ขอขยายเรื่อง "ร่ายยาว" อีกสักหน่อยครับ
ขอยกคำแนะนำจาก
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/07/K4529307/K4529307.htmlการแต่งร่ายยาวต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำและสัมผัสในให้มีจังหวะรับกันสละสลวย
เมื่ออ่านแล้วให้เกิดความรู้สึกมีคลื่นเสียงเป็นจังหวะๆอย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต"
และจำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งก็ไม่ควรให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ
คือควรให้อ่านได้ตลอดวรรคแล้วหยุดหายใจได้โดยไม่ขาดจังหวะ
ดูตัวอย่างได้ในหนังสือ เวสสันดรชาดก
ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์หรือบทสวดที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์ธรรมวัตร
เมื่อจบความตอนหนึ่งๆมักลงท้ายด้วยคำว่า :- นั้นแล, นั้นเถิด, นี้แล, ฉะนี้แล, ด้วยประการฉะนี้
คำว่า "นั้นแล" นั้นนิยมใช้เมื่อสุดกระแสความตอนหนึ่งๆหรือจบเรื่อง
เมื่อลง "นั้นแล" ครั้งหนึ่งเรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อมาจากคำ "นั้นแล" นั่นเอง
เพราะเวลาว่าทำนองจะได้ยินเสียง "นั้นแล" เป็น "นั้นแหล่"
=====
หากเรานำเกณฑ์มาปรับใช้กับ กลอนเปล่า
ก็อาจกล่าวได้ว่า
การแต่ง กลอนเปล่า ต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ
และ (สัมผัสใน - มีหรือไม่ก็ได้) ให้มีจังหวะรับกันสละสลวย
เมื่ออ่านแล้วให้เกิดความรู้สึกมีคลื่นเสียงเป็นจังหวะๆอย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต"
จำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งก็ไม่ควรให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ
คือควรให้อ่านได้ตลอดวรรคแล้วหยุดหายใจได้โดยไม่ขาดจังหวะ