«
~"ระวัง.."คำสัมผัสเลือน" และ "คำชิงสัมผัส"นะจ๊ะ..น้องรัก?"~
๐
๐ นั่งเขียนกลอนอ่อนหวานขับขานรัก
แบบแทบควักหัวใจมาใส่เขียน
หวังอนงค์หลงคำ..พร่ำจนเนียน
เสร็จวนเวียนอ่านซ้ำขำตัวเอง
๐ เขียนถึงเธอหลักร้อยคล้อยพันบท
ระดมพจน์ปรากฎในบทเก่ง
(คำว่า"พจน์" กับ"กฎ" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)ร้อยบรรเลงเพลงฝันขั้นครื้นเครง
(คำว่า"เลง" กับ "เพลง" มาก่อนคำว่า"เครง" คือ"ชิงสัมผัส"นะครับ)อย่างไม่เกรงคนอ่านนั้นเป็นครู
๐ เฝ้าจีบสาวอาจารย์งานอักษร
เห็นพธูชอบกลอนอ้อนจนอยู่
(คำว่า"พธู" มาก่อนคำว่า"อยู่" คือ"ชิงสัมผัส"นะครับ)ไม่รู้ตัวมัวสานกานท์พร่างพรู
(คำว่า"รู้"มาก่อนคำว่า"พรู"คือ"ชิงสัมผัส"นะครับ)จนโฉมตรูเห็นไส้ในงานเรา
๐ ใส่อารมณ์ลืมใส่ใจภาษา
ลืมคุณค่าฉันทลักษณ์หลักจึงเศร้า
กฎข้อห้ามละเลยเหวยใจเบา
คิดว่า เขาและเราเล่าชอบกัน
(คำว่า"เขา" กับ "เรา" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)๐ ชิงสัมผัสใส่เกลื่อนเหมือนงานเด็ก
ชินเขียนมาแต่เล็กเด็กยังขัน
สัมผัสเลือนโลเลเร่ใส่ยัน
เธอรู้ทันลดขั้นผลงานกลอน
(คำว่า"ทัน" กับ "ขั้น" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)๐ นั่งสร้างฝันสรรคำน้ำตาลอ้อย
สาวอ่านพลอยอึดอัดวัตรอักษร
เจอะหนุ่มใหม่ใส่เสน่ห์เก๋สุนทร
ใจอาจอ่อนหากป้อน..กลอนถูกใจ..
(คำว่า"อ่อน" กับ "ป้อน" คือ"สัมผัสเลือน"นะครับ)ระนาดเอก
ปล.จำง่ายๆนะครับว่า..
๑.คำ"สัมผัสเลือน"นั้นหมายถึง ตามฉันทลักษณ์นั้น ครูบาอาจารย์ ท่านให้รับสัมผัสบังคับไว้แค่เพียง"ตำแหน่งเดียว"..
..แต่ผู้แต่ง ไปเพิ่มคำรับสัมผัสมากว่า ๑ ตำแหน่ง(ผมอยากให้เรียกว่า"โลเล"ก็ได้) ส่งผลให้กลอนในวรรคนั้นจะไม่กระชับ..
..และ..คำสัมผัสเลือน จะเกิดขึ้นในวรรค ๒ - ๔ ของบทเท่านั้นนะครับ..
๒.คำ"ชิงสัมผัส"นั้นหมายถึง คำหรือสระที่เป็นรูปเดียวกัน ที่เรานำมาใช้ ก่อนที่จะถึงเสียงที่รับสัมผัสจริงน่ะครับ..
..การใช้คำเหล่านี้..จึงควรหลีกเลี่ยง..เพราะถือว่าเป็นข้อห้าม ข้อหนึ่งของทางกลอนแปดครับ..
.
..จากใจจริง..
..พี่ระนาดเอกครับ..
คัดลอกครั้งที่ / 8 ก.ค. 55
คัดลอกครั้งที่ / 16 ก.พ. 57
[/color]