|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
ตอนที่ ๔ นิราศตาปี
หน้าน้ำหลากมีแพล่องจากคลองปัน เช้าตรู่วรรณขออาศัยในกระแส นิราศร้างมากลางชลหม่นดวงแด พร้อมอัฐิของพ่อแม่ น้ำตาคลอ
เป็นห่วงหลังมิเคยร้างห่างถิ่นฐาน ข้างหน้าการณ์จะเป็นไปไฉนหนอ ทอดอาลัยมาในคลองคอยมองตอ ขวางคลองพอได้ค้ำแพเสียแต่ไกล กลบทบุษบงแย้มผกา.
แพเล็กใหญ่เริ่มจากไผ่มารวมรวบ แพลูกบวบช่วยพยุงซุงลอยไหล แพเรือล่องสภาพคลองต้องเข้าใจ แพชีวิตมีอภัยผูกใยรัก
แพสังคมดุจไม้จมและไม้ลอย แพรัฐร้อยคนดีร้ายไว้ด้วยหลัก แพลอยไปถึงที่หมายไม่ง่ายนัก แพเมื่อพบอุปสรรค์มักผันแปร ..............................
บนแพท่านผู้ชราชื่อตาขำ เ สร็จพิธีกรรมร่ำสุราหน้าแดงแจ๋ เป็นครูหมอ*ขวัญลูกหลานท่านดูแล ถึงเฒ่าแก่ทุกคนย้ำความสำคัญ
สร้างความหวังกำลังใจให้ลูกหลาน ประสบการณ์มีมากมายได้สร้างสรรค์ ท่านสืบทอดภูมิปัญญาสารพัน หน้าที่นั้นเล่านิทานอันมีมา
ออกจากทับ*มองเห็นวรรณนั้นเหงาหงอย จึงได้ค่อยย่างเท้าก้าวเข้ามาหา วรรณดีใจพนมไหว้ชายชรา เจรจาพอให้หายคลายกังวล
แล้วกล่าวว่าตาจะเล่าเค้ามูลบ้าน เมื่อแพผ่านไปถึงแหล่งทุกแห่งหน เจ้าจงจำนำสืบสานลูกหลานตน เกิดเป็นคนให้เห็นคุณมูลอัตตา
ตำนานเก่าหรือเค้าความนำเล่าไว้ มิรู้แจ้งเร่งสนใจใฝ่ศึกษา อันเรือนบ้านย่านตาปีนี้วัฒนา ตราบธาราเป็นวิถีที่จุนเจือ ----------------------------------------------------- ครูหมอ ผู้นำการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวบ้าน ทับ เพิงพักขนาดเล็กที่สร้างขึ้นพอได้บังแดดฝนชั่วคราว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
42 แม่ศรีวรรณทอง คลองตาปีในย่านนี้ปลามีมาก เข้หลายหลากตามอาหารอันล้นเหลือ สมัยก่อนหาปลาง่ายใช้ลอยเรือ พายขึ้นเหนือแล้วปล่อยเลียบตลิ่งมา
เอาไม้พายจ้วงตีน้ำขึ้นตั้มตุ้ม ปลาชุกชุมอยู่เป็นฝูงทั้งซ้ายขวา ปลาตกใจจะดีดโจนลงนาวา ตีหลายคราอาจหนักล้นจนเรือจม
เรือทุกลำต้องทำกรงเอาลงครอบ เข้นั้นชอบกัดคนเช่นเด็กเห็นขนม สิ่งล่อใจปลากุ้งใหญ่อันอุดม เรือจะล่มเข้จะดุยังสู้ตาย ถึง“บ้านนูน”บ้านคงนูนขึ้นเหนือน้ำ มีที่ต่ำรายอยู่รอบขอบความหมาย จริงตามเค้าหรือเล่าเพิ่มจนเริ่มกลาย บ้านประปรายบนดอนมีชี้ความนูน
