Username:

Password:


  • หน้าแรก
  • ห้องสนทนา
  • ช่วยเหลือ
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
เว็บไซต์อารมณ์กลอน เว็บไซต์สำหรับผู้มีกลอนในหัวใจ.. >> อารมณ์กลอน >> ห้องเรียนรู้คำประพันธ์ >> ** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **
หน้า: [1]   ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **  (อ่าน 16359 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุวัฒน์ ไวจรรยา
ที่ปรึกษาเว็บไซต์
*
<font color=gray><b>ออฟไลน์</b></font> ออฟไลน์

กระทู้: 2202



อีเมล์

ผู้เริ่มหัวข้อนี้
| |
** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม, 2559, 10:59:39 AM »
หน้าแรกหน้าแรก

** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **

-------------------------
* เด่น - เช่น - เร่ง - เข้ม - เมฆ - เสก - เสพ ฯลฯ  เหล่านี้ล้วนเป็น คำที่อ่านออก "เสียงยาว" ครับผม



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
จั่นเจา, สิริวตี, รพีกาญจน์, ❀ Sasi ❀, masapaer
บันทึกการเข้า

~รวมทุกสำนวนของ"อาจารย์สุวัฒน์ ไวจรรยา"ครับ~

สิริวตี
นักกลอนระดับเพชรยอดมงกุฎ
********
<font color=gray><b>ออฟไลน์</b></font> ออฟไลน์

กระทู้: 4732



สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..

ชนะ

สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..

ปากกาเงิน




| |
Re: ** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 กรกฎาคม, 2559, 11:16:06 AM »
หน้าแรกหน้าแรก

Re: ** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ได้ความรูเะมขึ้นมากทีเดียว...สระเอะ แอะ มีตัวสะกด หาคำยากมากเลยเนอะคะอาจารย์

สิริวตี
 



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
รพีกาญจน์, สุวัฒน์ ไวจรรยา, ❀ Sasi ❀, masapaer
บันทึกการเข้า

~รวมทุกสำนวนของ"สิริวตี"ค่ะ~
สุวัฒน์ ไวจรรยา
ที่ปรึกษาเว็บไซต์
*
<font color=gray><b>ออฟไลน์</b></font> ออฟไลน์

กระทู้: 2202



อีเมล์

ผู้เริ่มหัวข้อนี้
| |
Re: ** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 กรกฎาคม, 2559, 02:27:20 PM »
หน้าแรกหน้าแรก

Re: ** อีกสักครั้งกับคำที่ใช้ไม่ไต่คู้ ( -็ ) **
หลักการใช้ ไม้ไต่คู้
-----------
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
๑.ใช้กับคำไทยแท้ที่ออกเสียงสั้น  เช่น
๑.๑ สระเอะ  เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนพยัญชนะต้นไว้ตรงกลางระหว่างสระเอ กับสระอะ
เมื่อมีตัวสะกดสระอะจะเปลี่ยนรูปเป็นไม้ไต่คู้  เช่น
ล – เ  – ะ – บ  =  เล็บ,  ก – เ  – ะ – ง   =  เก็ง
๑.๒ สระแอะ  เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนพยัญชนะต้นไว้ตรงกลางระหว่างสระแอ กับสระอะ
เมื่อมีตัวสะกดสระอะจะเปลี่ยนรูปเป็นไม้ไต่คู้  เช่น
ข – แ  – ะ – ง  =  แข็ง
๑.๓  สระเอาะ  เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนพยัญชนะต้นตรงกลางถ้ามีตัวสะกด
สระจะลดรูปไปหมดและจะกลายเป็นตัวออกับไม้ไต่คู้  เช่น
ล – เ  – าะ – ก  =  ล็อก
๑.๔ ถ้า ก.  เป็นพยัญชนะต้นใช้วรรณยุกต์โท แต่ไม่มีตัวสะกดสระทั้งหมดจะหายไป
แล้วใช้ไม่ไต่คู้แทน เช่น
ก – เ  – าะ +วรรณยุกต์โท – เ ก้าะ   =  ก็
๒.คำไทยที่แผลงมาจากภาษาบาลีสันสกฤต ไม่ใช้ไม้ไต่คู้ เช่น
เบญจ เบญจา เพชร  เพชฆาต  เวจ  อเนจอนาถ ฯลฯ
๓.คำที่มาภาษาอื่นบางคำให้ใช้ไม้ไต่คู้ เช่น
เสด็จ เท็จ  เพ็ญ  ( เขมร)
ตาเต็ง (จีน=หัวหน้าคนงาน)   
เช็ค แร็กเกต  เซ็น ช็อคโกแลต เต็นท์  ( อังกฤษ )
(จากเว็บฯ การเขียนสะกดคำในภาษาไทย  โดย  สุภาวรรณ เลิศศรี)
-------------
ไม้ไต่คู้
------
ไม้ไต่คู้ (   ็ ) เป็นเครื่องหมายกำกับอักษร มีรูปเหมือนเลขแปดไทย (๘) ใช้วางบนตัวอักษร
เพื่อทำให้คำที่มีไม้ไต่คู้นั้นมีเสียงสระสั้นลง เช่น ก็ เก็ง เก็บ เต็ม เห็น เด็ก แข็ง
ในหนังสือจินดามณี ฉบับ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เรียกไม้ไต่คู้ว่า ไม้คู้ โดยมีคำอธิบายว่า
ไม้คู้ที่มีรูปเหมือนเลขแปดและใช้อ่านคำให้สั้นเข้ากึ่งหนึ่งนั้น เปรียบเหมือนกับคนเหยียดแขนออก
แล้วคู้เข้ามากึ่งหนึ่ง แขนก็จะสั้นเข้ามา หรือเหมือนกับเชือกที่ยาว ๑๐ วา คู้ทบเข้ามาครึ่งหนึ่ง
ก็จะสั้นเหลือ ๕ วา เป็นต้น
ในภาษาเขมรก็มีเครื่องหมายไม้ไต่คู้ เรียกว่า เลขอสฺฎา (อ่านว่า เลก-อัด-สะ-ดา) แปลว่า เลขแปด
ซึ่งศาสตราจารย์ฉ่ำ  ทองคำวรรณ กล่าวไว้ในหนังสือหลักภาษาเขมรว่า เครื่องหมายไม้ไต่คู้ไม่ปรากฏในอักขรวิธีภาษาเขมรโบราณ เข้าใจว่าภาษาเขมรรุ่นหลังคงจะเขียนตามอย่างไม้ไต่คู้ของไทยตั้งแต่
สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา
ปัจจุบันเราใช้ ไม้ไต่คู้ (   ็ ) ในคำว่า ก็ และคำที่ประสมด้วยสระเอะ แอะ เอาะ
เมื่อมีตัวสะกดเพื่อแสดงเสียงสั้น เช่น เข็ม เป็น แกร็น ช็อก ล็อก ค็อกคัส ย็อกแย็ก ว็อบแว็บ
ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
(บทความของสำนักงานราชบัณฑิตสภา



ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :
สิริวตี, ❀ Sasi ❀, รพีกาญจน์, masapaer
บันทึกการเข้า

~รวมทุกสำนวนของ"อาจารย์สุวัฒน์ ไวจรรยา"ครับ~
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC
Simple Audio Video Embedder
| Sitemap
NT Sun by Nati

หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.36 วินาที กับ 71 คำสั่ง
กำลังโหลด...