสงสาร
ก้าวล่วงพ้นกิเลสมาระราน
ใจเบิกบานไร้กังวลพ้นทุกข์ไป
** ฝ่ายจูฬะมาคันทิยะพราหมณ์
ต้องการให้หลานคนงามได้เป็นใหญ่
เมื่อคิดแล้วพาหลานรีบคลาไคล
มุ่งหน้าไปโกสัมพีมิช้านาน
** ครั้นถึงจึงกราบทูลมูลเหตุว่า
ขอมอบหลานให้ราชาเป็นหลักฐาน
อุเทนราชรับไว้แล้วพระราชทาน
ให้นงคราญดำรงศักดิ์อัครชน
** เป็นมเหสีคนที่สามมอบความรัก
ด้วยใจภักดิ์จริงใจไม่หมองหม่น
มอบหญิงสาวเป็นบริวารห้าร้อยคน
มีสุขล้นรมย์รื่นชื่นอุรา
** สรุปว่าราชาอุเทนราช
มีมเหสีจอมนาถคู่วาสนา
รวมสามนางช่างงามอร่ามตา
เป็นคู่ขวัญชีวายอดนารี
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#23 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:28:50 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน สามเศรษฐีกับดาบส
** สมัยนั้นโกสัมพีมีสามสหาย
มีทรัพย์สินหลากหลายเป็นเศรษฐี
โฆสกะ กุกกุฏะ เป็นคนดี
ปวาริกะ ล้วนมีเงินและทอง
** ณ วันหนึ่งเมื่อใกล้ฤดูฝน
ดาบสห้าร้อยคนหวังฉลอง
ศรัทธาของชาวบ้านที่มั่นปอง
เดินทางท่องจากหิมพานต์สถานไพร
** ทั้งสามคนได้เห็นพระดาบส
กิริยางามงดก็เลื่อมใส
จึงนิมนต์ให้นั่งฉันทุกวันไป
ตลอดในฤดูฝนจนหนาวมา
** ครั้นฝนหมดดาบสจะหวนกลับ
น้อมคำนับนิมนต์เพื่อปีหน้า
ถึงหน้าฝนย้อนกลับมาอีกครา
เพื่อฉลองศรัทธาของสามเรา
** นับแต่นั้นเมื่อใกล้วันฤดูฝน
พระดาบสทุกคนลงจากเขา
มาสู่กรุงโกสัมพีเพื่อรับเอา
บิณฑบาตรจากเหล่าผู้ศรัทธา
** มีครั้งหนึ่งเมื่อถึงกลางป่าใหญ่
จึงแวะพักใต้ต้นไทรใบแน่นหนา
เพื่อขจัดความเหน็ดเหนื่อยของกายา
และบรรเทาความเมื่อยล้าให้ผ่อนคลาย
** ขณะนั้นดาบสผู้หัวหน้า
นั่งคิดว่าตัวเราแสนกระหาย
เทวดาผู้ศักดิ์ใหญ่รอบรอบกาย
ใจไม่ร้ายนำน้ำมาอย่าช้าที
** เทวดาที่ต้นไทรใหญ่ต้นนั้น
ขมีขมันนำน้ำมาอย่างเร็วรี่
แจกจ่ายพวกดาบสไม่รอรี
สมดังที่ต้องการเบิกบานใจ
** เมื่อดาบสอยากได้น้ำไปอาบ
เทวดาก็ทราบจึงจัดให้
ทุกคนต่างซาบซึ้งเสียกระไร
ต่างก็คิดกันไปอยากพบตัว
** เทวดาใจดีอารีรอบ
จึงรีบตอบสนองอย่างถ้วนทั่ว
เนรมิตท้องฟ้าให้มืดมัว
ปรากฏตัวแก่ดาบสหมดทุกคน
** ท่านหัวหน้าดาบสจึงไต่ถาม
อยากทราบความเป็นไปใจฉงน
ท่านมีทรัพย์มหาศาลบันดาลดล
ทำอย่างไรจึงมากล้นเกินพรรณนา
** เทวดาเขินอายไม่กล้าเอ่ย
กรรมน้อยนิดไม่อยากเผยเลยท่านหนา
จงได้โปรดเห็นใจและเมตตา
เทวดาร้องขอพอเถิดคุณ
** ฝ่ายดาบสไม่ลดละอยากจะรู้
จงอย่าได้อดสูเชิดชูหนุน
ขอจงได้เมตตาและเจือจุน
เปิดเผยคุณความดีที่น้อมนำ
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#24 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:35:05 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน ประวัติเทวดา