ผ่านบ้านนูนเลยถึงย่านบ้าน“หานทราย” ป่าค่อยหายอีกไม่นานหานคงสูญ ทรายเลื่อนไหลเมื่อไร้ป่ามาเกื้อกูล ไม่เพิ่มพูนอนุรักษ์มักไม่นาน
ผ่านหานทรายไปถึงย่านบ้าน“ไสขรบ”* ไม่ค่อยพบเห็นบ้านใครสุดปลายย่าน จะหาเห็นเป็น “ต้นขรบ”ไม่พบพาน ชื่อก็ขานอยู่ป่าไส*ใช่ริมคลอง
วรรณฟังเรื่องที่ตาขำนำมาเล่า เ ค้านามเก่าของหานทรายพอคลายหมอง ผ่านไสขรบชวนขบคิดจิตไตร่ตรอง ลมล่องคลองตะวันบ่ายเย็นกายใจ
ถึง“คลองเหียน”หรือคลองนั้นมันหันเหียน จนวิงเวียนตามคลองคดหมดสงสัย แต่ตาขำมิอาจเน้นความเป็นไป ปล่อยแพไหลตลอดย่านบ้านไม่มี
พงอ้อรายไม่มีท่าป่ารกร้าง ให้อ้างว้างมิได้ยินว่าถิ่นที่ ปลายยางยูงฝูงลิงค่างบ่างชะนี เสียงอึงมี่โจนเล่นไล่ไม่เกรงกัน เลยแนวป่ามาใกล้ย่านบ้าน“ปากสาย” เห็นไร่รายปลูกฟักแตงดูแข็งขัน ข้าวโพดบ้างข้าวฟ่างสลับกับแปลงมัน ปากคลองนั้นบ้านแน่นหนาเบิ่งตามอง
ในย่านนี้ที่เรียกขานบ้าน“ควนร่อน” แต่แน่นอนมี “ปากสาย”คล้ายชื่อสอง บนควนนั้นคงเคยร่อนก้อนแร่ทอง สายนั้นคลองชื่อว่า “สาย”ไหลล่องมา
-------- -- --------------------------- ไส ป่าที่ผ่านการถางโค่นแล้วจุดไฟเผา เพื่อทำไร่ ครั้งหนึ่งแล้วง เรียกว่าไส เมื่อทิ้งไว้จนต้นไม้ขึ้นรกเป็นป่าอีกเรียกว่าป่าไส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
44 แม่ศรีวรรณทอง เป็นทางผ่านคนเหนือย่านบ้านนี้ไซร้ จากถิ่นไหนต้องผ่านแท้แน่นักหนา ควนร่อนเป็นเช่นประตูสู่พารา เป็นรอยต่อของบ้านป่า ศิวิไลซ์
จากคลองปันดินแดนไกลในไพรสณฑ์ ขึ้นรถยนต์หรือสองล้อก็พอไหว แต่หน้าฝนรถไม่คล่องต้องเดินไกล ต่อรถไฟที่ “บ้านส้อง”ขึ้นล่องมี
คนคลองปันเขาเรียกกันว่าคนเหนือ ใช่หน่อเนื้อเชื้อชาวเวียงเพียงเสียดสี อันเหนือนั้นคือหยามหลู่อยู่ในที เหนือถิ่นที่ชาวบ้านเมืองเขาเฟื่องฟู
อยู่“เขาปด”บ้าน“น้ำดำ”“โตรม”“สามพัน” ห่างไกลครันไร้รถบ้านร้านเลิศหรู ถึง “บ้านส้อง”ร้องโอ้โฮโก้น่าดู รถหลายตู้คือรถไฟให้ตื่นตา
ปากต่อปากต่างเล่าขานลือกันใหญ่ เหนือกิ้งกือที่ฝันไว้หลายร้อยขา ความตื่นใจโลกที่ไม่เคยเห็นมา จนซุ่มซ่ามทำเซ่อซ่าน่าติติง
ถึงดูเชยดูเปิ่นเปิ่นทั้งเขินเคอะ ทำเซิงเซอะจนใครใครไม่สุงสิง แม้รุ่งเรืองอาจเสื่อมได้ให้ประวิง ต่ำต้อยยิ่งอาจวัฒนามาเทียมทัน
กลบทวัวพันหลัก.
