[/left]
ฝนฟ้ามาสู่พื้น ชุ่ม(ฉ่ำ) ชี(วา)
หากแต่ถ้ากระ(หน่ำ) ร่ำไห้
คนจักแย่ครวญ(คร่ำ) ซ้ำอยู่ บ่(สุข)
ต้องตื่นเสียงฟ้า(ร้อง)จิ่งแท้หวาดกลัว
.......................................
บาทที่ ๑. คำที่ ๗ ต้องเป็นคำสุภาพ (คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์) "ฉ่ำ" มีวรรณยุกต์เอก จึงไม่ถูกต้อง
(คำที่ ๙ เป็นคำสร้อย (ไม่มีความหมาย เช่น เนอ นา เฮย เอย ฤๅ เป็นต้น) "วา" มีความหมาย จึงไม่ถูกต้อง)
บาทที่ ๒ คำที่ ๕ ต้องเป็นคำสุภาพ "หน่ำ" มีรูปวรรณยุกต์
บาทที่ ๓ คำที่ ๕ ต้องเป็นคำสุภาพ "คร่ำ" มีรูปวรรณยุกต์
(คำที่ ๙ เป็นคำสร้อย "สุข" ไม่ใช่คำสร้อย
บาทที่ ๔ คำที่ ๕ (ร้อง) ต้องรับสัมผัสกับคำที่ ๗ บาทที่ ๒ (ไห้) ที่แต่งไว้ไม่สัมผัสกัน
ตัวอย่างการปรับแก้ (ดูโคลงสี่สุภาพและผังประกอบด้วย)
ฝนฟ้ามาสู่พื้น พาเย็น ฉ่ำเฮย
หากแต่ตกมากเป็น ทุกข์ได้
คนจักแย่ลำเค็ญ ครวญคร่ำ
แตกตื่นตระหนกไห้ หวั่นฟ้าคำราม
.................................
ข้อสังเกต ตำแหน่งวรรณยุกต์เอก ใช้คำตาย, คำลหุ แทนได้ครับ (ทุกข์ - เป็นคำตาย)
คำว่า "สี่สุภาพ" มาจาก คำสุภาพ ๔ แห่ง คือ
(๑)คำที่ ๗ บาทที่ ๑ (๒) คำที่ ๕ บาทที่ ๒ (๓) คำที่ ๕ บาทที่ ๓ และ (๔) คำที่ ๙ บาทที่ ๔
ทั้ง ๔ ตำแหน่งนี้จึง "ห้าม" ใช้คำที่มีรูปวรรณยกต์ครับ
ด้วยความปรารถนาดี
สุวัฒน์