** ได้ยินว่าเทวราชในชาติก่อน
เป็นคนจรเข็ญใจไม่คมขำ
เดินเที่ยวไปเพื่อแสวงหางานทำ
ตั้งแต่เช้ายันค่ำทุกวันวาร
** ในที่สุดได้งานบ้านเศรษฐี
เจ้าของบ้านใจดีมีหลักฐาน
รับเขาไว้ให้งานทำประจำการ
ขายแรงงานเลี้ยงชีวิตอุทิศกาย
** ครั้นวันหนึ่งเศรษฐีกลับจากวัด
หลังปฏิบัติข้อธรรมตามมุ่งหมาย
เป็นวันพระถือศีลแปดไม่งมงาย
เพื่อหวังได้สุคติเป็นที่ไป
** ครั้นถึงบ้านจึงถามพวกในบ้าน
คนทำงานคนใหม่รู้หรือไม่
ถึงวันธัมมัสสวนะคราครั้งใด
พวกเราไม่กินอาหารในตอนเย็น
** เมื่อได้รับคำตอบว่าไม่รู้
จึงสั่งหมู่คนครัวจงงดเว้น
รีบประกอบอาหารเท่าจำเป็น
เพื่อให้ชายยากเข็ญรับประทาน
** คนที่บ้านอนาถปิณฑิกะ
ทุกวันพระงดมื้อค่ำทั้งคาวหวาน
ถือศีลแปดเคร่งครัดตลอดกาล
เหมือนท่านเจ้าของบ้านเป็นประจำ
** อธิบายถึงคำ “ธัมมัสสวนะ”
คือวันพระแปดค่ำสิบห้าค่ำ
คนชาวพุทธสนใจและน้อมนำ
สมาทานศีลฟังธรรมภาวนา
** คนงานใหม่กลับมานึกแปลกใจ
ว่าทำไมเงียบจังคิดกังขา
ไม่มีคนพลุกพล่านเดินไปมา
เมื่อสอบถามจึงรู้ว่าเขาเข้านอน
** พวกคนครัวอธิบายขยายผล
เล่าไปตามที่ตนถูกสั่งสอน
ให้รู้เรื่องศีลแปดตามขั้นตอน
เพื่อสร้างบุญอันสุนทรเป็นมงคล
** ศีลข้อหนึ่งพึงรู้ว่าห้ามฆ่าสัตว์
สารพัดบาปกรรมนำส่งผล
เบียดเบียนสัตว์ต้องปวดร้าวเศร้ากมล
จะพาตนสู่นรกหมกไหม้กาย
** ศีลข้อสองต้องห้ามใจความว่า
ขโมยของของเขามาพาเสียหาย
ทั้งฉ้อโกงทรัพย์สินด้วยอุบาย
อย่าพึงหมายจะมีสุขหนีทุกข์ไกล
** ศีลข้อสามห้ามผิดพรหมจรรย์
ใจต้องมั่นละตัณหาอย่าหวั่นไหว
เว้นการเสพเมถุนวุ่นวายใจ
เว้นไม่ได้หวังโลกันต์อันเลวทราม
** ศีลข้อสี่มีว่าห้ามพูดปด
เว้นทั้งหมดพูดส่อเสียดหรือเหยียดหยาม
พูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้าพูดลวนลาม
คงไม่งามตกนรกหมกไฟเปลว
** ศีลข้อห้าสุราและเมรัย
หลีกให้ไกลอย่าเกลือกกลั้วชั่วแหลกเหลว
เป็นสาเหตุขาดสติริทำเลว
ก้าวลงเหวคือนรกหมกไหม้ตน
** ศีลข้อหกยกเว้นกินอาหาร
ในเวลาวิกาลจะหมองหม่น
เพื่อขจัดความยินดีของผู้คน
เพื่อหลีกพ้นจากตัณหาพาเบิกบาน
** ศีลข้อเจ็ดเว้นจากการฟ้อนรำ
ขับลำนำเพลงร้องก้องประสาน
อีกเครื่องหอมนำมามัณฑนาการ
เกิดกิเลสระรานผลาญความดี
** ศีลข้อแปดไม่นอนบนฟูกนุ่ม
จะตกหลุมของตัณพาพาเสียศรี
เนื่องจากเกิดหลงใหลใฝ่ราคี
ความสบายมากมีจึงร้อนรน
** ถึงแปดค่ำสิบห้าค่ำในบ้านนี้
ทุกทุกคนล้วนมีใจกุศล
เวลาเย็นอดอาหารกันทุกคน
แม้เด็กเล็กก็เริ่มต้นกระทำตาม
** มีสิ่งของสี่อย่างที่ทานได้
ยามป่วยไข้อนุญาตอย่าเกรงขาม