เกิดเป็นหงส์อย่าทะนงว่าทรงศักดิ์ ศักดิ์เสื่อมลงหงส์ปีกหักมักถูกหยัน หยันเขานักมักโดนหมายไว้สักวัน วันพลาดพลั้งถึงทางตันจะเจ็บตัว
ตัวตนใจอยู่ภายในยิ่งใหญ่กว่า กว่าหัวโขนหมวกชฎาที่สวมหัว หัวหน้ายศศักดินาพาเมามัว มัวเพลินใจในทางชั่วพาตัวตาย ...................................
ผ่าน“ปากเหยียน”ใครหรือเหยียนเตียนถากถาง คนเดินทางมิอาจซึ้งถึงความหมาย ปล่อยแพล่องตามคลองไปใจสบาย ครั้งตายายเหยียน*ขี้ไต้ให้ติดไฟ ผ่าน“หานหมวย”คงหมายว่าปลามีหลาย ได้มากมายหมายว่า“หมวย”*เสียไม่ไหว พอนานอดเพราะหมดปลาว่าซวยไป มีหรือหวังสมดังใจได้ทุกครา
----------------------------- - [/color][/size] เหยียน พื้นบ้านใช้ในความหมายว่าเหยียดหยามอย่างรุนแรง หรืออาการที่ช้างใช้เท้าเหยียบแล้วขยี้คนหรือสัตว์ หรือการขยี้ขี้ไต้ให้หลุดออกเพื่อให้ไฟลุกโชนขึ้น หรือขยี้อย่างแรงและรวดเร็วเพื่อดับไฟ หมวย โชคในการจับปลาดี หาได้โดยง่าย มากๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
ธนุ เสนสิงห์ 45 ถึง “บางทะลุ”ทะลุช่องลัดคลองโค้ง น้ำไม่โกงเมื่อตรงได้ตรงไปหน้า เพลินน้ำใสใกล้เย็นย่ำสนธยา วอนเทวาท่านอารักษ์ขอพักคืน
ตอเพิงหวายรายชายคลองให้ข้องขัด ถ้าไม่หมัด*มืดลำบากไม่อยากฝืน เตรียมหวายเดา*เรียงคนรายท้ายแพยืน ใช้ดุ้นฟืนตีสัญญาณทำงานพลัน
ลากหวายโหนโจนลงในสายน้ำหลาก เป็นงานยากต้องมีแรงอันแข็งขัน เสียจังหวะเกิดติดขัดหมัดไม่ทัน แพย้อน*เฉี่ยวเที่ยวบ้าหวัน*อันตราย
แต่เย็นนั้นวรรณเตรียมปรุงหุงอาหาร ทำเชิงกรานฟืนสุมวางอย่างง่ายง่าย ไม้แห้งกองสองฝั่งฟากมีมากมาย หุงข้าวสบายด้วยปล้องไผ่ที่เตรียมมา
ใต้ข้อไผ่ตัดออกเป็นปากกระบอก ข้าวสารกรอก แล้วใช้ใบพ้อ* อุดฝา ตั้งพิงกลุ่มสุมฟืนใส่รอไฟรา มินานช้าหอมตลบอบอวลแพ
เบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนไว้รอล่อมัจฉา มากมิหาแค่พอเพียงไม่เหวี่ยงแห ผักอุดมยอดหวายขม ชะมวง แค แกง ต้มแต่ล้วนเลือกใช้บอก*ไผ่เรียง ยินวิหคเหล่านกกาบนคาคบ ไล่จิกรบแย่งคอนกันสนั่นเสียง ทั้งลิงค่างกลางไพรพงส่งสำเนียง พอค่ำลงก็เหลือเพียงหริ่งเรไร
โอ้ย่ำค่ำยามเมื่อค้างกลางสายน้ำ วรรณหนาวล้ำทั้งเหว่ว้าจักหาไหน ตาขำดูก็พอรู้ความในใจ จึงชวนให้สนทนาเฮฮากัน
