❀ Sasi ❀
|
♥ เสียงตรี ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ?
พยัญชนะในภาษาไทยมีอยู่ 44ตัวค่ะ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้คือ
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห 2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ 3. อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น - อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ - อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล *ซึ่งจะมีแค่อักษรกลางเท่านั้นที่ผันเสียงได้ครบ 5 เสียง
เสียงตรีในรูปวรรณยุกต์โทที่ไม่นิยมใช้ใน วรรครับ หรือท้าย วรรคที่สอง ค่ะ
การผันเสียง....ให้เทียบกับอักษรกลางเป็นหลักค่ะเช่น
กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า นา หน่า น่า น้า หนา...ถ้าผันเต็มเสียงจะเปลี่ยนรูปแบบนี้ค่ะ แต่อักษร น.ซึ่งเป็นอักษรต่ำ จะผันได้แค่ สามเสียงก็จะคงรูปแค่ นา น่า น้า ซึ่งเมื่อผันเสียงแล้วจะอยู่ในเสียงตรีค่ะ
❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀
คำที่นิยมใช้กันบ่อยๆเช่นคำว่า
น้า ล้า ว้า พร้า ฟ้า คว้า นี้ ชี้ งี้ พี้ ลี้ ล้อ ท้อ พ้อ ค้น ล้น ท้น นั้น รั้น ทั้น พั้น แล้ว แคล้ว แพร้ว ช้ำ ล้ำ ค้ำ น้ำ คิ้ว ริ้ว พลิ้ว ฟิ้ว ไซร้ ไท้ ใช้ ไว้ ไล้ เร้น เฟ้น เน้น เค้น เว้น พื้น ชื้น ฟื้น ท้าน ร้าน แท้ แร้ แว้ ท้อน ร้อน ฟ้อน ซ้อน ค้าง ร้าง ล้าง ว้าง ช้าง ซึ้ง ทึ้ง รึ้ง ทิ้ง ลิ้งก์ ฟริ้ง วิ้ง พริ้ง เพ้อ เน้อ เฟ้อ ลื้อ รื้อ ซื้อ เคลิ้ม เทิ้ม เคว้ง เล้ง ม้อย คล้อย ช้อย พร้อย ม้วย เวิ้ง เซิ้ง ซ้าย ร้าย ว้าย ท้าย คล้าย ชะม้าย โน้ต ว้าก เย้ย เฟ้ย นุ้ย ลุ้ย เฟื้อ เนื้อ เชื้อ เรื้อ
❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀
คำตายเสียงตรี พจน์ ทด ลด รถ รด ซด คด มด นุช คุด พุทธ รุด ชุด งุด วุฒิ ทุด ฟุต นิด พิษ พิศ ฤทธิ์ ฮิต ฟิต คิด ชิด วิต ทิด ซะ นะ ทะ ละ ระ ยะ ฟะ แพะ แนะ แคะ นิ ริ ซิ ทิ ชิ เท็จ เคล็ด เล็ด เช็ค เล็ก ชัก ทัก นัก พัก รัก ฟัก ซัก วัก ยัก คัก ซัด ยัด ทัด นัด รัด ฟัด วัด คัด ชัด เพชร เว็บ เล็บ ฯลฯ
แล้วจะหามาเติมให้เรื่อยๆค่ะ
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ศิลาสีรุ้ง, ระนาดเอก, รพีกาญจน์, สุวัฒน์ ไวจรรยา, ธนุ เสนสิงห์, วรรณดี, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, ดาวพฤหัส, คอนพูธน, Wirin, < ชายกลาง >(กล้า), อ้ายอ่ำ, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
♥ ขอขอบพระคุณทุกภาพจาก Internet & Youtube ค่ะ
|
|
|
❀ Sasi ❀
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
การแบ่งช่วงคำอ่าน หรือ คำตก(จังหวะตกของเสียง)
หมายถึงการใช้คำที่จะมารับสัมผัส เสียงที่ตกไม่ควรอยู่ระหว่างกลางของคำนั้น ซึ่งมันจะทำให้กลอนนั้นด้อยลงไป อ่านไม่สละสลวย ควรหลีกเลี่ยงค่ะ
* หากถามว่าผิดไหม....? ไม่ผิดค่ะ แต่ถ้าเป็นกลอนประกวด กรรมการท่านจะตัดคะแนนได้ค่ะ เช่น จะอ่านกานท์ผ่านคล่องต้องสร้างสรรค์ เน้นเรื่องฉันทลักษณ์อักษรศรี ไม่ซับซ้อนกลอนงามความหมายมี วางให้ดี อย่าส่งลงกลางคำ
ดั่งปูไต่ไฉเฉเดินเป๋ปัด ถ้ามิพัฒนาตนยลแล้วขำ สอนให้ลูกถูกทางอย่างแม่ทำ ลูกปูจำทุกท่ามารดาตน
❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀
จะเห็นได้ว่า...ฉันทลักษณ์ คือคำเดียวแต่ อ่านสามพยางค์ ถ้าเสียงที่ตกลงตรงคำว่า ฉัน นั่นหมายความว่าคำนี้ได้เกิดการ ฉีกคำค่ะ พัฒนา ก็เช่นเดียวกันค่ะ
❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ศิลาสีรุ้ง, รพีกาญจน์, ระนาดเอก, สุวัฒน์ ไวจรรยา, Daraneenuch, ธนุ เสนสิงห์, วรรณดี, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, ดาวพฤหัส, คอนพูธน, Wirin, < ชายกลาง >(กล้า), อ้ายอ่ำ, โซ...เซอะเซอ, มนตรี ประทุม(2)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
♥ ขอขอบพระคุณทุกภาพจาก Internet & Youtube ค่ะ
|
|
|
Daraneenuch
เตาะแตะคลาน
ออฟไลน์
กระทู้: 2
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
รู้ประโยชน์โดดคำแยกสัมผัส อย่าต่อ-ตัดเพียงพยางค์แม้บางหน มีผู้แนะเชี่ยวชาญอยู่ด้านบน ขอเป็นคนฝึกอ่านเดินผ่านมา
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : เปลวเพลิง, รพีกาญจน์, ❀ Sasi ❀, ระนาดเอก, ธนุ เสนสิงห์, ศิลาสีรุ้ง, วรรณดี, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, Wirin, อ้ายอ่ำ, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"เก็บอาการ ก่อนที่จะบานปลาย"
|
|
|
ระนาดเอก
Webmaster
ออฟไลน์
กระทู้: 1100
~"พลิ้วไหว..ดั่งสายน้ำ"~
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
กระทู้ที่มีประโยชน์โปรดเชิญอ่าน สำหรับท่านที่รักหลักภาษา เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยปล่อยมนตรา อักษราจะงามยามใครชม
การเขียนกลอนเหมือนปรุงจรุงรส ส่งเสริมพจน์ลึกซึ้งพึงเพาะบ่ม ยามประชันขันแต่งแรงระดม สำนวนคมคำสวยช่วยคว้าชัย..
ระนาดเอก ปล.เป็นกระทู้ที่น่าชื่นชมมากเลยครับ!!
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ❀ Sasi ❀, ธนุ เสนสิงห์, ศิลาสีรุ้ง, วรรณดี, รพีกาญจน์, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, Wirin, อ้ายอ่ำ, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
❀ Sasi ❀
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ธนุ เสนสิงห์, ระนาดเอก, ศิลาสีรุ้ง, วรรณดี, รพีกาญจน์, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, อ้ายอ่ำ, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
♥ ขอขอบพระคุณทุกภาพจาก Internet & Youtube ค่ะ
|
|
|
ธนุ เสนสิงห์
กิตติมศักดิ์
ออฟไลน์
กระทู้: 1283
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
รู้ประโยชน์โดดคำแยกสัมผัส อย่าต่อ-ตัดเพียงพยางค์แม้บางหน มีผู้แนะเชี่ยวชาญอยู่ด้านบน ขอเป็นคนฝึกอ่านเดินผ่านมา
ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยกับ เช่น ตัดต่อ-ต่อตัด
คำลักษณะอย่างนี้ สลับคำกันได้เป็นส่วนใหญ่ เช่น เริงรื่น-รื่นเริง,กลำ้กลืน-กลืนกล้ำ,ช้ำชอก-ชอกช้ำ ฯลฯ แต่บางคำเมื่อสลับคำแล้ว ดูแปลก ๆ เช่น เข้มแข็ง-แข็งเข้ม หนักหนา-หนาหนัก,สมควร-ควรสม,ปอกลอก-ลอกปอกฯลฯ
ฝากไว้ให้พิจารณาครับ
ธนุ เสนสิงห์
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ระนาดเอก, ศิลาสีรุ้ง, ❀ Sasi ❀, วรรณดี, รพีกาญจน์, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, สุวัฒน์ ไวจรรยา, Wirin, อ้ายอ่ำ, บางม่วง, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วรรณดี
นักกลอนระดับเพชรน้ำหนึ่ง
ออฟไลน์
กระทู้: 1081
สมาชิกดีเด่นประจำเดือนนี้..