มีเนยใสเนยข้นชนทุกนาม
ดื่มได้ยามป่วยไข้ให้ทุเลา
** อีกน้ำอ้อยน้ำผึ้งพึงประจักษ์
ยามหิวหนักช่วยได้คลายอับเฉา
ไม่ผิดศีลแปดหนอพอทำเนา
ช่วยแบ่งเบาแก้กระหายได้เร็วไว
** คนงานใหม่สนใจจึงถามว่า
หากตัวข้าถือศีลบ้างจะได้ไหม
เพียงครึ่งหนึ่งตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
เพราะศรัทธาอยากได้บุญมาจุนเจือ
** ๓๔๘. ตัดสินใจปรึกษาท่านเศรษฐี
เพราะคิดว่าคงมีทางช่วยเหลือ
ท่านเศรษฐีมีเมตตาอย่างเหลือเฟือ
จึงเอื้อเฟื้อแนะนำเพื่อทำดี
** จึงบอกว่าทำได้อย่างแน่แน่
เสียดายแต่ได้บุญไม่เต็มที่
จะได้เพียงครึ่งหนึ่งจึงพาที
รีบทำซิดีกว่านะพ่อคุณ
** คนงานใหม่เริ่มอดงดอาหาร
เพื่อสร้างฐานความดีมิวายวุ่น
บุญกุศลสร้างไว้ได้เจือจุน
เพราะเป็นทุนเป็นเสบียงไว้เลี้ยงกาย
** ด้วยเหตุที่ทำงานมาแสนหนัก
ยังต้องจักอดอาหารไม่คาดหมาย
ความอ่อนล้าหิวโหยเปล่งประกาย
เข้าโจมตีทำลายความอดทน
** ลมกำเริบทำร้ายอยู่ภายใน
อวัยวะน้อยใหญ่เริ่มสับสน
จึงเอาเชือกมารัดที่ท้องตน
นอนดิ้นรนเกลือกกลิ้งยิ่งทรมาน
** ท่านเศรษฐีรู้เรื่องเยื้องย่างย่อง
มายืนมองด้วยเมตตาน่าสงสาร
นำอาหารที่ทานได้สี่ประการ
มามอบให้ชายคนงานเพื่อบรรเทา
** คนงานใหม่ใจถึงจึงไม่รับ
น้อมคำนับใช่ยโสหรือโง่เขลา
แต่ไม่อยากให้บุญต้องแบ่งเบา
ขอรับเอาความตายแต่ได้บุญ
** ครั้นเวลาใกล้สว่างถึงวาระ
ทำกาละจากไปไม่หมกมุ่น
มาเกิดเป็นเทวดานับเป็นคุณ
เนื่องจากผลแห่งบุญบันดาลเป็น
** หลังจากจบคำเล่าจึงกล่าวว่า
เศรษฐีท่านศรัทธาเมื่อได้เห็น
องค์สมเด็จพระศาสดาผู้บำเพ็ญ
จนสำเร็จบรรลุเป็นพระโพธิญาณ
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#25 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:42:43 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน ดาบสเลื่อมใสออกบวช
** พวกดาบสได้ยินว่าพระพุทธเจ้า
อยากเข้าเฝ้าถวายบังคมก้มประสาน
เป็นสาวกน้อมใจไปกราบกราน
พระภูวนาถอวตาลสู่โลกา
** จึงกล่าวถามเทวดาผู้ศักดิ์ใหญ่
เป็นความจริงใช่ไหมไม่มุสา
เทวดายืนยันที่กล่าวมา
เป็นสัจจะวาจาอย่าข้องใจ
** พวกดาบสจึงกล่าวพร้อมกันว่า
รีบไปเฝ้าศาสดากันดีไหม
ท่านหัวหน้าบอกว่าเราจะไป
แต่เกรงใจเศรษฐีดีกับเรา
** จำต้องแจ้งให้ท่านทราบเสียก่อน
แล้วค่อยจรเพื่อตอบแทนบุญคุณเขา
มิฉะนั้นจะถูกหาว่าดูเบา
ไม่รู้คุณก้อนข้าวเขาให้มา
** จึงรีบพากันไปลาเศรษฐี
บอกว่ามีภาระอยู่ข้างหน้า
จะต้องรีบไปเฝ้าพระศาสดา
ขออำลาเศรษฐีผู้มีคุณ
** สามเศรษฐีผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ได้ฟังข่าวดีใจไม่เคืองขุ่น
จึงกล่าวอนุโมทนาว่าเป็นบุญ