เหล้าขาวมีที่เตรียมมาคว้าออกตั้ง ตาขำนั่งคนแพรวมร่วมสังสรรค์ ของใช้กินรินเหล้ายามาแบ่งปัน เกร็งทั้งวันผ่อนเส้นสายสบายอุรา
------------------------ ---------------------
หมัด การผูกโยงแพ(ภาษาถิ่น) การผูกมัดที่มีแรงดึง หรือที่มีการกวดให้ตึง หวายเดา หวายใหญ่จากป่าลึกในท้องถิ่น ขนาดที่ใช้ โคนประมาณ 2” ปลายประมาณ 1” ยาว 10-20 เมตร ย้อน ปะทะ กลับหน้ากลับหลัง ภาษาถิ่นใช้ในความหมายว่า ชน กระแทกบ้าหวัน ขวาง หมุนไปมาไม่รู้ทิศทาง พ้อ(กะพ้อ) ไม้ตระกูลปาล์ม ขนาดเล็ก licuala spina ใบใช้ห่อข้าวเหนียว ข้าวต้ม ทำจุกข้าวหลาม สุกแล้วจะช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอม บอก กระบอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
ธนุ เสนสิงห์ 47 เมือง“เวียงสระ”*ก่อนเก่าตามตำนานชี้ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชผู้เป็นใหญ่ หนีโรคร้ายคือไข้ห่าพร้อมข้าไท จากแดนไกล “คีรีรัฐ”*นครมา
ได้สร้างบ้านแปลงเมืองไว้ให้เรืองรุ่ง หมายผดุงชนและชาติศาสนา ก่อสร้าง “วัดเวียงสระ”อันตระการตา สร้างไร่นาคือ“ทุ่งหลวง”ให้ปวงชน
ไข้ห่าเป็นเช่นผีร้ายหายไปนาน ตามรังควานมาผลาญเผาเอาอีกหน ต้องหลบลี้หนีไข้ห่าพาผู้คน ข้ามเขาด้นมุ่งหมายไปชายทะเล ตาขำยั้งตั้งนิทานอันยืดยาว ข้ามเรื่องราว “ละหานคน”พ้นหันเห ถึง “มอเก็ด”ราวบ่ายสามตามคะเน แพเรียงรายให้เรือเมล์เข้าจอดเคียง
แถวถิ่นนี้มีอู่เรือน่าเชื่อถือ “เรือมอ” คือเรือมาดที่มีชื่อเสียง เรือใหญ่มากถากสะเก็ดไม้รายเรียง นานเหลือเพียงแต่“มอเก็ด”เป็นเหตุมา
ถึง “คลองโร”ลือกันมาว่าเข้ร้าย ขยับกายไกลขอบแพดวงแดผวา ยินเสียงเครื่องเรือหางดังหลังธารา เร่งยาตราที่เห็นมีกว่าสี่ลำ
สี่ลำทาบขนาบแพแลซ้ายขวา ลำหนึ่งชิดติดแพหน้าพบตาขำ คนยกปืนขึ้นลำกล้องพูดสองคำ ไม่ต้องย้ำทราบความหมายให้“สักแพ”
ตาขำรู้อยู่แก่ใจแต่ได้เห็น พวกมันเป็นเหล่าโจรร้ายในกระแส อิทธิพลมากนักหนานะพวกแก คิดว่าแน่มาข่มเหงไม่เกรงใคร