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
จะจดจำนำไปปฏิบัติ พร้อมฝึกหัดเช้าค่ำย้ำสมอง เพราะเราผิดอยู่บ่อยค่อยทดลอง โดยเฉพาะวรรคสองต้องพิจารณา
อาจจะเป็นที่เราผันเสียงเพี้ยน การไม่นำแบบเรียนมาศึกษา เลยต้องตกม้าตายงายอุรา เขียนกลอนมาสองปีดีนิดหน่อย
วรรณดี
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ❀ Sasi ❀, รพีกาญจน์, ระนาดเอก, เจ้าชายแห่งสายน้ำ, ศิลาสีรุ้ง, ปรางค์ สามยอด, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, Wirin, อ้ายอ่ำ, บางม่วง, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เจ้าชายแห่งสายน้ำ
พากเพียรประจำตำบล
ออฟไลน์
กระทู้: 63
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
ได้เกร็ดความรู้มากมายเชียว ขอบคุณครับ
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : ศิลาสีรุ้ง, รพีกาญจน์, วรรณดี, ปรางค์ สามยอด, ❀ Sasi ❀, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, Wirin, อ้ายอ่ำ, บางม่วง, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศิลาสีรุ้ง
ผู้ดูแลบอร์ด
ออฟไลน์
กระทู้: 1070
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
. เสียงตรีในรูปวรรณยุกต์โทที่ไม่นิยมใช้ใน วรรครับ หรือท้าย วรรคที่สอง ค่ะ กระทู้แรก....โดย ท่านละอองดิน forum.animelover.in.th ๐ ขอขอบคุณนุชน้อง "ละอองดิน" เผดียงร่ำนำระบิล อย่าข้อง เสียงตรีวรรครับจินต์ ตามจิต ตนแล ตรีรูปโทมิต้อง อย่าได้ไฝ่ถวิล
ขอบคุณครับ
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ |
ขอบคุณภาพจาก Internet ครับ
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : รพีกาญจน์, วรรณดี, ❀ Sasi ❀, ดารกะ, < ชายกลาง >(กล้า), ดาวพฤหัส, คอนพูธน, สุวัฒน์ ไวจรรยา, Wirin, อ้ายอ่ำ, บางม่วง, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
❀ Sasi ❀
|
Re: ♥....เสียงตรี..ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ...?
เสริมบทกลอน
มาลองกดปุ่ม ALT เล่นดูนะคะ
ALT+1 = ☺ ALT+2 = ☻ ALT+3 = ♥ ALT+4 = ♦ ALT+5 = ♣ ALT+6 = ♠ ALT+7 = • ALT+8 = ◘ ALT+9 = ○ ALT+10 = ◙ ALT+11 = ♂ ALT+12 = ♀ ALT+13 = ♪ ALT+14 = ♫ ALT+15 = ☼ ALT+16 = ► ALT+17 = ◄ ALT+18 = ↕ ALT+23 = ↨ ALT+24 = ↑ ALT+25 = ↓ ALT+26 = → ALT+27 = ← ALT+28 = ∟ ALT+29 = ↔ ALT+30 = ▲ ALT+31 = ▼ ALT+123={ ALT+125=} ALT+239 = ๏ ALT+251 = ๛ ALT+250 =๚
(กด ALT ค้างไว้กด + กดเลข ปล่อยมือ)
❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀
ที่นิยมใช้บ่อยก็เช่น
๏ = เริ่มต้นข้อความ ๚ = จบตอน ๚ะ = จบบทกวี ๛ = จบเรื่อง ๚ะ๛ = จบบริบูรณ์
❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀
ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ : วรรณดี, ดาวพฤหัส, ระนาดเอก, คอนพูธน, รพีกาญจน์, สุวัฒน์ ไวจรรยา, ศิลาสีรุ้ง, Wirin, < ชายกลาง >(กล้า), อ้ายอ่ำ, บางม่วง, โซ...เซอะเซอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
♥ ขอขอบพระคุณทุกภาพจาก Internet & Youtube ค่ะ
|
|
|
❀ Sasi ❀
|
Re: ♥ เสียงตรี ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ?
ขอเสริมอีกสักนิดนะคะ
คำที่มักใช้ผิด(เสียงเหมือนกันแต่สระต่างรูปและความหมายต่างกันค่ะ) คือคำว่า
ใย กับ ไย ใย = ใยแมงมุม เยื่อใย ห่วงใย ใยบัว ฯ. ไย= ทำไม
ใจ กับ ไจ ใจ= จุดสำคัญ เช่น ใจคน ใจสัตว์ ใจกลาง ใจความ ใจขุ่น ฯลฯ. ไจ= ส่วนมากใช้เรียกสิ่งของ เช่น ไจไหม
ข่อนกับค่อน ข่อน=ปั่นป่วน,ไม่สบายใจ ค่อน=ค่อนแคะ,จวนจะเต็ม
พลิ้ว=ไม่ว่าในกรณีใดๆให้ใช้คำนี้เพียงคำเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
♥ ขอขอบพระคุณทุกภาพจาก Internet & Youtube ค่ะ
|
|
|
|
❀ Sasi ❀
|
Re: ♥ เสียงตรี ในรูปวรรณยุกต์โท & คำตายเสียงตรี ?
การใช้ไม้ตรี...๗
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าอักษรไทยแบ่งเป็น ๓ อย่าง แต่ในที่นี้การใช้ไม้ตรีนั้น เราต้องใช้ในวงจำกัด หลักการจำแบบง่ายๆนะคะ
อักษรสูง ใช้ไม้ตรีไม่ได้ อักษรกลาง ใช้ไม้ตรีได้ อักษรต่ำ ใช้ไม้ตรีไม่ได้
ยกเว้น คำใดที่มีอักษรกลางควบอยู่ด้วยจึงสามารถใช้ไม้ตรีได้ค่ะ...เช่น
จร๊า สก๊อย เกลี๊ยดเกลียด ปรู๊ดปร๊าด แปล๊บ กร๊วก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
♥ ขอขอบพระคุณทุกภาพจาก Internet & Youtube ค่ะ
|
|
|
|