แต่จงโปรดเจือจุนรอคอยกัน
** เราจะไปเฝ้าด้วยช่วยเถิดหนา
ไปพร้อมกันดีกว่าเป็นแม่นมั่น
เราจะได้ดูแลกันทุกวัน
แต่ต้องรอเรานั้นหลายเพลา
** พวกดาบสบอกว่าช้าไปหน่อย
เราคงคอยไม่ไหวใจโหยหา
อยากฟังธรรมของสมเด็จพระสัมมา
ค่อยตามไปดีกว่านะท่านเอย
** ท่านเศรษฐีสุดที่จะห้ามได้
ต้องยอมให้เดินทางอย่างเปิดเผย
เมื่อภาระเสร็จแล้วไม่เฉยเมย
จะรีบตามไปเลยในทันที
** พวกดาบสรีบไปเฝ้าพระศาสดา
ไม่ชักช้าออกเดินทางอย่างเร็วรี่
เมื่อไปถึงเฝ้าบังคมจอมโมลี
พระภูมีแสดงพระธรรมเทศนา
** พระพุทธองค์ผู้ทรงปรมัตถ์
ได้ทรงตรัสอนุปุพพีกถา
ประกอบด้วยทานศีลภาวนา
พวกดาบสมีดวงตามองเห็นธรรม
** จึงพร้อมใจกันอุปสมบท
เพื่อกำหนดวิปัสสนาพาชื่นฉ่ำ
มอบใจกายต่อศาสนาจะน้อมนำ
จึงตั้งใจบริกรรมกันทุกองค์
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#26 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:46:10 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน สามเศรษฐีสร้างวิหาร
** ฝ่ายเศรษฐีทั้งสามไม่ลดละ
รีบจัดแจงภาระตามประสงค์
ครั้นเสร็จสรรพตามเป้าหมายเจตจำนง
ได้ตกลงเดินทางเฝ้าพุทธา
** จัดเสบียงเพื่อถวายเหล่าพระสงฆ์
ทุกทุกองค์โดยทั่วกันชื่นหรรษา
ได้สดับพระสัทธรรมเทศนา
ของสมเด็จพระสัมมามองเห็นธรรม
** ได้บรรลุโสดาปัตติผล
เป็นอุดมมงคลที่คมขำ
ถวายทานแด่พระสงฆ์เป็นประจำ
เพื่อน้อมนำจิตใจให้ไพบูลย์
** จึงนิมนต์สมเด็จพระศาสดา
หวังเสริมสร้างศรัทธาไม่เสื่อมสูญ
เสด็จเมืองโกสัมพีที่จำรูญ
จะเกื้อกูลบำเพ็ญบุญสร้างสุนทาน
** พระพุทธองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว
ใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์เกินกล่าวขาน
รีบกลับไปโกสัมพีมิช้านาน
ได้เตรียมการสร้างวิหารรับพระองค์
** สามเศรษฐีล้วนมีศรัทธามั่น
ร่วมมือกันสร้างวิหารดังประสงค์
คนละหลังรวมสามหลังดังจำนง
เพื่อต้อนรับพุทธองค์เสด็จมา
** โฆสกะเศรษฐีมีใจงาม
สร้างโฆสิตารามดีนักหนา
กุกกุฏะเศรษฐีมีศรัทธา
สร้างวิหารชื่อว่า กุกกุฏาราม
** ปาวาริกะเศรษฐีดีใจนัก
สร้างวิหารพำนักแห่งที่สาม
มีชื่อว่า ปาวาริการาม
ดูงดงามทั้งสามหลังดังวิมาน
** เมื่อสมเด็จพระศาสดาทรงมาถึง
ทั้งสามจึงกราบบังคมก้มประสาน
น้อมถวายวิหารเป็นสังฆทาน
ขอพระองค์ทรงสำราญพักผ่อนกาย
** พระพุทองค์ทรงรับพระวิหาร
เพื่อกิจการของสงฆ์ทรงมุ่งหมาย
ประทับที่วิหารไหนเป็นอุบาย
ให้เจ้าของถวายสังฆทาน
** เพื่อจะได้ไม่แย่งกันนิมนต์
จะสับสนวุ่นวายหลายสถาน
เกิดทะเลาะวิวาทอาจเสียการ
เป็นเหตุให้ร้าวฉานความสัมพันธ์