กว่าจะได้เป็นแพนั้นมันลำบาก บุกป่าเขาต้องเหนื่อยยากหนักแค่ไหน ชุบมือเปิบกันจริงนะช่างกระไร คิดในใจเสียนานมาไม่กล้าวอน สาววรรณทนไม่ไหวตั้งใจช่วย ขอร้องด้วยถ้อยสำเนียงเสียงออดอ้อน หัวหน้าเห็นเป็นสาวงามอรชร อันแต่ก่อนนั้นตั้งใจได้แค่แพ -------------------------------- เวียงสระ ปัจจุบันเป็น อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ทุ่งหลวง ปัจจุบันเป็น เทศบาล ทุ่งหลวง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี คีรีรัฐ อ.คีรีรัฐนิคม เดิมเรียกท่าขนอน เป็นท่าด่านที่เก็บอากร เรือสินค้าที่ขนสินค้าไปมาระหว่าง ทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
48 แม่ศรีวรรณทอง บัดนี้พลันมันได้ทีเกินที่หมาย จักฉุดไปสาวหรือหม้ายไม่แยแส พอจะจับต้องผงะตะลึงแล เห็นงูแผ่แม่เบี้ยชูอยู่รายเรียง
เรือก็โคลงเคลงไปมาท่าจะคว่ำ เข้ฟาดน้ำตูมตามลั่นสนั่นเสียง ริมแคมเรืองูขู่ฟ่อส่อสำเนียง เข้ก็เอียงอ้าปากค้างอยู่ข้างเรือ
โจรตระหนกหัวอกสั่นจนขวัญหาย กลัวงูร้ายโดดน้ำไปคงไม่เหลือ พวกนี้มีภูตผีป่ามาจุนเจือ สิ้นลายเสือเร่งเรือหนีว่าผีอำ
ตาขำยังนึกแปลกใจอะไรนี่ พ่อตา*ที่แห่งใดมาอุปถัมภ์ ต่างคนก็ไม่เข้าใจว่าใครทำ ไว้หัวค่ำเมื่อร่วมวงคงคุยกัน
แพลอยล่องลำคลองไปค่อยคลายหมอง เกือบจะต้องสูญเสียแพแค่เสียขวัญ หลังขอบคุณท่านพ่อตาด้วยตื้นตัน ยังรำพันถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา
คนแก่เฒ่าจะเอาแรงขันแข่งใคร ยังจำได้นิทานมีดีนักหนา ถึง “ปากจน”ปากคลองไยไร้เงินตรา พูดอะไรไม่เข้าท่า “ปากพาจน”
แพล่องไหลไม่นานจึงถึง “ปากฉวาง” กำเนิดกลาง “เขานครศรี”ไพรสณฑ์ เลย“ฉวาง” ล่วง“นาสาร”บ้านตำบล มีผู้คนได้อาศัยใช้ไปมา แพคงลอยเลี้ยวไปตามสายน้ำหลาก มิเนิ่นนานผ่านชะวาก “ปากนาขา” ถึง “หานยาง”เห็นยูงยางข้างธารา ประเดี๋ยวหนึ่งก็ถึงท่า “ละหานดำ”
ตั้งใจไปจนให้ถึงซึ่ง “เคียนซา” แต่เวลาพอเพลินไปมักไวค่ำ ถึง “บ้านซุม”เมฆคลุมฟ้าพามืดคล้ำ จวนเย็นย่ำแพล่องมาถึง “ท่ากุล”
เคยเป็นท่า “บริษัทป่าไม้สุราษฎร์” ได้อนุญาตสัมปทานนั้นเกื้อหนุน ถึง “เทพา”วอนเทพารักษ์การุณย์ ช่วยค้ำจุนเดินทางโดยสวัสดี ------------------------------ พ่อตา เทพประจำถิ่นสถานที่ คนที่นับถือ เมื่อจะทำอะไรที่เป็นที่รบกวนท่าน จะต้องจุดธูปบอกกล่าวก่อน หรือเป็นการขอพรให้ปลอดภัย โชคดีฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
