ผมเขียนบ่อยกว่ากลอนในช่วงแรก .. จึงค่อยๆคล่องขึ้น
แต่ยังไม่ได้อย่างใจครับ .. ยังเป็นนักเรียนฝึกหัดเหมือนเดิม แต่รู้จักคำมากขึ้น
พอดีว่าในบรรดากวีซีไรต์ .. คมทวน คันธนู เป็นผู้รอบรู้เรื่องฉันทลักษณ์จนดูเหมือนจะเหนือกว่าทุกคน
ทั้งเรื่องเสียงท้ายวรรคซึ่งอาศัยการเอื้อนทำนองเสนาะ (ที่เราเคยท่องตอนเรียนชั้นประถมนั่นแหละครับ)
และด้วยเสียงนี้เองที่เป็นตัวกำกนดเสียงท้ายวรรค
เรามักติดหูกันจากกลอนแปดว่าท้ายวรรคสอง เสียงจัตวาไพเราะที่สุด
พอไปเขียนกาพย์ เขียนฉันท์ก็เอาตามนั้น ซึ่งเสียงไม่ค่อยเหมาะ เพราะทำนองเสนาะเสียงต่างกัน
ท้ายวรรคสองของกาพย์ และฉันท์จึงควรเป็นเสียงสามัญ จะดีที่สุด และท้ายวรรคสามวรรคสี่ ถึงจะเป็นเสียงจัตวา
ผมก็เลยเอาตามแต่นั้นเรื่อยมา ..
กลบทธงนำริ้ว .. เห็นผ่านตาอยู่บ้างในโคลงที่เขียนกัน
ผมมีความเห็นว่า .. คำซ้ำควรเป็นคำที่"ซ้ำจนคุ้นหู" ที่มิใช่จะเอาคำอะไรก็ได้มาซ้ำ คือควรมีบริบทของสำนวนที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันนะครับ
เห็นเห็น .. อยู่ว่ามันกำลังหลงผู้หญิง...
ร่ำร่ำ .. จะเป็นจะตายพอเขาไม่รักตอบ...
ดูดู .. ไปจะเหมือนคนไม่รู้จักแยกแยะ...
เรื่อยเรื่อย .. แบบนี้จะทันเขาได้อย่างไร
มองมอง .. ดูแล้วท่าทางจะไปไม่รอด..
ใดใด .. ในโลกนี้ไม่แน่นอน จำไว้เถิด
ไหนไหน .. ก็มาถึงป่านนี้แล้ว ตัดใจซะ
ใครใคร .. เขาก็รู้กันทั้งเมืองว่า she เจ้าชู้
แลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