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#27 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:52:28 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน นายสุมนะมาลาการเลี้ยงภิกษุสงฆ์
** ในกาลนั้นเศรษฐีสามสหาย
มีมาลาการคู่กายใช่เสกสรร
ชื่อว่า “สุมนะ” คนเดียวกัน
จัดดอกไม้ให้ทุกวันร่วมกันมา
** สุมนะขอโอกาสสามเศรษฐี
นิมนต์พระชินศรีทรงสิกขา
ไปรับบิณฑบาตรเยื้องยาตรา
ณ ที่บ้านของข้าเพื่อสร้างบุญ
** สามเศรษฐีฟังคำที่พร่ำกล่าว
รู้เรื่องราวเข้าใจไม่เคืองขุ่น
อนุญาตวันพรุ่งนี้เลยพ่อคุณ
จงสมใจได้บุญตามศรัทธา
** สุมนะนิมนต์พระพุทธองค์
พร้อมพระสงฆ์บริวารทั่วถ้วนหน้า
มารับภัตตาหารตามเวลา
พร้อมอนุโมทนาน้อมรับพร
** จะขอกล่าวถึงสตรีมีชื่อว่า
นางขุชชุตตราศรีสมร
คนรับใช้สามาวดีโฉมบังอร
แม่งามงอนรับดอกไม้ให้พระนาง
** สืบเนื่องมาจากท้าวอุเทนราช
มอบเงินให้นงนาฏไม่เหินห่าง
วันละแปดกหาปณะเพื่อนวลปราง
ค่าดอกไม้ให้แม่นางทุกทุกวัน
** นางทาสีมีหน้าที่รับดอกไม้
จากสุมนะมามอบให้แม่จอมขวัญ
วันนี้ได้เวลามารับพลัน
สุมนะจำนรรจ์ให้ช่วยงาน
** ในวันนี้องค์สมเด็จพระศาสดา
พร้อมพระสงฆ์จะมาฉันอาหาร
อย่าเพิ่งกลับเลยหนาแม่นงคราญ
อยู่ทำบุญช่วยงานค่อยกลับไป
** นางขุชชุตตราตอบตกลง
ถึงเวลาพุทธองค์ผู้เป็นใหญ่
พร้อมพระสงฆ์สาวกก็คลาไคล
เสด็จไปยังบ้านมาลาการ
** พระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจ
ต่างพากันตั้งจิตอธิษฐาน
ขอให้บุญสำเร็จจากผลทาน
ใจเบิกบานสดใสไร้ราคิน
** พระพุทธองค์ทรงแสดงเทศนา
ตรัสคาถาตามลำดับจนจบสิ้น
นางขุชชุตตราโฉมยุพิน
เกิดดวงจินต์เลื่อมใสในพระธรรม
** ในที่สุดแห่งเทศนานั้น
ได้บรรลุโสดาบันอันชื่นฉ่ำ
เสร็จงานบุญก็นึกถึงงานประจำ
คือการนำดอกไม้ให้เจ้านาย
** รับดอกไม้จากนายสุมนะ
รีบมุ่งหน้ากลับวังดังใจหมาย
มอบดอกไม้ให้แล้วจึงอธิบาย
ที่ชักช้าเพราะช่วยนายมาลาการ
** พระนางสามาวดีเห็นดอกไม้
มีจำนวนมากมายเกินมาตรฐาน
จึงถามว่าราชาทรงประทาน
ให้เพิ่มงบประมาณหรืออย่างไร
** มีดอกไม้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
ขอให้เจ้าชี้แจงแถลงไข
เราอยากรู้จงเล่าให้เข้าใจ
ว่าทำไมดอกไม้เพิ่มจำนวน
** นางขุชชุตตราจึงกล่าวถ้อย
ว่าข้าน้อยแบ่งออกเป็นสองส่วน
เก็บไว้เองครึ่งหนึ่งพึงคำนวณ
อีกหนึ่งส่วนซื้อดอกไม้ตามโองการ
** แต่วันนี้โชคดีได้ฟังธรรม
อันเลิศล้ำยิ่งใหญ่แสนไพศาล
จึงน้อมใจสู่ธรรมะละจิตพาล
ซื้อดอกไม้ตูมบานเต็มจำนวน
** สามาวดีฟังคำพร่ำเฉลย
ไม่เอื้อนเอ่ยคำใดให้กำสรวล
ไม่ตำหนิติเตียนนางเนื้อนวล
แต่เชิญชวนสอนธรรมนั้นแก่เรา