ผู้เริ่มหัวข้อนี้
|
Re: แม่ศรีวรรณทอง ตำนานบ้านย่านดินแดง (พิมพ์ครั้งที่ ๒)
ธนุ เสนสิงห์ 49 ผ่าน “อัมรัด”ขอให้ธารเป็นอำมฤต เทพประสิทธิ์พรล้ำเลิศประเสริฐศรี อยากปล่อยใจให้ฉ่ำชื่นรื่นวารี สองฝั่งมีที่ได้เห็นเป็นอรัญ
ไม่มีย่านบ้านห้องหอพออาศัย นั่งตกปลาปล่อยฤทัยให้สุขสันต์ ธารเลี้ยวลดแล้วคดเคี้ยวเดี๋ยวหมดวัน หมัดแพพลันที่หน้าย่าน “หานชะโด”
ชะโดใหญ่ในละหานเล่าขานว่า คนลงหาปลาครั้งไหนให้โมโห ไล่งับคนถือว่ามันนั้นตัวโต สุดท้ายโถ...ถูกจับกินเกือบสิ้นพันธุ์
พักแรมค้างกลางธาราหน้าละหาน ฟังนิทานเรื่องสนุกแสนสุขสันต์ พอหัวค่ำว่ายน้ำมาหารวมกัน ได้แบ่งปันของกินพลางวางแผนการณ์
ถึงที่หมายคงได้ทรัพย์รับสินจ้าง เวลาว่างเที่ยวให้สุขสนุกสนาน แต่ตอนนี้แสบคันจังยุงรังควาน พักสักคืนให้ชื่นบานเช้าอำลา
เสียงไก่ป่าขันกระชั้นเพลาเช้า ดั่งเร่งเร้าสัตว์อื่นอื่นตื่นผวา นกจากคอนคนแพจรพร้อมนกกา สายธารายังล่องไหลอีกไกลครัน ถึง“บางประ”เป็น“ลูกประ”*หรือไฉน มองผ่านไปเห็นแต่ป่าพนาสัณฑ์ ถึง “เขาตอก”ยังตอกย้ำความสำคัญ แล้งนัดกันพร้อมจับปลาชายวารี
จนใกล้ถึงบ้าน “เคียนซา”ดูคลาคล่ำ เรือหลายลำจอดเรียงรายชายวิถี ที่ขึ้นล่องมองขวักไขว่ในนที อันถิ่นนี้รุ่งเรืองมาแต่ช้านาน
คำว่า“เคียน”คือพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น มิเคยยินต้น “เคียนซา”ว่าใครขาน “เคียนทราย”บ้าง“เคียนทอง”ช่างสร้างเรือนชาน หรือโบราณหมายถึงเกวียนล้อเวียนวน
อีก “เรือเกวียน”* มาขายค้าบ้านป่าดอน กาลครั้งก่อนมี“เกวียน”มากจากทุกหน “ซาเกวียน”ค้ามาจอดค้างกลางสายชล จนบางคนยังเรียกขานบ้าน“เกียนซา”*
----------------------- ลูกประ (คำปักษ์ใต้) ลูกกระ ผลไม้ป่ามักขึ้นบนภูเขา เม็ดในกินได้มันเหมือนถั่วเม็ดเท่านิ้วชี่เรียวยาวราว 2 ข้อมือ เปลือกสีน้ำตาลดำ กินได้ทั้งคั่วสุกแบบเกาลัด และดองเปรี้ยว เคียนซา ปัจจุบันคือ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี เรือเกวียน เรือที่มีรั้วกันรอบเพื่อใส่สินค้าคล้ายเกวียน เกียน คำที่เพี้ยน มาจากเกวียนมาตราใช้ตวงข้าวเปลือกของชาวบ้าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|