** ธรรมใดที่พระองค์ทรงตรัสแล้ว
ย่อมทำใจให้ผ่องแผ้วไม่อับเฉา
เราอยากรู้ธรรมนั้นและรับเอา
มาขัดเกลากิเลสให้เบาบาง
** นางขุชชุตตราจึงรับคำ
จะน้อมนำธรรมมาอย่าหมองหมาง
จึงให้นางอาบน้ำหอมทั่วสรรพางค์
มอบผ้าสาฎกให้นางห่อหุ้มกาย
** พร้อมจัดอาสนะให้เธอนั่ง
เรียกบริวารมาฟังดังมุ่งหมาย
ขุชชุตตราเริ่มต้นสาธยาย
ข้อธรรมะทั้งหลายที่ฟังมา
** ในที่สุดแห่งการฟังธรรมนั้น
ต่างบรรลุโสดาบันกันถ้วนหน้า
ได้ยกมือประณมก้มวันทา
เรียกขุชชุตตราว่าอาจารย์
** ต่างขอให้หยุดงานในบ้านนี้
ไปฟังธรรมพระชินศรีที่วิหาร
แล้วกลับมาสาธยายทุกประการ
จักขอบคุณอาจารย์ที่เมตตา
** นางขุชชุตตราก็รับคำ
ได้น้อมนำซึ่งธรรมดีหนักหนา
มาถ่ายทอดพวกนางทุกทุกครา
จนขึ้นชื่อลือชายอดนารี
** สมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงแต่งตั้งขุชชุตตรามารศรี
ให้เป็นเลิศด้านธรรมวาที
ในบรรดาสตรีอุบาสิกา
** เนื่องด้วยนางฉลาดในการกล่าว
ได้แสดงเรืองราวธรรมกถา
ให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยลีลา
ตั้งแต่ต้นจนกว่าสิ้นสุดลง
** บริวารห้าร้อยสามาวดี
ได้เอื้อนเอ่ยพาทีจุดประสงค์
บอกขุชชุตตราด้วยจำนง
ให้พาไปเฝ้าองค์พระสัมมา
** ขุชชุตตราบอกว่าไม่ได้แน่
เพราะพวกแม่มีจำนวนมากนักหนา
ประกอบกับเป็นคนของราชา
เราไม่อาจจะพาพวกนางไป
** เหล่างามงอนอ้อนวอนขอร้องว่า
เพียงแค่เห็นพระศาสดาได้หรือไม่
นางจึงได้บอกกล่าวในทันใด
เราจะออกอุบายเป็นสำคัญ
** อันดับแรกเจาะช่องตามต้องการ
ที่ฝาห้องของท่านดังแม่นมั่น
พระศาสดาเสด็จทุกทุกวัน
จงถวายบังคมคัลอัญชุลี
** มีข้าวตอกดอกไม้ที่จัดหา
เพื่อบูชาสมเด็จพระชินศรี
ตอนพระองค์เสด็จมาอย่าช้าที
จงน้อมใจภักดีถึงพระองค์
** หญิงเหล่านั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว
ใจผ่องแผ้วสดใสสมประสงค์
ได้น้อมจิตนำใจใฝ่จำนง
เพื่อมุ่งตรงศรัทธาอย่างถาวร
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#28 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:56:21 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน ประวัติหน้าต่าง
** พระนางมาคันทิยามารศรี
จอมขวัญเจ้าธานีมิ่งสมร
ไปสู่ที่อาศัยของงามงอน
โฉมบังอรบาทบริกาสามาวดี
** เมื่อเห็นช่องจึงร้องถามไปว่า
ช่วยบอกหน่อยเถิดหนาอะไรนี่
นั่นช่องโหว่มากมายหลากหลายมี
คืออะไรบอกชี้ที่เป็นมา
** บรรดานางห้าร้อยเอ่ยถ้อยเฉลย
พระคุณเอ๋ยช่องนี้ดีนักหนา
เราทั้งหลายใช้กราบไหว้พระศาสดา
น้อมบูชาด้วยใจในพระองค์
** ครั้นรู้ว่าพระศาสดามาที่นี่
วางแผนการทันทีดังประสงค์
จะกำจัดศัตรูด้วยจำนง
พุทธองค์สามาวดีที่หมายปอง
** รีบกราบทูลพระภัสดาว่าบัดนี้
สามาวดีปันใจไปเป็นสอง
พร้อมด้วยหญิงห้าร้อยในครอบครอง
พระองค์ต้องจัดการอย่านานวัน
** หากช้าไปพระองค์คงตายแน่
คนผันแปรคงทำร้ายอย่างแม่นมั่น
รีบกำจัดเสียก่อนอย่าช้าพลัน
ก่อนจะถูกฆ่าฟันให้บรรลัย
** พระราชาทรงคิดพินิจดู
ก็ทรงรู้ว่ามันสุดวิสัย
สามาวดีเป็นคนดีไม่มีภัย
ไม่สงสัยในตัวนางอย่างกล่าวกัน
** มาคันทิยาทูลราชาถึงสามครั้ง
แต่ก็ยังเฉยอยู่ดูเป็นหมัน
จึงกราบทูลเชื้อเชิญองค์ราชัน
จงไปดูที่พักมันจะเข้าใจ
** อุเทนราชยุรยาตรทอดพระเนตร
เพื่อทรงทราบสาเหตุเป็นไฉน
ตรัสถามทุกทุกคนเป็นอย่างไร
จงเล่าแจ้งแถลงไขมาอ้างอิง
** เหล่าบาทบริกาสามาวดี
เอ่ยวจีกราบทูลมูลทุกสิ่ง
ได้เจาะช่องตามที่เห็นเป็นความจริง
เพื่อกราบไหว้องค์มิ่งจอมโมลี
** องค์ศาสดาเสด็จมาเพื่อโปรดสัตว์
เป็นกิจวัตรขององค์พระทรงศรี
เพราะศรัทธาเลื่อมใสในภูมี
ใช้ช่องนี้บูชาพระพุทธองค์
** ท้าวอุเทนทรงทราบเรื่องไม่เคืองขุ่น
ทรงรับสั่งให้ทำบุญตามประสงค์
ให้ปิดช่องของเหล่านวลอนงค์
แล้วจึงทรงอนุมัติให้จัดการ
** ทรงโปรดให้สร้างหน้าต่างน้อย
ไว้ใช้สอยทุกห้องเป็นมาตรฐาน
นับตั้งแต่นั้นมาทุกอาคาร
สวยตระการด้วยหน้าต่างอย่างเท่ากัน
** ได้ยินว่าหน้าต่างเกิดขึ้นแล้ว
เป็นครั้งแรกในวังแก้วใช่เสกสรร
ถือว่าเป็นตำนานมานานครัน
จึงยกมาให้ท่านได้พิจารณา
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
[/ur]
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
นักกลอนผู้รอบรู้
ออฟไลน์
กระทู้: 416
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
|
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
«
ตอบ
#29 เมื่อ:
21 มีนาคม, 2559, 08:59:33 PM »
หน้าแรก
Re: พระนางสามาวดีคำกลอน
เล่าเรื่องพระนางสามาวดีคำกลอน
โดย สมพงศ์ ชูสุวรรณ
***************************
ตอน พระศาสดาผจญกับการแก้แค้น
** พระนางมาคันทิยามารศรี
แสนเจ็บปวดฤดีแทบผวา
ทำอะไรไม่สำเร็จเลยสักครา
จึงหันมาทางด้านพุทธองค์
** ได้กะเกณฑ์ชาวเมืองนอกศาสนา
ให้ช่วยกันก่นด่าเพราะความหลง
มุ่งพระศาสดาโดยเจาะจง
ให้หนีไปสู่ดงกลางพงไพร
** อันถ้อยคำที่ด่ามีปรากฏ
รวมทั้งหมดสิบข้อขอขานไข
เจ้าเป็นโจร เป็นพาล เป็นบ้าไป
เป็นอูฐ เป็นวัวไง และเป็นลา
** เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน
สุคติไม่ประสานอย่าใฝ่หา
ทุคติเป็นที่หมายได้พึ่งพา
อย่าอยู่เลยรีบเข้าป่าไปโดยพลัน
** พระอานนท์กราบทูลพระศาสดา
ถูกเขาด่าเขาว่าอย่างมหันต์
จะทนอยู่ต่อไปทำไมกัน
ให้พวกมันจ้วงจาบแสนหยาบคาย
** พระพุทธองค์ทรงถามจะไปไหน
ตอบว่าไปให้ไกลจากเป้าหมาย
ที่แห่งอื่นยังมีอีกมากมาย
ซึ่งเราจะพักกายให้สุขใจ
** พระพุทธองค์ทรงถามถ้าถูกด่า
เป็นอย่างนี้อีกคราทำไฉน
พระอานนท์รีบตอบโดยเร็วไว
เราก็จะหลีกหนีไปให้ไกลตา
** พระศาสดาตรัสว่าถ้าเช่นนั้น
เราจะต้องหนีกันถึงไหนหนา
เรื่องราวเกิดก็หนีกันทุกครา
เป็นอันว่าชาตินี้หนีร่ำไป
** พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าอานนท์เอ๋ย
ทำอย่างนี้ไม่ดีเลยเข้าใจไหม
เมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ณ ที่ใด
ก็จงให้ระงับในที่เดียวกัน
** เมื่อใดที่พญาคชสาร
ออกทำศึกห้าวหาญไม่ไหวหวั่น
ต้องอดทนต่อลูกศรนับอนันต์
ที่ข้าศึกพากันยิงทุกทาง
** เปรียบตัวเราผู้เป็นศาสดา
ย่อมอดทนต่อคำด่าและถากถาง
ของพวกคนทุศีลจิตเลือนลาง
เฉกเช่นพญาช้างในสงคราม
** พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อไปว่า
เรื่องจะเงียบในไม่ช้าอย่าเหยีดหยาม
อีกเจ็ดวันข้างหน้าจะจบความ
ของพวกที่พยายามทำลายเรา
** อธิกรณ์เกิดแก่พระพุทธเจ้า
ไม่ยืดยาวเหมือนกับคนอื่นเขา
ครบเจ็ดวันเรื่องราวจะบางเบา
หยุดนิ่งไปไม่นำเอามาพูดจา
สมพงศ์ ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
ชลนา ทิชากร
,
รพีกาญจน์
,
masapaer
บันทึกการเข้า
สมพงศ์ ชูสุวรรณ ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ตและทุก ๆ แหล่งข้อมูลครับ
~รวมทุกสำนวนของ"สมพงศ์ ชูสุวรรณ"ครับ ~
หน้า:
1
[
2
]
3
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
บทกลอนไพเราะ
-----------------------------
=> กลอนรัก
=> กลอนเศร้า
=> กลอนคิดถึง
=> กลอนงอนง้อ
=> กลอนคลายเครียด
=> กลอนให้แง่คิด
=> กลอนอวยพร
=> บทประพันธ์อันน่าประทับใจ
=> กลอนเปล่า
=> เรื่องสั้น แนวนิยาย
-----------------------------
อารมณ์กลอน
-----------------------------
=> การใช้งานบอร์ด-แจ้งปัญหา
=> สมาชิกแนะนำตัว
=> สารบัญกลอน สมาชิกกลอน
=> ห้องเรียนรู้คำประพันธ์
=> โคลง
=> ฉันท์ กาพย์ ร่าย
=> กลบท
=> คำคมอารมณ์กลอน
===> หมวดความรัก
===> หมวดเศร้า - อกหัก
===> หมวดการให้แง่คิด
===> หมวดคลายเครียด
-----------------------------
คุยเรื่องร้อยแปดชาวอารมณ์กลอน
-----------------------------
=> กระดานประชาสัมพันธ์สำหรับสมาชิก
=> คุยได้ทุกเรื่อง
=> ดูหนัง-ฟังเพลง-คลิปความบันเทิง
=> ขอความช่วยเหลือในการแต่งคำประพันธ์
-----------------------------
กฎระเบียบและการจัดการประกวดคำประพันธ์
-----------------------------
=> ห้องประกวดคำประพันธ์
กำลังโหลด...